วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550
เชิญทุกท่านสานเสวนาเรื่อง"ประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง 50 : ทหาร รัฐสวัสดิการหรือประชานิยม ?
วันศุกร์ ที่ 21 ธันวาคม 2550 เวลา 16.30 -18.30 น.
ณ. ห้องสโมฯ ชั้น 4 อาคารกีฬาในร่ม
มาร่วมสานเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
จัดโดย
ชมรมเสวนาสาธารณะ
วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ปาฐกถา 14 ตุลา 2550 :“จากระบอบทักษิณสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 วิกฤตประชาธิปไตยไทย”
รายงานปาฐกถานี้นำมาจากเวปไชน์ประชาไท โดยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2550 รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์ปาฐกของงานปาฐกถา 14 ตุลาประจำปี 2550 กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ ‘จากระบอบทักษิณสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 วิกฤตประชาธิปไตยไทย’ ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน เนื้อหาส่วนใหญ อ.เกษียร จะหยิบมาจากงานวิจัยเรื่อง "จากระบอบทักษิณสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 : วิกฤตประชาธิปไตยไทย" ของอาจารย์ที่ทำให้กับศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือประกอบการปาฐกถาครั้งนี้โดยมูลนิธิ 14 ตุลา โดยการปาฐกถา มีเนื้อหาประกอบด้วย
หนึ่ง เปรียบเทียบการปฏิวัติ 2475 กับ 2516
สอง ปมปริศนาของการปฏิวัติกระฎุมพีในประเทศกำลังพัฒนา
สาม จาก 2475 ผ่าน 14 ถึง 6 ตุลา
สี่ พฤษภาประชาธรรมกับวิกฤตโลกาภิวัตน์ไทย
ห้า รัฐประหาร 19 กันยา 2549
หก สรุปการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 3 แนวทาง(พื้นที่ประชาชน ความหวังอันริบหรี่)
ปาฐกถา 14 ตุลา ประจำปี 2550
“จากระบอบทักษิณสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 วิกฤตประชาธิปไตยไทย”
โดย รศ. ดร. เกษียร เตชะพีระ
สวัสดีครับ ท่านคณะกรรมการมูลนิธิ 14 ตุลา คณาจารย์ ญาติมิตร และบุตรสหาย ของวีรชน 14 ตุลา ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ
ก่อนอื่น ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ที่กรุณาให้เกียรติและให้โอกาสผมมาปาฐกถา 14 ตุลาประจำปีนี้ ท่ามกลางสถานการณ์หลังรัฐประหาร ภายใต้ระบบเผด็จการครึ่งใบ และรัฐธรรมนูญกึ่งอำมาตยาธิปไตย ก่อนการเลือกตั้ง ที่ไม่เพียงแต่เป็นวิกฤตครั้งร้ายแรงในรอบ 15 ปีสำหรับกระบวนการสร้างประชาธิปไตยไทยหลัง 14 ตุลา 2516 ยังเป็นช่วงของความอึมครึม สับสนทางอุดมการณ์ การเมือง และศีลธรรม อย่างไม่เคยมีมาก่อนในรอบ 34 ปีของเหตุการณ์ 14 ตุลา
หากเปรียบกับวิกฤตการล่มสลายของ พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) และอุดมการณ์สังคมนิยมทั้งไทยและสากล จากกลางทศวรรษที่ 2520 ถึงกลางทศวรรษ 2530 ตอนนั้น แม้สังคมนิยมคอมมิวนิสต์จะกลายเป็นปัญหา แต่อย่างน้อย ประชาธิปไตยก็ยังไม่เป็นปัญหา การจำแนกมิตร-ศัตรูของประชาธิปไตยก็ยังชัดเจนอยู่ และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับหนทางข้างหน้า ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของกระบวนการสร้างและผลักดันประชาธิปไตยต่อไปก็ค่อนข้างมีฉันทามติสอดคล้องกัน
หรือเราสมควรกล่าวว่า หน่ออ่อนของปมปริศนาประชาธิปไตยปัจจุบัน ก็เริ่มแสดงเค้าล้างให้เห็นบ้างแล้ว ในแง่ที่ผู้นำกองทัพสมัยนั้น ในกลาง 2520 ถึง 2530 ออกมาประณามเผด็จการรัฐสภาของนายทุน และป่าวร้องสรรเสริญประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของทหาร และข้าราชการประจำไม่ได้แยกจากข้าราชการการเมือง
ทว่า เหตุการณ์ท้ายนี้ ที่ภายใต้ระบอบทักษิณ และอำนาจรัฐประหารของ คปค. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การณ์กลับกลายเป็นว่า การวิวาทะถกเถียงในสังคมวงกว้าง, ขบวนการประชาชนเอง รวมศูนย์ที่ปัญหาว่า อะไรกันแน่คือแก่นของสาระประชาธิปไตยที่แท้จริง ใครกันแน่คือมิตร-ศัตรูของประชาธิปไตย แล้ววิสัยทัศน์หรือหนทางข้างหน้า ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของการจะสร้างประชาธิปไตยในเมืองไทยจะทำอะไรดี
พูดอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น อาทิ การคัดค้านต่อต้านรัฐบาลทักษิณที่มาจากการเลือกตั้งและกุมเสียงข้างมากในสภา ทว่าผูกขาดอำนาจโดยกลุ่มทุนใหญ่ซึ่งพบเห็นว่าทุจริตและละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นการปกปักษ์รักษา หรือบ่อนทำลายประชาธิปไตยกันแน่ ในทางกลับกัน รัฐประหาร 19 กันยา 2549 หรือรัฐประหาร คปค. เป็นการทำลายและฉุดดึงประชาธิปไตยให้ถอยหลัง หรือเป็นมาตรการสุดท้ายอันจำเป็นเพื่อกอบกู้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้พ้นภัยเผด็จการทุนนิยมของระบอบทักษิณ
รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 2550 เป็นการขยายสิทธิเสรีภาพประชาชนครั้งใหญ่ ปฏิรูปปรับปรุงประชาธิปไตย หรือเป็นการฟื้นฟูระบอบเลือกตั้งทั่วไปขึ้นมา ภายใต้การชี้นำกำกับของอำนาจตุลาการ หน่วยกองสาขาของกองทัพแผ่นดิน
และสุดท้าย การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปปลายปีนี้ จะนำไปสู่รัฐบาลประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของสังคมบ้านเรา หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคอันอ่อนแอ บนฐานระบบราชการประจำที่อิสระกว่าก่อนจนยากบริหารจัดการท้าทาย หรือรับโอกาสใหม่ๆ ของโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้
น้อยครั้งนักที่ขาวกับดำจะคลุมเครืออุดมการณ์เข้าหากันเป็นเทาไปทั่วขบวนการประชาชนเท่าครั้งนี้ แล้วใครกันแน่ที่เป็นมิตรหรือศัตรูของผู้ที่ปักใจมั่นว่าจะยืนอยู่กับมรดกประชาธิปไตยของประชาชน ทักษิณ หรือสนธิ ...ทั้งลิ้ม และบังนะครับ สมัครหรืออภิสิทธิ์ พีทีวี หรือเอเอสทีวี ทุนใหญ่ผูกขาด หรือขุนศึกศักดินา
พื้นฐานปาฐกถา 14 ตุลาประจำปีนี้ มาจากงานวิจัยเรื่อง "จากระบอบทักษิณสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 : วิกฤตประชาธิปไตยไทย" ซึ่งผมทำให้กับศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือประกอบการปาฐกถาครั้งนี้โดยมูลนิธิ 14 ตุลา
งานวิชาการ ถูกจัดทำขึ้นด้วยระเบียบวิธีการอันเป็นกรอบอันบังคับให้รอบคอบ รัดกุม ตามธรรมเนียมวิชาชีพ มีการอ้างอิงข้อมูล ข้อเท็จจริง สถิติ ตัวเลข รายงานข่าว คำสัมภาษณ์ บทวิเคราะห์ ความเห็นต่างๆ มารองรับ กำกับ ประกอบ การแสดงทัศนะวิเคราะห์ วิจารณ์ วินิจฉัย ไม่ให้เลื่อนลอย โดยงานชิ้นนี้ ผมใช้เวลาทำ 1 ปี จากกลางปี 2549 ถึงปีปัจจุบัน
ต้นฉบับยาว 100 หน้ากระดาษเอ 4 มีเชิงอรรถ 162 แห่ง อ้างอิงเอกสารและข้อมูล ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ทั้งสิ้น 200 รายการ แบ่งคร่าวๆ เป็น เนื้อหาปูมหลัง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม 35 หน้า ระบอบทักษิณ 40 หน้า ลักษณะของ คปค.และรัฐบาลสุรยุทธ์ 25 หน้า
ในงานวิชาการ มันไม่มีวันสมบูรณ์แบบและย่อมมีข้อบกพร่อง มีประเด็นข้อเท็จจริง ข้อวิเคราะห์ที่โต้แย้งได้ แต่อย่างน้อย ผมก็หวังว่ามันจะช่วยให้เข้าใจแง่มุมต่างๆ หรือเนื้อแท้ของปัญหาวิกฤตประชาธิปไตยที่เรากำลังเผชิญ มิใช่เพื่อเสนอทางออกสำเร็จรูป เพราะคำตอบแบบนั้น 'ไม่มี' แต่เพื่อให้พวกเรา ผู้รับทอดมรดกประชาธิปไตยจากวีรชน 14 ตุลา จะค่อยๆ หาทางขบแก้ทั้งทางความคิดและทางปฏิบัติต่อไป
ในที่นี้ ผมจึงตั้งใจดึงเอานัยยะทางการเมืองที่สำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ออกมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อนำเสนอให้เหมาะกับโอกาสในเวลาจำกัด โดยแบ่งกลุ่มหัวข้อต่างๆ มีทั้งหมด 6 หัวข้อ ดังนี้
หนึ่ง เปรียบเทียบการปฏิวัติ 2475 กับ 2516
สอง ปมปริศนาของการปฏิวัติกระฎุมพีในประเทศกำลังพัฒนา
สาม จาก 2475 ผ่าน 14 ถึง 6 ตุลา
สี่ พฤษภาประชาธรรมกับวิกฤตโลกาภิวัตน์ไทย
ห้า รัฐประหาร 19 กันยา 2549
หก สรุปการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 3 แนวทาง
..ผมอยากจะเริ่มโดยบทสรุปก่อน เพื่อให้เห็นว่าแก่นของมันคืออะไร
75 ปีหลัง 2475 และ 34 ปีหลัง 2516 กระบวนการปฏิวัติกระฎุมพีไทยมาถึงทางแพร่งที่ตาบอดคนละข้าง แล้วแยกทางกันเดิน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ การปฏิวัติกระฎุมพีไทย ได้เปลี่ยนแปลงไปจากแนวทางตุลาคมของขบวนการพฤษภาประชาชน 14 - 6 ตุลา ซึ่งต้านทั้งรัฐราชการเผด็จการ และต้านอำนาจทุน ไปเป็น..
หนึ่ง แนวทางพฤษภาคม ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งต้านรัฐบาลเผด็จการศักดินาด้านเดียว
สอง แนวทางกันยายน ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งต้านอำนาจทุนด้านเดียว
จริงๆ แล้ว แก่นสารที่ผมอยากจะพูด มันเหมือนกับแก่นสารในปีนี้ของปาฐกถา 6 ตุลา ของ อ.จอน อึ๊งภากรณ์เด๊ะเลย เพียงแต่ว่าที่ผมพูดมันเป็นวิชาการมากหน่อย และการที่เป็นวิชาการมากหน่อย มันก็เลยเยิ่นเย้อกว่า และยุ่งยากกว่า กล่าวคือ อ.จอนขอให้คนเดือนตุลา คงเส้นคงวาบ้าง สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ ผมพยายามเสนอระบบทางการเมือง และโอกาสทางภววิสัยของความ 'ไม่คงเส้นคงวา' ทางอัตวิสัยของคนเดือนตุลาและกลุ่มพลังทางการเมืองต่างๆ ในสังคมไทย
ในประเทศทุนนิยม 'การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย' กับ 'การต่อสู้เพื่อสังคมนิยม' เชื่อมโยงกัน มันมีพลวัติต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจะพูดถึงว่า สิทธิเสรีภาพ ความเป็นธรรมในสังคม ในประเทศทุนนิยมพัฒนาเสรี การต่อสู้มันมีความเชื่อมโยง มีนัยยะที่ผลักเข้าหากัน
ในที่นี้ ผมอยากเสนอหลักคิด โดยยกตัวอย่างประวัติศาสตร์ของพลวัตดังกล่าว การต่อสู้ของทั้งสอง ('การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย' กับ 'การต่อสู้เพื่อสังคมนิยม') ผมใคร่เสนอว่า ได้หลอมรวมเข้าด้วยกัน เป็นการต่อสู้เดียวและขบวนการเดียว หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยการที่ขบวนการนักศึกษาประชาชนในเมืองที่ถูกปราบปรามในเหตุการณ์ 6 ตุลา ยกธงเข้าป่า ร่วมกับขบวนการต่อสู้ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ทว่าไม่กี่ปีให้หลัง ป่าก็แตก แล้วการต่อสู้ทั้งสองก็แยกทางกันภายใต้สถานการณ์ใหม่ เป็นสถานการณ์ที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในประเทศ และขบวนการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศปราชัย ขณะเดียวกัน ก็มีสิ่งเกิดใหม่ในเหตุการณ์ 2 ประการ คือ
หนึ่ง พระราชอำนาจนำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน และสอง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์
นี่คือสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากป่าแตก อย่างไรก็แล้วแต่ โลกาภิวัตน์ไมได้ราบรื่นตลอด วิกฤตจากโลกาภิวัตน์ก็เกิดขึ้นในปี 2540 และหลังจากนั้น ได้เกิดความสัมพันธ์ของเสาหลักของสถานการณ์ใหม่ทั้งสอง และเปิดมิติใหม่ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสังคมนิยมขึ้นมา มิติใหม่และพลวัตใหม่นี้เองที่นำไปสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
หนึ่ง : เปรียบเทียบการปฏิวัติ 2475 กับ 2516
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ มีเหตุการณ์สำคัญที่ถูกเรียกว่าเป็นการปฏิวัติกระฎุมพี ได้แก่ หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 และสอง การลุกฮือของนักศึกษาประชาชน 14 ตุลาคม 2516
กรณีแรก 24 มิถุนา 2475 เช่น เพลงมาร์ช มธก.ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง โดยทวีป วรดิลก ซึ่งแต่งขึ้นในช่วงทศวรรษ 2490 เพลงนี้เลือกใช้ทำนองเพลงลา มาร์แซร์แยส (La Marseillaise) ซึ่งเป็นเพลงชาติฝรั่งเศส ที่ถือกำเนิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1789 เลือกอย่างจงใจ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและมิติทางประวัติศาสตร์ จากคำให้สัมภาษณ์ของคุณทวีป วรดิลก ซึ่งบอกผมไว้ก่อนท่านสิ้นชีวิต
ถ้าท่านยังจำได้ เนื้อเพลงวรรคแรก...
...อันธรรมศาสตร์สืบนามความสามัคคี ร่วมรักในสิทธิศรีเสรีชัย
สัจธรรมนำเราเร้าในดวงใจ โดมดำรงธงชัยในวิญญาณ...
เนื้อนั้น แต่งขึ้นใหม่ แต่ทำนองมาจากเพลงลา มาร์แซร์แยส
...Allons enfants de la Patrie Le jour de gloire est arrivé !
Contre nous de la tyrannie L'étendard sanglant est levé...
...มาเถิด ลูกหลานของประเทศชาติ วันรุ่งโรจน์มาถึงแล้ว
เราควรเผชิญหน้ากับความกล้า ธงที่ชุ่มด้วยเลือดได้ถูกเชิดชูขึ้น...
เป็นการเล่นกับเพลง เพราะเหตุการณ์ 2475 เปรียบได้กับการปฏิวัติฝรั่งเศส 1789
ผมเคยพบหนังสือภาษาไทยเก่าเล่มหนึ่ง เรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789 ในหอสมุดแห่งชาติโดยบังเอิญ ผมเจอหลัง 14 ตุลา 2516 อ่านคำนำ พบว่าหนังสือเล่มนั้นตีพิมพ์หลัง 2475 ไม่นาน ผู้เขียนชี้แจงไว้ตอนหนึ่งว่า ตีพิมพ์ออกมาก่อนหน้านั้นไม่ได้ จนกระทั่งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้พิมพ์ออกมารับกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป พูดได้อีกอย่างหนึ่งคือ ในเวลานั้น ผู้เขียน ซึ่งผมจำไม่ได้แล้วว่าเป็นใคร 2475 เปรียบได้กับ 1789
ผมเคยเขียนกลอนระลึกถึงอาจารย์ปรีดี ตอนที่ท่านถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปี 2526 ไว้ว่า
...ใช่ที่ว่าจุดหมายยังไม่ถึง ใช่ที่ว่าความฝันซึ่งยังต้องสร้าง
รัฐธรรมนูญยิ่งใหญ่ใส่พานวาง แต่ทวยราษฎร์เป็นเบี้ยล่างเสมอมา
แต่หากไร้คณะราษฎรสู้ ราษฎรคงอยู่เป็นไพร่ทาส
ก้าวแรกแห่งการล้มสมบูรณา เป็นก้าวสั้นแต่ทว่ายั่งยืนยาว...
ในกรณี 14 ตุลา 2516 ปรากฏในบทความของอาจารย์เบน แอนเดอสัน แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล ชื่อบทความ “Murder and Progress in Modern Siam” หรือ “การฆาตกรรมทางการเมืองและความก้าวหน้าในสยามสมัยใหม่” มีข้อความตอนหนึ่งในบทความ ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ 1990 ความว่า พวกเรา หากลองนึกถึงปี 2516 ว่าเปรียบประดุจเป็น ค.ศ.1789 แห่งสยามแล้ว เราก็อาจมองช่วงระยะเวลาหลังจากนั้นทั้งหมดได้ในกรอบเพียงอันเดียว นั่นคือ กรอบการต่อสู้ของกระฎุมพี ที่ธำรงไว้ซึ่งอำนาจการเมืองใหม่ของตน ที่อยู่ในรูปสถาบันรัฐสภา จากภัยคุกคามทั้งซ้ายและขวา ทั้งภาคประชาชนและกลไกรัฐ
ในงานอีกชิ้นของครูเบน ซึ่งแปลเป็นไทยแล้ว ชื่อว่า “ศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษา” พิมพ์ในฟ้าเดียวกัน เมื่อกรกฎาคม-กันยายน 2546 ภาษาอังกฤษตีพิมพ์เมื่อปี 1979 ครูเบนได้วิเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบ 24 มิถุนา 2475 กับ 14 ตุลา 2516 ไว้ว่า รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยาม อายุสั้นแค่ราว 40 ปี จากปี 2435 ถึง 2475 คือจากปลายรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 เนื่องจากอายุสั้น จึงเปลี่ยนแปลงสังคมเศรษฐกิจไทยไปไม่มาก ไม่ลึกซึ้งพอ ฉะนั้น 24 มิถุนา ซึ่งเป็นผลผลิตของและปฏิกิริยาทางการเมืองต่อรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยาม จึงแคบและเล็ก เป็นเรื่องของข้าราชการทำ ไม่ค่อยมีมวลชนเข้าร่วม เป็นแค่กบฏข้าราชการครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้ขุดรากถอนโคนรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์จริงจังอย่างที่สุด
2475 จึงเป็นปัญหาในรูปการณ์ใหม่ ในรูปรัฐราชการเผด็จการ หรือที่เรียกว่า อำมาตยาธิปไตย เทียบกันแล้ว การลุกฮือ 14 ตุลา 2516 เป็นผลผลิตของและปฏิกิริยาทางการเมืองต่อระบอบเผด็จการทหารอาญาสิทธิ์เพื่อการพัฒนาของสฤษดิ์ ถนอม ประภาส นาน 15 ปี ระบอบดังกล่าว และแผนพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ระบอบนั้น เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมไทยลึกซึ้งกว่ามาก พลิกโฉมหน้าชนชั้นกระฎุมพีไทยไปสู่ระดับใหม่ทันที
สอง : ปมปริศนาของการปฏิวัติกระฎุมพีในประเทศกำลังพัฒนา
ปมปริศนาของการปฏิวัติกระฎุมพีในประเทศกำลังพัฒนา เกิดจาก ประการแรก สังคมเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลกนั้น พัฒนาไปไม่สม่ำเสมอกัน และมีลักษณะเชิงซ้อน กล่าวคือ ในขณะที่ตะวันตกพัฒนาจากสัตยาบันทุนนิยม การปฏิวัติกระฎุมพีล่วงหน้าไปเรียบร้อยแล้ว เรากลับพัฒนาทุนนิยมทีหลัง
ประการสอง จักรวรรดิทุนนิยมตะวันตก แผ่เข้าครอบประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผ่านระบอบอาณานิคมทั้งเก่าและใหม่ ทำให้สังคมเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาทีหลัง หรือประเทศกำลังพัฒนา มีลักษณะที่สลับซับซ้อนกว่าประเทศทุนนิยม เผชิญปัญหาเชิงซ้อน คือเผชิญปัญหาทั้งความล้าหลังกดขี่แบบเก่าของรัฐเผด็จการศักดินา และการขูดรีดข่มเหงแบบใหม่ของกลุ่มทุนต่างชาติที่เชื่อมโยงกับกลุ่มทุนในประเทศ
ฉะนั้น การปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพีไทยแบบคลาสสิก ที่ถือภารกิจโค่นรัฐเผด็จการศักดินา ช่วงชิงสิทธิเสรีภาพของประชาชนล้วนๆ จึงไม่สอดคล้องกับปัญหาความเป็นจริงที่ประสบในประเทศที่กำลังพัฒนาทีหลังหรือกำลังพัฒนา และถูกมองว่า ไม่เพียงพอ
ในทางปฏิบัติแล้ว การต่อสู้มักจะถลำลึกไปเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยแผนใหม่ที่มีภารกิจเชิงซ้อน คือควบรวมทั้งภารกิจปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพี ต่อต้านรัฐเผด็จการศักดินา เพื่อสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย ควบรวมเข้ากับภารกิจปฏิวัติสังคมนิยมที่ต่อต้านเศรษฐกิจทุนนิยม เพื่อความเป็นธรรมทางสังคม หรือสังคมนิยม เข้าด้วยกัน
สาม : จาก 2475 ผ่าน 14 ถึง 6 ตุลา
กระบวนการปฏิวัติกระฏุมพีไทยก็เกิดปมปริศนานี้ และมีปฏิกิริยาตอบโต้ในการเมืองไทยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ซ้ำแล้วซ้ำอีก ผมขอยกตัวอย่างสามกรณี
หนึ่ง 'ปรีดี พนมยงค์' ในการปฏิวัติ 2475 อ.ปรีดีเสนอหลักคณะราษฎรหกข้อ ข้อสามระบุว่า จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก ในที่สุด เพียงช่วงเวลาไม่ถึงปีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง อ.ปรีดีก็นำเสนอเค้าโครงทางเศรษฐกิจ 2475 ซึ่งในทัศนะของผม คือลัทธิสหกรณ์โดยรัฐแบบสมานฉันท์ ที่ยังคงหลีกเลี่ยงการพัฒนาแบบทุนนิยม ก็เห็นแล้วว่าการพัฒนาแบบทุนนิยมมันมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1930 ทำไมเราจะเดินเส้นทางที่พลาดไปแล้วของประเทศทุนนิยมอีก
อ.ปรีดี เสนอเค้าโครงทางเศรษฐกิจ ได้พูดถึงตอนหนึ่งว่า
“ก็เมื่อการที่รัฐบาลประกอบเศรษฐกิจเสียเองเช่นนี้ เป็นการที่ทำให้วัตถุประสงค์ทั้งหกประการของคณะราษฎรได้สำเร็จไปตามที่ได้ประกาศแก่ราษฎรไว้แล้ว สิ่งที่ราษฎรทุกคนพึงปรารถนา คือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ ซึ่งเรียกกันเป็นศัพท์ว่า ศรีอริยะ ก็จะพึงบังเกิดแก่ราษฎรโดยถ้วนหน้า ไฉนเล่า พวกเราที่ได้พร้อมใจกันไขประตู (ยึดอำนาจ) เปิดช่องทางให้แก่ราษฎรแล้ว จะรีๆ รอๆ ไม่นำราษฎรต่อไปให้ถึงต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งราษฎรจะได้เก็บผลเอาจากต้นไม้นั้น คือผลแห่งความสุขความเจริญ ดั่งที่ได้มีพุทธทำนายกล่าวไว้ในเรื่องศาสนาพระศรีอารีย์”
สอง 'พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย' เสนอภารกิจปฏิวัติประเทศไทยในลักษณะปฏิวัติประชาธิปไตยแผนใหม่ หรืออีกนัยหนึ่ง ปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพีนั่นแหล่ะ แต่มีชนชั้นกรรมาชีพหรือกรรมกรอุตสาหกรรมเป็นกองหน้า ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งถ้าการปฏิวัติกระฎุมพี ให้กรรมกรเป็นกองหน้า แล้วพรรคคอมมิวนิสต์นำ มันก็มุ่งสู่สังคมนิยมโดยตรง โดยไม่ผ่านเส้นทางการพัฒนาแบบทุนนิยม
สาม 'เสกสรรค์ ประเสริฐกุล' เคยให้สัมภาษณ์สะท้อนสภาพทางความคิดของนักศึกษากิจกรรมหลัง 14 ตุลา 2516 ไว้ว่า
“…ทีนี้พอหลัง 14 ตุลา ขบวนการลงสู่ชนบทเผยแพร่ประชาธิปไตยนี่ มันพาเราไปสู่ทางซ้ายโดยไม่ทันตั้งตัวเลย เพราะเราจะไปเผยแพร่ประชาธิปไตยนี่ มันกลายเป็นของฟุ่มเฟือยสำหรับคนที่ยากไร้ เขาถูกรุมล้อมด้วยปัญหา ปัญหาไม่เป็นธรรม ถูกข่มเหงรังแกโดยผู้ที่มีเครื่องแบบมีอำนาจ พอรู้ปัญหาเหล่านั้น เราก็เอามาเสนอกับทางรัฐบาล มาประท้วงบ้าง มาเสนอให้แก้ไข มาประสานกับทางรัฐบาลบ้าง เสนอไปมากๆ เราชักเวียนว่ายอยู่กับปัญหาเหล่านั้น ไม่มีเวลามาคิดถึงประชาธิปไตยแล้ว รูปแบบการประท้วง หรือว่าการเอาปัญหาเหล่านั้น มาเสนอโดยตัวของมันเองนี่ มันทำให้เรากลายเป็นซ้ายโดยอัตโนมัติ เช่น ปัญหาค่าแรง หรือว่าปัญหาที่ดิน อย่างนี้ ในทัศนะของผู้ปกครอง เขาก็ว่าเราเป็นซ้ายไปแล้วโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว…”
มันเป็นความเชื่อมโยงกัน เป็นข้อที่ต่อเนื่องกัน ระหว่างการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย หรือการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางสังคม
การฆ่าหมู่และรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 ส่งผลก่อเกิดปฏิกิริยาหลอมรวมสองการปฏิวัติ หลอมรวมกระบวนการ คือหลอมรวมการปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพี กับการปฏิวัติสังคมนิยมกรรมาชีพ และหลอมรวมการประท้วงของนักศึกษาปัญญาชนในเมืองกับขบวนการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ในชนบทเข้าด้วยกัน
ด้วยกระบวนการนี้ พอเกิดเหตุ 6 ตุลา ก็หลอมรวมนักศึกษาเข้าป่า ไปเจอชาวนาที่เราไม่เคยรู้จัก เป็นสหายร่วมป่า ห้าปีต่อมา ขบวนการหลอมรวมแนวร่วมนี้แตกกระจาย พคท. ล่มสลาย นักศึกษาปัญญาชนออกจากป่าคืนเมือง คำถามคือ เกิดอะไรขึ้นกับภารกิจการปฏิวัติทั้งสองประการนี้?
ผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังป่าแตก การปฏิวัติสังคมนิยมหรือการต่อต้านทุนนิยมล้มเลิก ท่ามการวิกฤตการณ์อุดมการณ์ระบอบสังคมนิยมทั่วโลกเปลี่ยนรูปไป เป็น 'การเมืองภาคประชาชน เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ใต้พระราชอำนาจนำ' ที่มีนัยยะวิพากษ์วิจารณ์ด้านที่สุดขั้วรุนแรงของทุนนิยม และเสนอตัวเป็นทางเลือกของชุมชน ภายใต้ระบอบทุนใหม่
ภารกิจปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพีต่อต้านเผด็จการ พ่ายแพ้ เปลี่ยนรูปไปเป็นความพยายามปฏิรูปรัฐราชการใต้พระราชอำนาจนำ อีกนั่นแหล่ะ ซึ่งก็คลี่คลายขยายตัวไปในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ ภายใต้รัฐบาลพลเอกเปรม และระบอบเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ก่อนที่จะเผชิญกับปฏิกิริยาตอบกลับของพลังราชการเผด็จทหารในรูปรัฐประหาร รสช.ปี 2534
สี่ : พฤษภาประชาธรรม กับวิกฤตโลกาภิวัตน์ไทย
ขบวนการพฤษภาประชาธรรม 2535 ดังที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชี้เอาไว้ ในบทความชื่อ ‘ชาตินิยมของขบวนการประชาธิปไตย’ มีความแตกต่างจาก 14 ตุลา 2516 แตกต่างตรงลักษณะ เจตจำนง และพลวัตต่อมา เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพีล้วนๆ ปลอดเปล่ามิติของภารกิจต่อต้านทุนนิยม หรือมุ่งหาสังคมนิยมเลยโดยสิ้นเชิง
หลัง 14 ตุลา นักศึกษาประชาชนเข้าสู่ท้องนา เชื่อมโยงกับองค์กรชาวนา หลังพฤษภาประชาธรรม ... ด้วยความเคารพ คนชั้นกลางเข้าสู่ตลาดหุ้น
นับจากนั้นมา การเมืองไทยเข้าสู่ระบอบเลือกตั้ง ภายใต้พระราชอำนาจนำ ที่ด้านหนึ่งพยายามปฏิรูปรัฐราชการอำนาจนิยมที่ล้าสมัย รวมศูนย์อำนาจ อีกด้านหนึ่ง พยายามปฏิรูปการเมืองเพื่อระบุแบบแผนระหว่างความสัมพันธ์ทางอำนาจ ระหว่างนักเลือกตั้งกับกลุ่มทุนใหญ่ ชนชั้นนำกลุ่มทุน ชนชั้นกลาง และประชาชนเสียใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหากีดขวางการพัฒนาทุนนิยมในสภาพโลกาภิวัตน์สืบต่อไป นี่คือรูปการณ์ใหม่ของมิติต่อต้านรัฐราชการเผด็จการ ของภารกิจปฏิวัติกระฎุมพี
ในช่วงหลังพฤษภาประชาธรรม ขอบฟ้าแห่งความเป็นไปได้ในจินตนาการ หรือในวิสัยทัศน์ทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองหลังพฤษภา 35 ประกอบด้วยสองอย่าง ขอบฟ้า แปลว่าไกลที่สุดที่จะนึกได้ ไม่มีใครนึกไปไกลกว่านั้น ขอบฟ้าดังกล่าว คือ ‘ทุนนิยมโลกาภิวัตน์’ บวก ‘พระราชอำนาจนำ’
ขอบฟ้านี้เป็นพรมแดนของกระแสและกระบวนการปฏิรูปการเมืองหลังพฤษภา 35 ที่มีขึ้นเพื่อปรับระบบการเมืองการปกครองให้สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลง ช่วงชิงโอกาส รับมือการท้าทายจากสภาวะทุนนิยมโลกาภิวัตน์ได้ และเพื่อธำรงรักษา และจรรโลงสถาบันกษัตริย์ให้มั่นคง เข้มแข็ง ยั่งยืน ภายใต้สภาพการณ์ใหม่ทางการเมือง ที่เปิดเสรี และเป็นประชาธิปไตยรัฐสภายิ่งขึ้น
ปฏิรูปการเมือง ขอบฟ้าอยู่แค่นี้ 'ทุนนิยมโลกาภิวัตน์' กับ 'พระราชอำนาจนำ' ไม่ไปไกลกว่านั้น
สิ่งที่ระลึกได้ตอนนี้คือ องค์ประกอบทั้งสองของขอบฟ้าการปฏิรูปนี้ จะตึงเครียด ขัดแย้งกันทุกด้านในอนาคต เพื่อจะได้ลิ้มลอง ต้องย้อนกลับสักเล็กน้อยเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์การเมืองไทย ผมคิดว่า อาจกล่าวได้ว่า ณ จุดใดจุดหนึ่ง ราวกลางทศวรรษ 2530 นั้น ชนชั้นนำไทยได้ยึดฉันทามติที่จะพาประเทศไทยไปสู่เส้นทางโลกาภิวัตน์ มันคงไม่ใช่การมาประชุมร่วมสมัชชาชนชั้นนำแห่งชาติที่ใดที่หนึ่งในครั้งเดียวอย่างเป็นทางการ มันไม่มีการประชุมแบบนั้น แต่มันเป็นผลสั่งสมจากการตัดสินใจจำนวนมากที่สำคัญๆ เช่น
การริเริ่มเปิดเสรีเศรษฐกิจและวัฒนธรรมการเมืองหลายด้านของรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ชุดที่หนึ่งและชุดที่สอง ในปี 2534 และ 2535, การสร้างและเผยแพร่วาทกรรมโลกาภิวัตน์ต่อสาธารณชนอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง เป็นระบบ โดยปัญญาชนสาธารณะและกลุ่มทุนสื่อสารมวลชนในเครือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ผ่านเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ก่อน 2535 เป็นต้นมา, การตัดสินใจเปิดเสรีบัญชีทุน โดยจัดตั้งวิเทศธุรกิจกรุงเทพฯ ขึ้นมาในปี 2536 สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย เพื่อเป็นตัวกลางในการระดมทุนจากหลายประเทศ ด้วยการเชื่อมโยงตลาดภายนอกเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ รวมทั้งการรับเอาวาระปฏิรูปการเมือง มาเป็นนโยบายหลักทางการเมือง ในการรณรงค์หาเสียงของพรรคชาติไทย และเมื่อเป็นรัฐบาล นายกฯ บรรหาร ศิลปอาชา ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญ จัดตั้ง สสร. ทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับในปลายปี 2539 สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จนนำไปสู่การปฎิรูปเปลี่ยนแปลงระบอบเลือกตั้งธิปไตย ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มุ่งหมายให้... ยืมคำหมอประเวศ.. 'ปิดทุจริต เปิดประสิทธิภาพ และสร้างเสริมภาวะผู้นำ' เพื่อรับมือกับความท้าทายของโลกาภิวัตน์ ในปี 2540
ทว่า การพาประเทศเดินเข้าสู่เส้นทางโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ของชนชั้นนำไทย ได้นำไปสู่ผลลัพธ์สองประการที่พวกเขาคาดไม่ถึง two great unexpected ของการเปิดประเทศรับโลกาภิวัตน์ สองสิ่งนั้นบั่นทอนพลังและคุกคามฐานะของชนชั้นนำไทยอย่างร้ายแรงที่สุด อะไรคือสิ่งที่คาดไม่ถึงสองอย่างต่อเนื่องจากโลกาภิวัตน์
หนึ่ง ในทางเศรษฐกิจ เกิดวิกฤตการเงินในเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นความฉิบหายล่มจมครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจทุนนิยมไทยหลังจากนั้น จนชนชั้นนายทุนใหญ่ไทยถูกทำลายไป 65% หรือ 2 ใน 3 ตามการประเมินของคุณชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ ปี 2540 และหลังเกิดวิกฤตการเงิน ปรากฏว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย 100 แห่ง หรือกว่า 1 ใน 4 ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน กลุ่มธุรกิจไทยทั้งหมด 220 กลุ่ม มีกว่า 50 กลุ่ม หรือ 7 จาก 30 กลุ่มธุรกิจใหญ่ของไทยที่ต้องยกเลิกกิจการไป
สอง สิ่งที่คาดไม่ถึงทางการเมือง มันส่งผลสืบต่อ เปิดโอกาส นำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มทุนใหญ่ที่หลุดรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจให้เข้าสู่วงการเมืองโดยตรง เกิดการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้น ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้า หรือซีอีโอทางการเมืองของชนชั้นนายทุนไทย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 อันประจวบเหมาะกับวันครบรอบการปฏิวัติฝรั่งเศส ครบรอบ 209 ปีพอดี และการสถาปนาระบอบทักษิณ หรือระบอบประชาธิปไตยอำนาจนิยม ภายใต้อำนาจนำทางการเมืองของกลุ่มทุนใหม่โลกาภิวัตน์ ในกลางปี 2546-2549
นี่ก็เป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง โลกาภิวัตน์นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ และระบอบทักษิณ
ระบอบนี้ ได้อำนาจจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงเป็นประชาธิปไตย แต่ใช้อำนาจแบบอำนาจนิยม เพราะกดขี่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน กดขี่ลิดรอนหลักนิติรัฐ คุกคามท้าทายระบอบเลือกตั้งธิปไตย ภายใต้พระราชอำนาจนำโดยตรง ในที่สุด ภายใต้ระบอบนี้ อำนาจนำทางการเมือง เป็นของกลุ่มทุนใหญ่โลกาภิวัตน์
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การเลือกเดินเส้นทางโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ จะนำพาชนชั้นการเมืองไทยไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และระบอบทักษิณ ปี 2546-2549 อย่างไม่คาดหมาย จนพลังและฐานะของพวกเขาถูกบั่นทอนคุกคามอย่างร้ายแรง
แต่กระนั้น กล่าวให้ถึงที่สุด แม้จะสะบักสะบอม เข็ดเขี้ยว ละล้าละลังเพียงไร ชนชั้นนำของไทยก็ไม่คิดจะบ่ายเบนหันเหออกไปจากทางฝันนี้โดยพื้นฐาน ทั้งนี้ ด้วยความจำเป็นทางภววิสัยของโลกปัจจุบันที่บังคับในเรื่องข้อจำกัดและผลประโยชน์ทางอัตวิสัยของพวกเขาเอง
ไหนล่ะ หลักฐาน? การที่รัฐบาลสุรยุทธ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลแรกที่เชิดชูเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นโดดเด่น เป็นแนวนโยบายหลัก ชนิดที่คงยากจะหารัฐบาลชุดใดจัดการได้เสมอเหมือน ได้ขยับปรับเปลี่ยนความเข้าใจเรื่องนี้ จากเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ถึงนโยบายทางเลือกใหม่ ไปเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นนโยบายปรัชญาในการดำเนินชีวิต ตามคำที่เคยเสนอแนะของ สนช. ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล สะท้อนว่า ที่สุดแล้ว ทางเดินของเศรษฐกิจไทย วิสัยทัศน์ของชนชั้นนำไทย จะไม่ไกลไปกว่า 'เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข'
'เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข' ในความหมายที่ว่า พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ อันเป็นกลไกอำนาจสำคัญและจำเป็นในการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่มาจากเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ให้เกิดประโยชน์ และพระองค์ทรงเป็นประมุขผู้ทรงชี้นำคุณธรรมทางเศรษฐกิจ ที่พสกนิกรควรยึดถือ ประพฤติปฏิบัติ ในการเดินเส้นทางสู่สายโลกาภิวัตน์ เสรีนิยมใหม่ใหม่นี้สืบไป ดังที่โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกและรัฐมนตรีอุตสาหกรรมชุดนี้ให้สัมภาษณ์ว่า
"ความจริง เศรษฐกิจพอเพียงก็คือการเอาคุณธรรมมาใส่ทุนนิยม ซึ่งก็คือหลัก 4 ป. ของท่านนายกรัฐมนตรี ประกอบไปด้วย โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด ประสิทธิภาพ"
เมื่อด้านหนึ่ง ไม่คิดขับจากเส้นทางเศรษฐกิจสายโลกาภิวัตน์เสรีนิยม แต่ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งก็ปฏิเสธไม่เอาระบอบทักษิณ อันเป็นผลลัพธ์สืบเนื่องทางการเมืองของมัน ฉะนั้น ทางเดียวที่จะทำได้คือ ต้อง 'ตัดตอนกลุ่มทุนใหญ่ทางการเมือง'
กระบวนการทางเศรษฐกิจในช่วง 10 ที่ผ่านมานี้ ได้สร้างและขยายคนกลุ่มใหม่ขึ้นมาสองกลุ่มในสังคมไทย
หนึ่ง กลุ่มทุนใหญ่ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก แล้วอาศัยมือยาวกว่าเพื่อนของตน หมายถึง เงินทุน ทักษะความรู้ความชำนาญสมัยใหม่ อิทธิพล เครือข่ายพวกพ้อง ฉวยโอกาสมือยาวนั้นไปคว้าเกาะเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ที่ลงทุนในตลาดหุ้นและธุรกิจสินทรัพย์ การเงิน หุ้น ทั้งในและระหว่างประเทศ และเมื่อประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ร่ำรวยผิดปกติอย่างเฉียบพลัน เช่น คุณทักษิณ ชินวัตร ญาติมิตร และพวกพ้วง แกนนำพรรคไทยรักไทย
คนอีกกลุ่มหนึ่ง คือคนจน คนชายขอบ ที่อยู่ไม่ได้ ไปไม่ถึง เป็นพวกตกหลุมดำระหว่างชนบทกับเมือง จะอยู่ในชนบททำนาทำไร่ต่อไปก็ไม่ได้ เพราะสูญเสียที่ดินทำกินและฐานทรัพยากรของชุมชนไปแล้ว แต่ไปเมืองก็ไม่ถึง เพราะขาดแคลนทั้ง ทุน ทักษะความรู้ ความชำนาญ สมัยใหม่ อิทธิพล เส้นสาย จนเกินกว่าจะลงหลักปักฐานสร้างเนื้อสร้างตัวเป็นปัจเจกบุคคลประเภท 'สู้แล้วรวย' จึงกลายเป็นเหยื่อที่สร้างมาจากโลกาภิวัตน์ เพราะ 'มือสั้น' และถูกตีนที่มองไม่เห็น ถีบให้ใช้ชีวิต ทำมาหากินเสี่ยงโชคเสี่ยงภัย โดยไร้หลักประกันความมั่นคงในชีวิต ทำให้ค่อนข้างจนดักดาน เช่น เกษตรกรรายย่อย ยากจน ติดหนี้สินเรื้อรัง แรงงานรับจ้างในภาคชนบท คนขับแท็กซี่ คนขับสามล้อ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย ชาวสลัม คนงานก่อสร้าง คนงานรับจ้างรายวัน เด็กขายพวงมาลัยตามสี่แยก
แรงงานภาคเกษตรกรรม บวกแรงงานภาคเศรษฐกิจนอกระบบในเมืองเหล่านี้ อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร แห่งเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คะเนว่ามีประมาณ 67% เป็นเสียงข้างมากของแรงงานทั่วประเทศ เทียบกับที่เหลือซึ่งประกอบด้วย ชนชั้นกลาง 15% แรงงานภาคอุตสาหกรรม 8% และอื่นๆ อีกราว 10% พวกเขาเหล่านี้เป็นฐานเสียงคะแนนข้างมากอย่างแน่นหนา ให้แก่แพคเกจนโยบายกับประชานิยมเอื้ออาทรต่างๆ ของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนฯ ทั่วไปตลอด 3 ครั้งที่ผ่านมา นั่นคือ 11 ล้านเสียงในปี 2544 19 ล้านเสียงในปี 2548 และ 16 ล้านเสียงในปี 2549
เหมือนที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดหลัง 14 ตุลา เหมือนที่คนชั้นกลางในเมือง และนักเลือกตั้งของคนชนบท เป็นกลุ่มคนเกิดใหม่หลัง 14 ตุลา จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมัยเผด็จการสฤษดิ์ ถนอม ประภาส คนเหล่านี้ใช้เวลาร่วม 2 ทศวรรษ หลังตุลาคม 2516 จนพฤษภาประชาธรรม 2535 ในการดิ้นรนต่อสู้เพื่อเข้าร่วมส่วนใช้อำนาจรัฐบ้าง ขอมีอำนาจรัฐบ้าง
ปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในระยะผ่านอันยาวนาน แต่ระยะผ่านอันยาวนานของการเปลี่ยนอำนาจ ซึ่งคนสองกลุ่ม คือกลุ่มทุนใหญ่ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก และคนจนคนชายขอบ อันเป็นกลุ่มคนที่เกิดใหม่จากการพัฒนาเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ทุนนิยมใหม่ กำลังดิ้นรนต่อสู้ เพื่อเข้าร่วมส่วนใช้อำนาจรัฐบ้าง เช่นกัน
พวกเขาต้องการได้อำนาจรัฐมา ก็เพื่อใช้มันบริหารจัดการความเสี่ยงที่ควบมากับเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ด้วยตัวเอง เพราะพวกเขาได้รับบทเรียนอันเจ็บปวดหวาดเสียวจากวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ว่า การปล่อยให้ชนชั้นนำกลุ่มอื่น ไม่ว่านักเลือกตั้ง เทคโนแครต หรือข้าราชการ ไปบริหารจัดการเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์แทนพวกเขานั้น อาจทำให้พวกเขาถึงแก่ฉิบหาย ล้มละลาย สิ้นเนื้อประดาตัว หรือตกงานตกอาชีพ ขาดที่พึ่งยามป่วยไข้ ต้องเอาลูกออกจากโรงเรียน พาครอบครัวซมซานกลับชนบท หรือติดคุกติดตะราง ค้ายาบ้า
ในแง่นี้ ระบอบทักษิณ ก็คือการขึ้นชุดกุมอำนาจรัฐโดยตรงของกลุ่มทุนใหญ่ แล้วต่อท่อภาครัฐไปอุปถัมภ์คนจนคนชายขอบ ผ่านโครงการประชานิยมเอื้ออาทรต่างๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มันคือระบอบประชาธิปไตยอำนาจนิยม ภายใต้อำนาจนำของพรรคการเมืองกลุ่มทุนใหญ่ ที่มีคนจน คนชายขอบ เป็นฐานเสียงพันธมิตร
อำนาจแท้จริงของระบอบทักษิณ จึงประกอบไปด้วยอำนาจทุน บวกคะแนนเสียงข้างมาก ทว่า ในทางการเมืองดำเนินผิดพลาด ด้วยรวบอำนาจรวมศูนย์ ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน บริหารโลกาภิวัตน์ด้วยกลุ่มทุนพวกพ้องเส้นสายของระบอบทักษิณ
ห้า : รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเกิดขึ้นในลักษณะปฏิบัติการของแนวร่วม ระหว่างรัฐราชการ ได้แก่ ทหาร ตุลาการ คือทหารที่จงรักภักดี กับประชาสังคม ได้แก่ชนชั้นกลางและชนชั้นนำนอกรัฐบาลภายใต้แกนนำของทหาร เพื่อโค่นอำนาจการเมืองของกลุ่มทุนใหญ่
ปฏิบัติการทางการเมืองของคณะรัฐประหาร จนถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ก็คือแบบฝึกหัดวิศวกรรมทางการเมืองที่จะหลีกเลี่ยงระบอบทักษิณ ด้วยการตัดตอนกลุ่มทุนใหญ่ทางการเมือง ในระหว่างนำพาประเทศเดินหน้าต่อไป บนเส้นทางเศรษฐกิจสายโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ตามแผนปฏิรูปการเมือง 4 ขั้นตอนของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวคือ
หนึ่ง ยุบพรรคไทยรักไทย อันเป็นพรรคการเมืองกลุ่มทุนใหญ่ และศูนย์รวมเสียงข้างมากของคนจน คนชายขอบ สอง ดำเนินคดีการทุจริตคอรัปชั่น นำไปสู่การอายัดทรัพย์สินที่เป็นกำลังทุนในประเทศของกลุ่มทุนใหญ่ แกนนำพรรคไทยรักไทย โดย คตส. สาม พรรคแตก ส.ส.เริ่มกระจัดกระจาย แยกสลายกำลังนักเลือกตั้งมุ้งต่างๆ ออกไป สี่ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง เพื่อส่งต่อผ่องถ่ายอำนาจรัฐให้แก่พรรครัฐบาลใหม่ที่ไว้วางใจได้ ในความหมายพลเอกสนธิ ที่ต้องรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หมายถึงรักประเทศไทย รักสถาบัน ภายใต้การเตรียมการเลือกตั้งของรัฐบาล ที่มีตัวเองเป็นรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงมหาดไทย และกอ.รมน.แทนนายกรัฐมนตรี ตามมติครม.วันที่ 9 ตุลาคม 2550
รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ หรือชุดร่างกฎหมายเพื่อความมั่นคงของคณะรัฐประหารที่กำลังรอคิวออกตามมา ขัดต่อเงื่อนไขของความเป็นจริงจากแง่สัมพันธภาพทางอำนาจอย่างเก่าเคยเป็น โดยตัดตอน ลิดรอนช่องทางการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐ ผ่านการเข้าพรรคโดยการเลือกตั้งของกลุ่มทุนใหญ่กับคนจนคนชายขอบ
ภาพสะท้อนทั้งหมดนี้ ปรากฏว่า ขบวนการภาคประชาชนส่วนหนึ่งหันไปยอมรับการรัฐประหารเพื่อราชบัลลังค์ของ คปค. เพื่อก่อตั้งเผด็จการทุนนิยมในลักษณะที่มืดบอดต่อ และละทิ้งมิติภารกิจด้านต่อต้านรัฐราชการเผด็จการ หลับหูหลับตาต่อความเป็นจริงทุกด้านที่ว่า รัฐราชการเผด็จการ และชนชั้นนำศักดินา รับใช้และเกี่ยวพันกับทุนนิยมโลกาภิวัตน์มาทุกยุค เรียกร้องให้ใช้พระราชอำนาจ เปลี่ยนนายกฯ ในลักษณะสมบูรณาญาสิทธิ์เฉพาะกิจ ชักนำพาประชาชน ไปฟากพันธมิตรประชาชนเพื่อราชาธิปไตย ฉวยใช้ความเป็นวาทกรรมมรณะ เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพวกขวาจัด มาข่มขู่โจมตีผู้เห็นต่าง
ในทางกลับกัน ขบวนการต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการทหารบางส่วน ก็ยังเสนอระบอบประชาธิปไตยของปวงประชามหาชน เชิดชูโลกาภิวัตน์ บวกประชาธิปไตย บวกความเป็นธรรมทางสังคม ขึ้นมาเป็นธงชาติไทยสามผืนในกระแสโลกาภิวัตน์ แม้ขณะที่ต่อต้านคัดค้านศักดินา เน้นการเลือกตั้งเป็นสารัตถะของประชาธิปไตย ในทำนองรัฐเลือกตั้ง มืดบอดต่อ และละทิ้งมิติด้านภารกิจต่อต้านทุนนิยม
หลับหูหลับตาต่อความจริงอีกด้านที่ว่า ประชาธิปไตยของกลุ่มทุนใหญ่โลกาภิวัตน์นั้น เผด็จอำนาจ กดขี่ลิดรอนสิทธิประชาชน และพื้นฐานกลับตาลปัตรไตรลักษณ์ทางความคิดของ อ.ปรีดี พนมยงค์ เพราะ อ.ปรีดีนั้น ชาตินิยม มากับประชาธิปไตย และมากับสังคมนิยม แต่สำหรับกลุ่มนี้ โลกาภิวัตน์ มากับประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางสังคม
ในที่สุด สละละทิ้งพื้นที่ 'ชาติ' ให้อุดมการณ์ 'ราชาชาตินิยม' สละละทิ้งเวทีและวาทกรรมต่อต้านทุนนิยมให้กับวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ในที่สุด การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยสามแนวทาง 75 ปีหลัง 2475 และ 34 ปีหลัง 2516 กระบวนการปฏิวัติกระฎุมพีไทยมาถึงทางแพร่ง ที่ตาบอดคนละข้าง แล้วแยกทางกันเดิน
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ การปฏิวัติกระฎุมพีไทยได้เปลี่ยนสีแปรธาตุจากเดิม แนวทางตุลาคมที่ต้านรัฐราชการเผด็จการและต้านอำนาจทุนไปพร้อมกัน มาเป็น หนึ่ง แนวทางพฤษภาคมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่ต้านรัฐราชการเผด็จการศักดินา กับแนวทางกันยายนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ต้านอำนาจทุนด้านเดียว
พื้นที่ประชาชน ความหวังอันริบหรี่
ถึงแม้ปัญหาที่เราเผชิญอยู่จะสลับซับซ้อน ถึงแม้มิติที่เราเผชิญอยู่จะใหญ่โตมโหฬาร แต่ผมยังอยากจะจบปาฐกถาในวันนี้ด้วยความหวังเล็กน้อย
มรดกที่เราได้รับตกทอดมาจากการเสียสละของวีรชน 14 ตุลา และมาถึงมือเรา คือสิ่งที่ผมเรียกว่า 'พื้นที่ประชาชน' มันเป็นพื้นที่ของสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค เป็นพื้นที่ของ เอกราช ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมทางสังคม เป็นพื้นที่ปลอด หรือพยายามจะต่อต้าน ทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุน และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ของภราดรภาพด้วย
หลังวีรชน 14 ตุลา ก็ยังมีผู้ต่อสู้ หรือผู้สละชีวิต เพื่อปกป้องพื้นที่เหล่านี้ไว้ไม่ขาดสาย เช่น วีรชน 6 ตุลา วีรชนพฤษภาประชาธรรม วีรชนผู้เสียสละในชนบทป่าเขา รวมมาถึง ทนายสมชาย นีละไพจิตร และลุงนวมทอง ไพรวัลย์
ผมคิดว่าความหวังน่าจะอยู่ตรงนี้
ถ้าท่าน ถ้าเรา สามารถหลั่งน้ำตาอาลัยรัก ให้กับทนายสมชาย นีละไพจิตร และลุงนวมทอง ไพรวัลย์
ถ้าท่าน และเรา สามารถคัดค้าน ทั้งการใช้อำนาจทุน คุกคามข่มเหงรังแกสิทธิประชาชนของผู้ต่อต้านรัฐบาลทักษิณ อย่างคุณสุภิญญา กลางรณรงค์
ถ้าเรา สามารถคัดค้าน ทั้งการใช้อำนาจรัฐคุกคามข่มเหงรังแกของผู้ต่อต้านรัฐประหาร อย่างคุณสมบัติ บุญงามอนรงค์ และคุณจรัล ดิษฐาอภิชัย
ถ้าเราทำเช่นนั้นได้ ผมคิดว่า เรามีความหวังที่จะรักษาพื้นที่ประชาชน อันเป็นมรดกของวีรชน 14 ตุลาต่อไปได้ ไม่ว่าเราจะแตกต่างกัน หรือไม่ว่าเราจะเห็นไม่ตรงกันก็ตาม
หนึ่ง เปรียบเทียบการปฏิวัติ 2475 กับ 2516
สอง ปมปริศนาของการปฏิวัติกระฎุมพีในประเทศกำลังพัฒนา
สาม จาก 2475 ผ่าน 14 ถึง 6 ตุลา
สี่ พฤษภาประชาธรรมกับวิกฤตโลกาภิวัตน์ไทย
ห้า รัฐประหาร 19 กันยา 2549
หก สรุปการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 3 แนวทาง(พื้นที่ประชาชน ความหวังอันริบหรี่)
“จากระบอบทักษิณสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 วิกฤตประชาธิปไตยไทย”
โดย รศ. ดร. เกษียร เตชะพีระ
สวัสดีครับ ท่านคณะกรรมการมูลนิธิ 14 ตุลา คณาจารย์ ญาติมิตร และบุตรสหาย ของวีรชน 14 ตุลา ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ
ก่อนอื่น ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ที่กรุณาให้เกียรติและให้โอกาสผมมาปาฐกถา 14 ตุลาประจำปีนี้ ท่ามกลางสถานการณ์หลังรัฐประหาร ภายใต้ระบบเผด็จการครึ่งใบ และรัฐธรรมนูญกึ่งอำมาตยาธิปไตย ก่อนการเลือกตั้ง ที่ไม่เพียงแต่เป็นวิกฤตครั้งร้ายแรงในรอบ 15 ปีสำหรับกระบวนการสร้างประชาธิปไตยไทยหลัง 14 ตุลา 2516 ยังเป็นช่วงของความอึมครึม สับสนทางอุดมการณ์ การเมือง และศีลธรรม อย่างไม่เคยมีมาก่อนในรอบ 34 ปีของเหตุการณ์ 14 ตุลา
หากเปรียบกับวิกฤตการล่มสลายของ พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) และอุดมการณ์สังคมนิยมทั้งไทยและสากล จากกลางทศวรรษที่ 2520 ถึงกลางทศวรรษ 2530 ตอนนั้น แม้สังคมนิยมคอมมิวนิสต์จะกลายเป็นปัญหา แต่อย่างน้อย ประชาธิปไตยก็ยังไม่เป็นปัญหา การจำแนกมิตร-ศัตรูของประชาธิปไตยก็ยังชัดเจนอยู่ และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับหนทางข้างหน้า ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของกระบวนการสร้างและผลักดันประชาธิปไตยต่อไปก็ค่อนข้างมีฉันทามติสอดคล้องกัน
หรือเราสมควรกล่าวว่า หน่ออ่อนของปมปริศนาประชาธิปไตยปัจจุบัน ก็เริ่มแสดงเค้าล้างให้เห็นบ้างแล้ว ในแง่ที่ผู้นำกองทัพสมัยนั้น ในกลาง 2520 ถึง 2530 ออกมาประณามเผด็จการรัฐสภาของนายทุน และป่าวร้องสรรเสริญประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของทหาร และข้าราชการประจำไม่ได้แยกจากข้าราชการการเมือง
ทว่า เหตุการณ์ท้ายนี้ ที่ภายใต้ระบอบทักษิณ และอำนาจรัฐประหารของ คปค. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การณ์กลับกลายเป็นว่า การวิวาทะถกเถียงในสังคมวงกว้าง, ขบวนการประชาชนเอง รวมศูนย์ที่ปัญหาว่า อะไรกันแน่คือแก่นของสาระประชาธิปไตยที่แท้จริง ใครกันแน่คือมิตร-ศัตรูของประชาธิปไตย แล้ววิสัยทัศน์หรือหนทางข้างหน้า ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของการจะสร้างประชาธิปไตยในเมืองไทยจะทำอะไรดี
พูดอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น อาทิ การคัดค้านต่อต้านรัฐบาลทักษิณที่มาจากการเลือกตั้งและกุมเสียงข้างมากในสภา ทว่าผูกขาดอำนาจโดยกลุ่มทุนใหญ่ซึ่งพบเห็นว่าทุจริตและละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นการปกปักษ์รักษา หรือบ่อนทำลายประชาธิปไตยกันแน่ ในทางกลับกัน รัฐประหาร 19 กันยา 2549 หรือรัฐประหาร คปค. เป็นการทำลายและฉุดดึงประชาธิปไตยให้ถอยหลัง หรือเป็นมาตรการสุดท้ายอันจำเป็นเพื่อกอบกู้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้พ้นภัยเผด็จการทุนนิยมของระบอบทักษิณ
รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ 2550 เป็นการขยายสิทธิเสรีภาพประชาชนครั้งใหญ่ ปฏิรูปปรับปรุงประชาธิปไตย หรือเป็นการฟื้นฟูระบอบเลือกตั้งทั่วไปขึ้นมา ภายใต้การชี้นำกำกับของอำนาจตุลาการ หน่วยกองสาขาของกองทัพแผ่นดิน
และสุดท้าย การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปปลายปีนี้ จะนำไปสู่รัฐบาลประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของสังคมบ้านเรา หรือจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคอันอ่อนแอ บนฐานระบบราชการประจำที่อิสระกว่าก่อนจนยากบริหารจัดการท้าทาย หรือรับโอกาสใหม่ๆ ของโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้
น้อยครั้งนักที่ขาวกับดำจะคลุมเครืออุดมการณ์เข้าหากันเป็นเทาไปทั่วขบวนการประชาชนเท่าครั้งนี้ แล้วใครกันแน่ที่เป็นมิตรหรือศัตรูของผู้ที่ปักใจมั่นว่าจะยืนอยู่กับมรดกประชาธิปไตยของประชาชน ทักษิณ หรือสนธิ ...ทั้งลิ้ม และบังนะครับ สมัครหรืออภิสิทธิ์ พีทีวี หรือเอเอสทีวี ทุนใหญ่ผูกขาด หรือขุนศึกศักดินา
พื้นฐานปาฐกถา 14 ตุลาประจำปีนี้ มาจากงานวิจัยเรื่อง "จากระบอบทักษิณสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 : วิกฤตประชาธิปไตยไทย" ซึ่งผมทำให้กับศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือประกอบการปาฐกถาครั้งนี้โดยมูลนิธิ 14 ตุลา
งานวิชาการ ถูกจัดทำขึ้นด้วยระเบียบวิธีการอันเป็นกรอบอันบังคับให้รอบคอบ รัดกุม ตามธรรมเนียมวิชาชีพ มีการอ้างอิงข้อมูล ข้อเท็จจริง สถิติ ตัวเลข รายงานข่าว คำสัมภาษณ์ บทวิเคราะห์ ความเห็นต่างๆ มารองรับ กำกับ ประกอบ การแสดงทัศนะวิเคราะห์ วิจารณ์ วินิจฉัย ไม่ให้เลื่อนลอย โดยงานชิ้นนี้ ผมใช้เวลาทำ 1 ปี จากกลางปี 2549 ถึงปีปัจจุบัน
ต้นฉบับยาว 100 หน้ากระดาษเอ 4 มีเชิงอรรถ 162 แห่ง อ้างอิงเอกสารและข้อมูล ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ทั้งสิ้น 200 รายการ แบ่งคร่าวๆ เป็น เนื้อหาปูมหลัง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม 35 หน้า ระบอบทักษิณ 40 หน้า ลักษณะของ คปค.และรัฐบาลสุรยุทธ์ 25 หน้า
ในงานวิชาการ มันไม่มีวันสมบูรณ์แบบและย่อมมีข้อบกพร่อง มีประเด็นข้อเท็จจริง ข้อวิเคราะห์ที่โต้แย้งได้ แต่อย่างน้อย ผมก็หวังว่ามันจะช่วยให้เข้าใจแง่มุมต่างๆ หรือเนื้อแท้ของปัญหาวิกฤตประชาธิปไตยที่เรากำลังเผชิญ มิใช่เพื่อเสนอทางออกสำเร็จรูป เพราะคำตอบแบบนั้น 'ไม่มี' แต่เพื่อให้พวกเรา ผู้รับทอดมรดกประชาธิปไตยจากวีรชน 14 ตุลา จะค่อยๆ หาทางขบแก้ทั้งทางความคิดและทางปฏิบัติต่อไป
ในที่นี้ ผมจึงตั้งใจดึงเอานัยยะทางการเมืองที่สำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ออกมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อนำเสนอให้เหมาะกับโอกาสในเวลาจำกัด โดยแบ่งกลุ่มหัวข้อต่างๆ มีทั้งหมด 6 หัวข้อ ดังนี้
หนึ่ง เปรียบเทียบการปฏิวัติ 2475 กับ 2516
สอง ปมปริศนาของการปฏิวัติกระฎุมพีในประเทศกำลังพัฒนา
สาม จาก 2475 ผ่าน 14 ถึง 6 ตุลา
สี่ พฤษภาประชาธรรมกับวิกฤตโลกาภิวัตน์ไทย
ห้า รัฐประหาร 19 กันยา 2549
หก สรุปการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 3 แนวทาง
..ผมอยากจะเริ่มโดยบทสรุปก่อน เพื่อให้เห็นว่าแก่นของมันคืออะไร
75 ปีหลัง 2475 และ 34 ปีหลัง 2516 กระบวนการปฏิวัติกระฎุมพีไทยมาถึงทางแพร่งที่ตาบอดคนละข้าง แล้วแยกทางกันเดิน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ การปฏิวัติกระฎุมพีไทย ได้เปลี่ยนแปลงไปจากแนวทางตุลาคมของขบวนการพฤษภาประชาชน 14 - 6 ตุลา ซึ่งต้านทั้งรัฐราชการเผด็จการ และต้านอำนาจทุน ไปเป็น..
หนึ่ง แนวทางพฤษภาคม ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งต้านรัฐบาลเผด็จการศักดินาด้านเดียว
สอง แนวทางกันยายน ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งต้านอำนาจทุนด้านเดียว
จริงๆ แล้ว แก่นสารที่ผมอยากจะพูด มันเหมือนกับแก่นสารในปีนี้ของปาฐกถา 6 ตุลา ของ อ.จอน อึ๊งภากรณ์เด๊ะเลย เพียงแต่ว่าที่ผมพูดมันเป็นวิชาการมากหน่อย และการที่เป็นวิชาการมากหน่อย มันก็เลยเยิ่นเย้อกว่า และยุ่งยากกว่า กล่าวคือ อ.จอนขอให้คนเดือนตุลา คงเส้นคงวาบ้าง สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ ผมพยายามเสนอระบบทางการเมือง และโอกาสทางภววิสัยของความ 'ไม่คงเส้นคงวา' ทางอัตวิสัยของคนเดือนตุลาและกลุ่มพลังทางการเมืองต่างๆ ในสังคมไทย
ในประเทศทุนนิยม 'การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย' กับ 'การต่อสู้เพื่อสังคมนิยม' เชื่อมโยงกัน มันมีพลวัติต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจะพูดถึงว่า สิทธิเสรีภาพ ความเป็นธรรมในสังคม ในประเทศทุนนิยมพัฒนาเสรี การต่อสู้มันมีความเชื่อมโยง มีนัยยะที่ผลักเข้าหากัน
ในที่นี้ ผมอยากเสนอหลักคิด โดยยกตัวอย่างประวัติศาสตร์ของพลวัตดังกล่าว การต่อสู้ของทั้งสอง ('การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย' กับ 'การต่อสู้เพื่อสังคมนิยม') ผมใคร่เสนอว่า ได้หลอมรวมเข้าด้วยกัน เป็นการต่อสู้เดียวและขบวนการเดียว หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยการที่ขบวนการนักศึกษาประชาชนในเมืองที่ถูกปราบปรามในเหตุการณ์ 6 ตุลา ยกธงเข้าป่า ร่วมกับขบวนการต่อสู้ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ทว่าไม่กี่ปีให้หลัง ป่าก็แตก แล้วการต่อสู้ทั้งสองก็แยกทางกันภายใต้สถานการณ์ใหม่ เป็นสถานการณ์ที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในประเทศ และขบวนการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศปราชัย ขณะเดียวกัน ก็มีสิ่งเกิดใหม่ในเหตุการณ์ 2 ประการ คือ
หนึ่ง พระราชอำนาจนำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน และสอง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์
นี่คือสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากป่าแตก อย่างไรก็แล้วแต่ โลกาภิวัตน์ไมได้ราบรื่นตลอด วิกฤตจากโลกาภิวัตน์ก็เกิดขึ้นในปี 2540 และหลังจากนั้น ได้เกิดความสัมพันธ์ของเสาหลักของสถานการณ์ใหม่ทั้งสอง และเปิดมิติใหม่ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสังคมนิยมขึ้นมา มิติใหม่และพลวัตใหม่นี้เองที่นำไปสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
หนึ่ง : เปรียบเทียบการปฏิวัติ 2475 กับ 2516
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ มีเหตุการณ์สำคัญที่ถูกเรียกว่าเป็นการปฏิวัติกระฎุมพี ได้แก่ หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 และสอง การลุกฮือของนักศึกษาประชาชน 14 ตุลาคม 2516
กรณีแรก 24 มิถุนา 2475 เช่น เพลงมาร์ช มธก.ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง โดยทวีป วรดิลก ซึ่งแต่งขึ้นในช่วงทศวรรษ 2490 เพลงนี้เลือกใช้ทำนองเพลงลา มาร์แซร์แยส (La Marseillaise) ซึ่งเป็นเพลงชาติฝรั่งเศส ที่ถือกำเนิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1789 เลือกอย่างจงใจ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและมิติทางประวัติศาสตร์ จากคำให้สัมภาษณ์ของคุณทวีป วรดิลก ซึ่งบอกผมไว้ก่อนท่านสิ้นชีวิต
ถ้าท่านยังจำได้ เนื้อเพลงวรรคแรก...
...อันธรรมศาสตร์สืบนามความสามัคคี ร่วมรักในสิทธิศรีเสรีชัย
สัจธรรมนำเราเร้าในดวงใจ โดมดำรงธงชัยในวิญญาณ...
เนื้อนั้น แต่งขึ้นใหม่ แต่ทำนองมาจากเพลงลา มาร์แซร์แยส
...Allons enfants de la Patrie Le jour de gloire est arrivé !
Contre nous de la tyrannie L'étendard sanglant est levé...
...มาเถิด ลูกหลานของประเทศชาติ วันรุ่งโรจน์มาถึงแล้ว
เราควรเผชิญหน้ากับความกล้า ธงที่ชุ่มด้วยเลือดได้ถูกเชิดชูขึ้น...
เป็นการเล่นกับเพลง เพราะเหตุการณ์ 2475 เปรียบได้กับการปฏิวัติฝรั่งเศส 1789
ผมเคยพบหนังสือภาษาไทยเก่าเล่มหนึ่ง เรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789 ในหอสมุดแห่งชาติโดยบังเอิญ ผมเจอหลัง 14 ตุลา 2516 อ่านคำนำ พบว่าหนังสือเล่มนั้นตีพิมพ์หลัง 2475 ไม่นาน ผู้เขียนชี้แจงไว้ตอนหนึ่งว่า ตีพิมพ์ออกมาก่อนหน้านั้นไม่ได้ จนกระทั่งหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้พิมพ์ออกมารับกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป พูดได้อีกอย่างหนึ่งคือ ในเวลานั้น ผู้เขียน ซึ่งผมจำไม่ได้แล้วว่าเป็นใคร 2475 เปรียบได้กับ 1789
ผมเคยเขียนกลอนระลึกถึงอาจารย์ปรีดี ตอนที่ท่านถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปี 2526 ไว้ว่า
รัฐธรรมนูญยิ่งใหญ่ใส่พานวาง แต่ทวยราษฎร์เป็นเบี้ยล่างเสมอมา
แต่หากไร้คณะราษฎรสู้ ราษฎรคงอยู่เป็นไพร่ทาส
ก้าวแรกแห่งการล้มสมบูรณา เป็นก้าวสั้นแต่ทว่ายั่งยืนยาว...
ในกรณี 14 ตุลา 2516 ปรากฏในบทความของอาจารย์เบน แอนเดอสัน แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล ชื่อบทความ “Murder and Progress in Modern Siam” หรือ “การฆาตกรรมทางการเมืองและความก้าวหน้าในสยามสมัยใหม่” มีข้อความตอนหนึ่งในบทความ ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ 1990 ความว่า พวกเรา หากลองนึกถึงปี 2516 ว่าเปรียบประดุจเป็น ค.ศ.1789 แห่งสยามแล้ว เราก็อาจมองช่วงระยะเวลาหลังจากนั้นทั้งหมดได้ในกรอบเพียงอันเดียว นั่นคือ กรอบการต่อสู้ของกระฎุมพี ที่ธำรงไว้ซึ่งอำนาจการเมืองใหม่ของตน ที่อยู่ในรูปสถาบันรัฐสภา จากภัยคุกคามทั้งซ้ายและขวา ทั้งภาคประชาชนและกลไกรัฐ
ในงานอีกชิ้นของครูเบน ซึ่งแปลเป็นไทยแล้ว ชื่อว่า “ศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษา” พิมพ์ในฟ้าเดียวกัน เมื่อกรกฎาคม-กันยายน 2546 ภาษาอังกฤษตีพิมพ์เมื่อปี 1979 ครูเบนได้วิเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบ 24 มิถุนา 2475 กับ 14 ตุลา 2516 ไว้ว่า รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยาม อายุสั้นแค่ราว 40 ปี จากปี 2435 ถึง 2475 คือจากปลายรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 เนื่องจากอายุสั้น จึงเปลี่ยนแปลงสังคมเศรษฐกิจไทยไปไม่มาก ไม่ลึกซึ้งพอ ฉะนั้น 24 มิถุนา ซึ่งเป็นผลผลิตของและปฏิกิริยาทางการเมืองต่อรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยาม จึงแคบและเล็ก เป็นเรื่องของข้าราชการทำ ไม่ค่อยมีมวลชนเข้าร่วม เป็นแค่กบฏข้าราชการครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้ขุดรากถอนโคนรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์จริงจังอย่างที่สุด
2475 จึงเป็นปัญหาในรูปการณ์ใหม่ ในรูปรัฐราชการเผด็จการ หรือที่เรียกว่า อำมาตยาธิปไตย เทียบกันแล้ว การลุกฮือ 14 ตุลา 2516 เป็นผลผลิตของและปฏิกิริยาทางการเมืองต่อระบอบเผด็จการทหารอาญาสิทธิ์เพื่อการพัฒนาของสฤษดิ์ ถนอม ประภาส นาน 15 ปี ระบอบดังกล่าว และแผนพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ระบอบนั้น เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมไทยลึกซึ้งกว่ามาก พลิกโฉมหน้าชนชั้นกระฎุมพีไทยไปสู่ระดับใหม่ทันที
สอง : ปมปริศนาของการปฏิวัติกระฎุมพีในประเทศกำลังพัฒนา
ปมปริศนาของการปฏิวัติกระฎุมพีในประเทศกำลังพัฒนา เกิดจาก ประการแรก สังคมเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลกนั้น พัฒนาไปไม่สม่ำเสมอกัน และมีลักษณะเชิงซ้อน กล่าวคือ ในขณะที่ตะวันตกพัฒนาจากสัตยาบันทุนนิยม การปฏิวัติกระฎุมพีล่วงหน้าไปเรียบร้อยแล้ว เรากลับพัฒนาทุนนิยมทีหลัง
ประการสอง จักรวรรดิทุนนิยมตะวันตก แผ่เข้าครอบประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผ่านระบอบอาณานิคมทั้งเก่าและใหม่ ทำให้สังคมเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาทีหลัง หรือประเทศกำลังพัฒนา มีลักษณะที่สลับซับซ้อนกว่าประเทศทุนนิยม เผชิญปัญหาเชิงซ้อน คือเผชิญปัญหาทั้งความล้าหลังกดขี่แบบเก่าของรัฐเผด็จการศักดินา และการขูดรีดข่มเหงแบบใหม่ของกลุ่มทุนต่างชาติที่เชื่อมโยงกับกลุ่มทุนในประเทศ
ฉะนั้น การปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพีไทยแบบคลาสสิก ที่ถือภารกิจโค่นรัฐเผด็จการศักดินา ช่วงชิงสิทธิเสรีภาพของประชาชนล้วนๆ จึงไม่สอดคล้องกับปัญหาความเป็นจริงที่ประสบในประเทศที่กำลังพัฒนาทีหลังหรือกำลังพัฒนา และถูกมองว่า ไม่เพียงพอ
ในทางปฏิบัติแล้ว การต่อสู้มักจะถลำลึกไปเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยแผนใหม่ที่มีภารกิจเชิงซ้อน คือควบรวมทั้งภารกิจปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพี ต่อต้านรัฐเผด็จการศักดินา เพื่อสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย ควบรวมเข้ากับภารกิจปฏิวัติสังคมนิยมที่ต่อต้านเศรษฐกิจทุนนิยม เพื่อความเป็นธรรมทางสังคม หรือสังคมนิยม เข้าด้วยกัน
สาม : จาก 2475 ผ่าน 14 ถึง 6 ตุลา
กระบวนการปฏิวัติกระฏุมพีไทยก็เกิดปมปริศนานี้ และมีปฏิกิริยาตอบโต้ในการเมืองไทยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ซ้ำแล้วซ้ำอีก ผมขอยกตัวอย่างสามกรณี
หนึ่ง 'ปรีดี พนมยงค์' ในการปฏิวัติ 2475 อ.ปรีดีเสนอหลักคณะราษฎรหกข้อ ข้อสามระบุว่า จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก ในที่สุด เพียงช่วงเวลาไม่ถึงปีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง อ.ปรีดีก็นำเสนอเค้าโครงทางเศรษฐกิจ 2475 ซึ่งในทัศนะของผม คือลัทธิสหกรณ์โดยรัฐแบบสมานฉันท์ ที่ยังคงหลีกเลี่ยงการพัฒนาแบบทุนนิยม ก็เห็นแล้วว่าการพัฒนาแบบทุนนิยมมันมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1930 ทำไมเราจะเดินเส้นทางที่พลาดไปแล้วของประเทศทุนนิยมอีก
อ.ปรีดี เสนอเค้าโครงทางเศรษฐกิจ ได้พูดถึงตอนหนึ่งว่า
“ก็เมื่อการที่รัฐบาลประกอบเศรษฐกิจเสียเองเช่นนี้ เป็นการที่ทำให้วัตถุประสงค์ทั้งหกประการของคณะราษฎรได้สำเร็จไปตามที่ได้ประกาศแก่ราษฎรไว้แล้ว สิ่งที่ราษฎรทุกคนพึงปรารถนา คือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ ซึ่งเรียกกันเป็นศัพท์ว่า ศรีอริยะ ก็จะพึงบังเกิดแก่ราษฎรโดยถ้วนหน้า ไฉนเล่า พวกเราที่ได้พร้อมใจกันไขประตู (ยึดอำนาจ) เปิดช่องทางให้แก่ราษฎรแล้ว จะรีๆ รอๆ ไม่นำราษฎรต่อไปให้ถึงต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งราษฎรจะได้เก็บผลเอาจากต้นไม้นั้น คือผลแห่งความสุขความเจริญ ดั่งที่ได้มีพุทธทำนายกล่าวไว้ในเรื่องศาสนาพระศรีอารีย์”
สอง 'พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย' เสนอภารกิจปฏิวัติประเทศไทยในลักษณะปฏิวัติประชาธิปไตยแผนใหม่ หรืออีกนัยหนึ่ง ปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพีนั่นแหล่ะ แต่มีชนชั้นกรรมาชีพหรือกรรมกรอุตสาหกรรมเป็นกองหน้า ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งถ้าการปฏิวัติกระฎุมพี ให้กรรมกรเป็นกองหน้า แล้วพรรคคอมมิวนิสต์นำ มันก็มุ่งสู่สังคมนิยมโดยตรง โดยไม่ผ่านเส้นทางการพัฒนาแบบทุนนิยม
สาม 'เสกสรรค์ ประเสริฐกุล' เคยให้สัมภาษณ์สะท้อนสภาพทางความคิดของนักศึกษากิจกรรมหลัง 14 ตุลา 2516 ไว้ว่า
“…ทีนี้พอหลัง 14 ตุลา ขบวนการลงสู่ชนบทเผยแพร่ประชาธิปไตยนี่ มันพาเราไปสู่ทางซ้ายโดยไม่ทันตั้งตัวเลย เพราะเราจะไปเผยแพร่ประชาธิปไตยนี่ มันกลายเป็นของฟุ่มเฟือยสำหรับคนที่ยากไร้ เขาถูกรุมล้อมด้วยปัญหา ปัญหาไม่เป็นธรรม ถูกข่มเหงรังแกโดยผู้ที่มีเครื่องแบบมีอำนาจ พอรู้ปัญหาเหล่านั้น เราก็เอามาเสนอกับทางรัฐบาล มาประท้วงบ้าง มาเสนอให้แก้ไข มาประสานกับทางรัฐบาลบ้าง เสนอไปมากๆ เราชักเวียนว่ายอยู่กับปัญหาเหล่านั้น ไม่มีเวลามาคิดถึงประชาธิปไตยแล้ว รูปแบบการประท้วง หรือว่าการเอาปัญหาเหล่านั้น มาเสนอโดยตัวของมันเองนี่ มันทำให้เรากลายเป็นซ้ายโดยอัตโนมัติ เช่น ปัญหาค่าแรง หรือว่าปัญหาที่ดิน อย่างนี้ ในทัศนะของผู้ปกครอง เขาก็ว่าเราเป็นซ้ายไปแล้วโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว…”
มันเป็นความเชื่อมโยงกัน เป็นข้อที่ต่อเนื่องกัน ระหว่างการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย หรือการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางสังคม
การฆ่าหมู่และรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 ส่งผลก่อเกิดปฏิกิริยาหลอมรวมสองการปฏิวัติ หลอมรวมกระบวนการ คือหลอมรวมการปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพี กับการปฏิวัติสังคมนิยมกรรมาชีพ และหลอมรวมการประท้วงของนักศึกษาปัญญาชนในเมืองกับขบวนการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ในชนบทเข้าด้วยกัน
ด้วยกระบวนการนี้ พอเกิดเหตุ 6 ตุลา ก็หลอมรวมนักศึกษาเข้าป่า ไปเจอชาวนาที่เราไม่เคยรู้จัก เป็นสหายร่วมป่า ห้าปีต่อมา ขบวนการหลอมรวมแนวร่วมนี้แตกกระจาย พคท. ล่มสลาย นักศึกษาปัญญาชนออกจากป่าคืนเมือง คำถามคือ เกิดอะไรขึ้นกับภารกิจการปฏิวัติทั้งสองประการนี้?
ผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังป่าแตก การปฏิวัติสังคมนิยมหรือการต่อต้านทุนนิยมล้มเลิก ท่ามการวิกฤตการณ์อุดมการณ์ระบอบสังคมนิยมทั่วโลกเปลี่ยนรูปไป เป็น 'การเมืองภาคประชาชน เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ใต้พระราชอำนาจนำ' ที่มีนัยยะวิพากษ์วิจารณ์ด้านที่สุดขั้วรุนแรงของทุนนิยม และเสนอตัวเป็นทางเลือกของชุมชน ภายใต้ระบอบทุนใหม่
ภารกิจปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพีต่อต้านเผด็จการ พ่ายแพ้ เปลี่ยนรูปไปเป็นความพยายามปฏิรูปรัฐราชการใต้พระราชอำนาจนำ อีกนั่นแหล่ะ ซึ่งก็คลี่คลายขยายตัวไปในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ ภายใต้รัฐบาลพลเอกเปรม และระบอบเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ก่อนที่จะเผชิญกับปฏิกิริยาตอบกลับของพลังราชการเผด็จทหารในรูปรัฐประหาร รสช.ปี 2534
สี่ : พฤษภาประชาธรรม กับวิกฤตโลกาภิวัตน์ไทย
ขบวนการพฤษภาประชาธรรม 2535 ดังที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชี้เอาไว้ ในบทความชื่อ ‘ชาตินิยมของขบวนการประชาธิปไตย’ มีความแตกต่างจาก 14 ตุลา 2516 แตกต่างตรงลักษณะ เจตจำนง และพลวัตต่อมา เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยกระฎุมพีล้วนๆ ปลอดเปล่ามิติของภารกิจต่อต้านทุนนิยม หรือมุ่งหาสังคมนิยมเลยโดยสิ้นเชิง
หลัง 14 ตุลา นักศึกษาประชาชนเข้าสู่ท้องนา เชื่อมโยงกับองค์กรชาวนา หลังพฤษภาประชาธรรม ... ด้วยความเคารพ คนชั้นกลางเข้าสู่ตลาดหุ้น
นับจากนั้นมา การเมืองไทยเข้าสู่ระบอบเลือกตั้ง ภายใต้พระราชอำนาจนำ ที่ด้านหนึ่งพยายามปฏิรูปรัฐราชการอำนาจนิยมที่ล้าสมัย รวมศูนย์อำนาจ อีกด้านหนึ่ง พยายามปฏิรูปการเมืองเพื่อระบุแบบแผนระหว่างความสัมพันธ์ทางอำนาจ ระหว่างนักเลือกตั้งกับกลุ่มทุนใหญ่ ชนชั้นนำกลุ่มทุน ชนชั้นกลาง และประชาชนเสียใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหากีดขวางการพัฒนาทุนนิยมในสภาพโลกาภิวัตน์สืบต่อไป นี่คือรูปการณ์ใหม่ของมิติต่อต้านรัฐราชการเผด็จการ ของภารกิจปฏิวัติกระฎุมพี
ในช่วงหลังพฤษภาประชาธรรม ขอบฟ้าแห่งความเป็นไปได้ในจินตนาการ หรือในวิสัยทัศน์ทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองหลังพฤษภา 35 ประกอบด้วยสองอย่าง ขอบฟ้า แปลว่าไกลที่สุดที่จะนึกได้ ไม่มีใครนึกไปไกลกว่านั้น ขอบฟ้าดังกล่าว คือ ‘ทุนนิยมโลกาภิวัตน์’ บวก ‘พระราชอำนาจนำ’
ขอบฟ้านี้เป็นพรมแดนของกระแสและกระบวนการปฏิรูปการเมืองหลังพฤษภา 35 ที่มีขึ้นเพื่อปรับระบบการเมืองการปกครองให้สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลง ช่วงชิงโอกาส รับมือการท้าทายจากสภาวะทุนนิยมโลกาภิวัตน์ได้ และเพื่อธำรงรักษา และจรรโลงสถาบันกษัตริย์ให้มั่นคง เข้มแข็ง ยั่งยืน ภายใต้สภาพการณ์ใหม่ทางการเมือง ที่เปิดเสรี และเป็นประชาธิปไตยรัฐสภายิ่งขึ้น
ปฏิรูปการเมือง ขอบฟ้าอยู่แค่นี้ 'ทุนนิยมโลกาภิวัตน์' กับ 'พระราชอำนาจนำ' ไม่ไปไกลกว่านั้น
สิ่งที่ระลึกได้ตอนนี้คือ องค์ประกอบทั้งสองของขอบฟ้าการปฏิรูปนี้ จะตึงเครียด ขัดแย้งกันทุกด้านในอนาคต เพื่อจะได้ลิ้มลอง ต้องย้อนกลับสักเล็กน้อยเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์การเมืองไทย ผมคิดว่า อาจกล่าวได้ว่า ณ จุดใดจุดหนึ่ง ราวกลางทศวรรษ 2530 นั้น ชนชั้นนำไทยได้ยึดฉันทามติที่จะพาประเทศไทยไปสู่เส้นทางโลกาภิวัตน์ มันคงไม่ใช่การมาประชุมร่วมสมัชชาชนชั้นนำแห่งชาติที่ใดที่หนึ่งในครั้งเดียวอย่างเป็นทางการ มันไม่มีการประชุมแบบนั้น แต่มันเป็นผลสั่งสมจากการตัดสินใจจำนวนมากที่สำคัญๆ เช่น
การริเริ่มเปิดเสรีเศรษฐกิจและวัฒนธรรมการเมืองหลายด้านของรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ชุดที่หนึ่งและชุดที่สอง ในปี 2534 และ 2535, การสร้างและเผยแพร่วาทกรรมโลกาภิวัตน์ต่อสาธารณชนอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง เป็นระบบ โดยปัญญาชนสาธารณะและกลุ่มทุนสื่อสารมวลชนในเครือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ผ่านเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ก่อน 2535 เป็นต้นมา, การตัดสินใจเปิดเสรีบัญชีทุน โดยจัดตั้งวิเทศธุรกิจกรุงเทพฯ ขึ้นมาในปี 2536 สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย เพื่อเป็นตัวกลางในการระดมทุนจากหลายประเทศ ด้วยการเชื่อมโยงตลาดภายนอกเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ รวมทั้งการรับเอาวาระปฏิรูปการเมือง มาเป็นนโยบายหลักทางการเมือง ในการรณรงค์หาเสียงของพรรคชาติไทย และเมื่อเป็นรัฐบาล นายกฯ บรรหาร ศิลปอาชา ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญ จัดตั้ง สสร. ทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับในปลายปี 2539 สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จนนำไปสู่การปฎิรูปเปลี่ยนแปลงระบอบเลือกตั้งธิปไตย ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มุ่งหมายให้... ยืมคำหมอประเวศ.. 'ปิดทุจริต เปิดประสิทธิภาพ และสร้างเสริมภาวะผู้นำ' เพื่อรับมือกับความท้าทายของโลกาภิวัตน์ ในปี 2540
ทว่า การพาประเทศเดินเข้าสู่เส้นทางโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ของชนชั้นนำไทย ได้นำไปสู่ผลลัพธ์สองประการที่พวกเขาคาดไม่ถึง two great unexpected ของการเปิดประเทศรับโลกาภิวัตน์ สองสิ่งนั้นบั่นทอนพลังและคุกคามฐานะของชนชั้นนำไทยอย่างร้ายแรงที่สุด อะไรคือสิ่งที่คาดไม่ถึงสองอย่างต่อเนื่องจากโลกาภิวัตน์
หนึ่ง ในทางเศรษฐกิจ เกิดวิกฤตการเงินในเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นความฉิบหายล่มจมครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจทุนนิยมไทยหลังจากนั้น จนชนชั้นนายทุนใหญ่ไทยถูกทำลายไป 65% หรือ 2 ใน 3 ตามการประเมินของคุณชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ ปี 2540 และหลังเกิดวิกฤตการเงิน ปรากฏว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย 100 แห่ง หรือกว่า 1 ใน 4 ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน กลุ่มธุรกิจไทยทั้งหมด 220 กลุ่ม มีกว่า 50 กลุ่ม หรือ 7 จาก 30 กลุ่มธุรกิจใหญ่ของไทยที่ต้องยกเลิกกิจการไป
สอง สิ่งที่คาดไม่ถึงทางการเมือง มันส่งผลสืบต่อ เปิดโอกาส นำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มทุนใหญ่ที่หลุดรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจให้เข้าสู่วงการเมืองโดยตรง เกิดการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้น ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้า หรือซีอีโอทางการเมืองของชนชั้นนายทุนไทย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 อันประจวบเหมาะกับวันครบรอบการปฏิวัติฝรั่งเศส ครบรอบ 209 ปีพอดี และการสถาปนาระบอบทักษิณ หรือระบอบประชาธิปไตยอำนาจนิยม ภายใต้อำนาจนำทางการเมืองของกลุ่มทุนใหม่โลกาภิวัตน์ ในกลางปี 2546-2549
นี่ก็เป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง โลกาภิวัตน์นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ และระบอบทักษิณ
ระบอบนี้ ได้อำนาจจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงเป็นประชาธิปไตย แต่ใช้อำนาจแบบอำนาจนิยม เพราะกดขี่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน กดขี่ลิดรอนหลักนิติรัฐ คุกคามท้าทายระบอบเลือกตั้งธิปไตย ภายใต้พระราชอำนาจนำโดยตรง ในที่สุด ภายใต้ระบอบนี้ อำนาจนำทางการเมือง เป็นของกลุ่มทุนใหญ่โลกาภิวัตน์
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การเลือกเดินเส้นทางโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ จะนำพาชนชั้นการเมืองไทยไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และระบอบทักษิณ ปี 2546-2549 อย่างไม่คาดหมาย จนพลังและฐานะของพวกเขาถูกบั่นทอนคุกคามอย่างร้ายแรง
แต่กระนั้น กล่าวให้ถึงที่สุด แม้จะสะบักสะบอม เข็ดเขี้ยว ละล้าละลังเพียงไร ชนชั้นนำของไทยก็ไม่คิดจะบ่ายเบนหันเหออกไปจากทางฝันนี้โดยพื้นฐาน ทั้งนี้ ด้วยความจำเป็นทางภววิสัยของโลกปัจจุบันที่บังคับในเรื่องข้อจำกัดและผลประโยชน์ทางอัตวิสัยของพวกเขาเอง
ไหนล่ะ หลักฐาน? การที่รัฐบาลสุรยุทธ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลแรกที่เชิดชูเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นโดดเด่น เป็นแนวนโยบายหลัก ชนิดที่คงยากจะหารัฐบาลชุดใดจัดการได้เสมอเหมือน ได้ขยับปรับเปลี่ยนความเข้าใจเรื่องนี้ จากเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ถึงนโยบายทางเลือกใหม่ ไปเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นนโยบายปรัชญาในการดำเนินชีวิต ตามคำที่เคยเสนอแนะของ สนช. ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล สะท้อนว่า ที่สุดแล้ว ทางเดินของเศรษฐกิจไทย วิสัยทัศน์ของชนชั้นนำไทย จะไม่ไกลไปกว่า 'เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข'
'เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข' ในความหมายที่ว่า พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ อันเป็นกลไกอำนาจสำคัญและจำเป็นในการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่มาจากเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ให้เกิดประโยชน์ และพระองค์ทรงเป็นประมุขผู้ทรงชี้นำคุณธรรมทางเศรษฐกิจ ที่พสกนิกรควรยึดถือ ประพฤติปฏิบัติ ในการเดินเส้นทางสู่สายโลกาภิวัตน์ เสรีนิยมใหม่ใหม่นี้สืบไป ดังที่โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกและรัฐมนตรีอุตสาหกรรมชุดนี้ให้สัมภาษณ์ว่า
"ความจริง เศรษฐกิจพอเพียงก็คือการเอาคุณธรรมมาใส่ทุนนิยม ซึ่งก็คือหลัก 4 ป. ของท่านนายกรัฐมนตรี ประกอบไปด้วย โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด ประสิทธิภาพ"
เมื่อด้านหนึ่ง ไม่คิดขับจากเส้นทางเศรษฐกิจสายโลกาภิวัตน์เสรีนิยม แต่ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งก็ปฏิเสธไม่เอาระบอบทักษิณ อันเป็นผลลัพธ์สืบเนื่องทางการเมืองของมัน ฉะนั้น ทางเดียวที่จะทำได้คือ ต้อง 'ตัดตอนกลุ่มทุนใหญ่ทางการเมือง'
กระบวนการทางเศรษฐกิจในช่วง 10 ที่ผ่านมานี้ ได้สร้างและขยายคนกลุ่มใหม่ขึ้นมาสองกลุ่มในสังคมไทย
หนึ่ง กลุ่มทุนใหญ่ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก แล้วอาศัยมือยาวกว่าเพื่อนของตน หมายถึง เงินทุน ทักษะความรู้ความชำนาญสมัยใหม่ อิทธิพล เครือข่ายพวกพ้อง ฉวยโอกาสมือยาวนั้นไปคว้าเกาะเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ที่ลงทุนในตลาดหุ้นและธุรกิจสินทรัพย์ การเงิน หุ้น ทั้งในและระหว่างประเทศ และเมื่อประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ร่ำรวยผิดปกติอย่างเฉียบพลัน เช่น คุณทักษิณ ชินวัตร ญาติมิตร และพวกพ้วง แกนนำพรรคไทยรักไทย
คนอีกกลุ่มหนึ่ง คือคนจน คนชายขอบ ที่อยู่ไม่ได้ ไปไม่ถึง เป็นพวกตกหลุมดำระหว่างชนบทกับเมือง จะอยู่ในชนบททำนาทำไร่ต่อไปก็ไม่ได้ เพราะสูญเสียที่ดินทำกินและฐานทรัพยากรของชุมชนไปแล้ว แต่ไปเมืองก็ไม่ถึง เพราะขาดแคลนทั้ง ทุน ทักษะความรู้ ความชำนาญ สมัยใหม่ อิทธิพล เส้นสาย จนเกินกว่าจะลงหลักปักฐานสร้างเนื้อสร้างตัวเป็นปัจเจกบุคคลประเภท 'สู้แล้วรวย' จึงกลายเป็นเหยื่อที่สร้างมาจากโลกาภิวัตน์ เพราะ 'มือสั้น' และถูกตีนที่มองไม่เห็น ถีบให้ใช้ชีวิต ทำมาหากินเสี่ยงโชคเสี่ยงภัย โดยไร้หลักประกันความมั่นคงในชีวิต ทำให้ค่อนข้างจนดักดาน เช่น เกษตรกรรายย่อย ยากจน ติดหนี้สินเรื้อรัง แรงงานรับจ้างในภาคชนบท คนขับแท็กซี่ คนขับสามล้อ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย ชาวสลัม คนงานก่อสร้าง คนงานรับจ้างรายวัน เด็กขายพวงมาลัยตามสี่แยก
แรงงานภาคเกษตรกรรม บวกแรงงานภาคเศรษฐกิจนอกระบบในเมืองเหล่านี้ อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร แห่งเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คะเนว่ามีประมาณ 67% เป็นเสียงข้างมากของแรงงานทั่วประเทศ เทียบกับที่เหลือซึ่งประกอบด้วย ชนชั้นกลาง 15% แรงงานภาคอุตสาหกรรม 8% และอื่นๆ อีกราว 10% พวกเขาเหล่านี้เป็นฐานเสียงคะแนนข้างมากอย่างแน่นหนา ให้แก่แพคเกจนโยบายกับประชานิยมเอื้ออาทรต่างๆ ของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนฯ ทั่วไปตลอด 3 ครั้งที่ผ่านมา นั่นคือ 11 ล้านเสียงในปี 2544 19 ล้านเสียงในปี 2548 และ 16 ล้านเสียงในปี 2549
เหมือนที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดหลัง 14 ตุลา เหมือนที่คนชั้นกลางในเมือง และนักเลือกตั้งของคนชนบท เป็นกลุ่มคนเกิดใหม่หลัง 14 ตุลา จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมัยเผด็จการสฤษดิ์ ถนอม ประภาส คนเหล่านี้ใช้เวลาร่วม 2 ทศวรรษ หลังตุลาคม 2516 จนพฤษภาประชาธรรม 2535 ในการดิ้นรนต่อสู้เพื่อเข้าร่วมส่วนใช้อำนาจรัฐบ้าง ขอมีอำนาจรัฐบ้าง
ปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในระยะผ่านอันยาวนาน แต่ระยะผ่านอันยาวนานของการเปลี่ยนอำนาจ ซึ่งคนสองกลุ่ม คือกลุ่มทุนใหญ่ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก และคนจนคนชายขอบ อันเป็นกลุ่มคนที่เกิดใหม่จากการพัฒนาเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ทุนนิยมใหม่ กำลังดิ้นรนต่อสู้ เพื่อเข้าร่วมส่วนใช้อำนาจรัฐบ้าง เช่นกัน
พวกเขาต้องการได้อำนาจรัฐมา ก็เพื่อใช้มันบริหารจัดการความเสี่ยงที่ควบมากับเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ด้วยตัวเอง เพราะพวกเขาได้รับบทเรียนอันเจ็บปวดหวาดเสียวจากวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ว่า การปล่อยให้ชนชั้นนำกลุ่มอื่น ไม่ว่านักเลือกตั้ง เทคโนแครต หรือข้าราชการ ไปบริหารจัดการเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์แทนพวกเขานั้น อาจทำให้พวกเขาถึงแก่ฉิบหาย ล้มละลาย สิ้นเนื้อประดาตัว หรือตกงานตกอาชีพ ขาดที่พึ่งยามป่วยไข้ ต้องเอาลูกออกจากโรงเรียน พาครอบครัวซมซานกลับชนบท หรือติดคุกติดตะราง ค้ายาบ้า
ในแง่นี้ ระบอบทักษิณ ก็คือการขึ้นชุดกุมอำนาจรัฐโดยตรงของกลุ่มทุนใหญ่ แล้วต่อท่อภาครัฐไปอุปถัมภ์คนจนคนชายขอบ ผ่านโครงการประชานิยมเอื้ออาทรต่างๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มันคือระบอบประชาธิปไตยอำนาจนิยม ภายใต้อำนาจนำของพรรคการเมืองกลุ่มทุนใหญ่ ที่มีคนจน คนชายขอบ เป็นฐานเสียงพันธมิตร
อำนาจแท้จริงของระบอบทักษิณ จึงประกอบไปด้วยอำนาจทุน บวกคะแนนเสียงข้างมาก ทว่า ในทางการเมืองดำเนินผิดพลาด ด้วยรวบอำนาจรวมศูนย์ ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน บริหารโลกาภิวัตน์ด้วยกลุ่มทุนพวกพ้องเส้นสายของระบอบทักษิณ
ห้า : รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเกิดขึ้นในลักษณะปฏิบัติการของแนวร่วม ระหว่างรัฐราชการ ได้แก่ ทหาร ตุลาการ คือทหารที่จงรักภักดี กับประชาสังคม ได้แก่ชนชั้นกลางและชนชั้นนำนอกรัฐบาลภายใต้แกนนำของทหาร เพื่อโค่นอำนาจการเมืองของกลุ่มทุนใหญ่
ปฏิบัติการทางการเมืองของคณะรัฐประหาร จนถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ก็คือแบบฝึกหัดวิศวกรรมทางการเมืองที่จะหลีกเลี่ยงระบอบทักษิณ ด้วยการตัดตอนกลุ่มทุนใหญ่ทางการเมือง ในระหว่างนำพาประเทศเดินหน้าต่อไป บนเส้นทางเศรษฐกิจสายโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ตามแผนปฏิรูปการเมือง 4 ขั้นตอนของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวคือ
หนึ่ง ยุบพรรคไทยรักไทย อันเป็นพรรคการเมืองกลุ่มทุนใหญ่ และศูนย์รวมเสียงข้างมากของคนจน คนชายขอบ สอง ดำเนินคดีการทุจริตคอรัปชั่น นำไปสู่การอายัดทรัพย์สินที่เป็นกำลังทุนในประเทศของกลุ่มทุนใหญ่ แกนนำพรรคไทยรักไทย โดย คตส. สาม พรรคแตก ส.ส.เริ่มกระจัดกระจาย แยกสลายกำลังนักเลือกตั้งมุ้งต่างๆ ออกไป สี่ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง เพื่อส่งต่อผ่องถ่ายอำนาจรัฐให้แก่พรรครัฐบาลใหม่ที่ไว้วางใจได้ ในความหมายพลเอกสนธิ ที่ต้องรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หมายถึงรักประเทศไทย รักสถาบัน ภายใต้การเตรียมการเลือกตั้งของรัฐบาล ที่มีตัวเองเป็นรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงมหาดไทย และกอ.รมน.แทนนายกรัฐมนตรี ตามมติครม.วันที่ 9 ตุลาคม 2550
รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ หรือชุดร่างกฎหมายเพื่อความมั่นคงของคณะรัฐประหารที่กำลังรอคิวออกตามมา ขัดต่อเงื่อนไขของความเป็นจริงจากแง่สัมพันธภาพทางอำนาจอย่างเก่าเคยเป็น โดยตัดตอน ลิดรอนช่องทางการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐ ผ่านการเข้าพรรคโดยการเลือกตั้งของกลุ่มทุนใหญ่กับคนจนคนชายขอบ
ภาพสะท้อนทั้งหมดนี้ ปรากฏว่า ขบวนการภาคประชาชนส่วนหนึ่งหันไปยอมรับการรัฐประหารเพื่อราชบัลลังค์ของ คปค. เพื่อก่อตั้งเผด็จการทุนนิยมในลักษณะที่มืดบอดต่อ และละทิ้งมิติภารกิจด้านต่อต้านรัฐราชการเผด็จการ หลับหูหลับตาต่อความเป็นจริงทุกด้านที่ว่า รัฐราชการเผด็จการ และชนชั้นนำศักดินา รับใช้และเกี่ยวพันกับทุนนิยมโลกาภิวัตน์มาทุกยุค เรียกร้องให้ใช้พระราชอำนาจ เปลี่ยนนายกฯ ในลักษณะสมบูรณาญาสิทธิ์เฉพาะกิจ ชักนำพาประชาชน ไปฟากพันธมิตรประชาชนเพื่อราชาธิปไตย ฉวยใช้ความเป็นวาทกรรมมรณะ เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพวกขวาจัด มาข่มขู่โจมตีผู้เห็นต่าง
ในทางกลับกัน ขบวนการต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการทหารบางส่วน ก็ยังเสนอระบอบประชาธิปไตยของปวงประชามหาชน เชิดชูโลกาภิวัตน์ บวกประชาธิปไตย บวกความเป็นธรรมทางสังคม ขึ้นมาเป็นธงชาติไทยสามผืนในกระแสโลกาภิวัตน์ แม้ขณะที่ต่อต้านคัดค้านศักดินา เน้นการเลือกตั้งเป็นสารัตถะของประชาธิปไตย ในทำนองรัฐเลือกตั้ง มืดบอดต่อ และละทิ้งมิติด้านภารกิจต่อต้านทุนนิยม
หลับหูหลับตาต่อความจริงอีกด้านที่ว่า ประชาธิปไตยของกลุ่มทุนใหญ่โลกาภิวัตน์นั้น เผด็จอำนาจ กดขี่ลิดรอนสิทธิประชาชน และพื้นฐานกลับตาลปัตรไตรลักษณ์ทางความคิดของ อ.ปรีดี พนมยงค์ เพราะ อ.ปรีดีนั้น ชาตินิยม มากับประชาธิปไตย และมากับสังคมนิยม แต่สำหรับกลุ่มนี้ โลกาภิวัตน์ มากับประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางสังคม
ในที่สุด สละละทิ้งพื้นที่ 'ชาติ' ให้อุดมการณ์ 'ราชาชาตินิยม' สละละทิ้งเวทีและวาทกรรมต่อต้านทุนนิยมให้กับวาทกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ในที่สุด การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยสามแนวทาง 75 ปีหลัง 2475 และ 34 ปีหลัง 2516 กระบวนการปฏิวัติกระฎุมพีไทยมาถึงทางแพร่ง ที่ตาบอดคนละข้าง แล้วแยกทางกันเดิน
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ การปฏิวัติกระฎุมพีไทยได้เปลี่ยนสีแปรธาตุจากเดิม แนวทางตุลาคมที่ต้านรัฐราชการเผด็จการและต้านอำนาจทุนไปพร้อมกัน มาเป็น หนึ่ง แนวทางพฤษภาคมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่ต้านรัฐราชการเผด็จการศักดินา กับแนวทางกันยายนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ต้านอำนาจทุนด้านเดียว
พื้นที่ประชาชน ความหวังอันริบหรี่
ถึงแม้ปัญหาที่เราเผชิญอยู่จะสลับซับซ้อน ถึงแม้มิติที่เราเผชิญอยู่จะใหญ่โตมโหฬาร แต่ผมยังอยากจะจบปาฐกถาในวันนี้ด้วยความหวังเล็กน้อย
มรดกที่เราได้รับตกทอดมาจากการเสียสละของวีรชน 14 ตุลา และมาถึงมือเรา คือสิ่งที่ผมเรียกว่า 'พื้นที่ประชาชน' มันเป็นพื้นที่ของสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค เป็นพื้นที่ของ เอกราช ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมทางสังคม เป็นพื้นที่ปลอด หรือพยายามจะต่อต้าน ทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุน และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ของภราดรภาพด้วย
หลังวีรชน 14 ตุลา ก็ยังมีผู้ต่อสู้ หรือผู้สละชีวิต เพื่อปกป้องพื้นที่เหล่านี้ไว้ไม่ขาดสาย เช่น วีรชน 6 ตุลา วีรชนพฤษภาประชาธรรม วีรชนผู้เสียสละในชนบทป่าเขา รวมมาถึง ทนายสมชาย นีละไพจิตร และลุงนวมทอง ไพรวัลย์
ผมคิดว่าความหวังน่าจะอยู่ตรงนี้
ถ้าท่าน ถ้าเรา สามารถหลั่งน้ำตาอาลัยรัก ให้กับทนายสมชาย นีละไพจิตร และลุงนวมทอง ไพรวัลย์
ถ้าท่าน และเรา สามารถคัดค้าน ทั้งการใช้อำนาจทุน คุกคามข่มเหงรังแกสิทธิประชาชนของผู้ต่อต้านรัฐบาลทักษิณ อย่างคุณสุภิญญา กลางรณรงค์
ถ้าเรา สามารถคัดค้าน ทั้งการใช้อำนาจรัฐคุกคามข่มเหงรังแกของผู้ต่อต้านรัฐประหาร อย่างคุณสมบัติ บุญงามอนรงค์ และคุณจรัล ดิษฐาอภิชัย
ถ้าเราทำเช่นนั้นได้ ผมคิดว่า เรามีความหวังที่จะรักษาพื้นที่ประชาชน อันเป็นมรดกของวีรชน 14 ตุลาต่อไปได้ ไม่ว่าเราจะแตกต่างกัน หรือไม่ว่าเราจะเห็นไม่ตรงกันก็ตาม
ปาฐกถา 31 ปี 6 ตุลา จอน อึ๊งภากรณ์ : “เราหวังว่า คนเดือนตุลา จะคงเส้นคงวาบ้าง”
รายงานปาฐกถา31 ปี 6 ตุลา ของ จอน อึ๊งภากรณ์ นี้นำมาจากเวปไซน์ประชาไท จากการที่เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 50 โครงการกำแพงประวัติศาสตร์ : ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับโครงการหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานรำลึก 31 ปี 6 ตุลาคม 2519 ณ สวนประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนายจอน อึ๊งภากรณ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "บทเรียน 6 ตุลา 2519 กับการปฏิรูปการเมืองไทย"
นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวว่า เขาไม่ใช่คนเดือนตุลา ในช่วงเกิดเหตุการณ์ไม่ว่าจะ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา ก็ไม่ได้เข้าร่วมในเหตุการณ์ ดังนั้น จึงอาจไม่ค่อยเหมาะเท่าไรในงานนี้
"ดังนั้น สิ่งที่ผมพูดในวันนี้ จะเป็นการพูดแบบไม่เกรงใจใคร คิดยังไงก็จะพูดแบบนั้น และก็เชื่อว่าหลายคนในนี้คงไม่เห็นด้วยกับผม ซึ่งนั่นก็เป็นสิทธิในระบอบประชาธิปไตย"
"ที่จริงๆ ไม่ชอบพูดปาฐกถาพิเศษ เพราะพูดคนเดียว คนที่ไม่เห็นด้วยแล้วอยากจะมาแย้งได้ยาก ผมไม่ชอบระบบที่มาพูดคนเดียวในตอนเช้า ไม่ว่าจะพูดคนเดียวในวันเสาร์ของคุณทักษิณ หรือของนายกฯ คนปัจจุบัน มันไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย" นายจอนกล่าว
เขาเล่าว่า แม้ว่าไม่ได้ร่วมในเหตุการณ์เดือนตุลา แต่เหตุการณ์เดือนตุลาก็มีผลกระทบชีวิตผมมากพอสมควร หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เขาได้สัมผัสความคิดสมัยใหม่ สมัยนั้นกระแสความคิดในหมู่นักศึกษาและอาจารย์คิดว่าต้องทบทวนหลักสูตรของมหาวิทยาลัยให้มีการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ทันสมัย แต่มาสมัยนี้ ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนที่มีแนวคิดเช่นนี้
จอนกล่าวว่า นอกจากเรื่องแนวคิดในการทบทวนหลักสูตรแล้ว ยังได้เจอแนวคิดสองแนวทางคือ แนวทางแรกคือ อุดมการณ์ประชาธิปไตย แนวทางที่สองคือ อุดมการณ์ด้านสังคมนิยม
"ผมคิดว่าถ้าเราจะพูดถึงแก่นของขบวนการ 14 ตุลา 2516 เราจะต้องเน้นในประวัติศาสตร์ว่ามีอุดมการณ์ 2 ส่วน คืออุดมการณ์ประชาธิปไตย และสังคมนิยม สำหรับผมนั้น ความคิดเรื่องประชาธิปไตย และสังคมนิยม ยังมีความหมายและความสำคัญอยู่ในสังคมยุคปัจจุบัน"
"สิ่งที่ผมสัมผัสหลัง 14 ตุลาคือ ได้เรียนรู้วิธีคิดนักศึกษา และได้รวมกลุ่มกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ร่วมงานกับอาจารย์มหาวิทยาลัย 6 สถาบัน และได้มีโอกาสเข้าไปดูงานในโรงงานฮาร่า ซึ่งมีการเรียกร้องของแรงงานหญิงที่เข้าไปยึดโรงงานแล้วเอาของมาขายที่ตรงนี้ (ชี้มือไปที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ก็ขายได้ ผมว่านั่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญอันหนึ่ง"
"ความคิดนักศึกษาตอนนั้นคือ ขอไปอยู่ชนบท ต้องพูดว่ากระแสความคิดตอนนั้น มาจากอิทธิพลของประธานเหมา (เหมาเจ๋อตุง) ผ่านพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ความคิดประธานเหมาในแง่ว่า ให้ปัญญาชนไปเรียนรู้ชีวิตกับผู ้ยากไร้ ชาวไร่ชาวนา ผมคิดว่าเป็นความคิดที่ดี เรามีอะไรหลายอย่างจากยุคนั้นมาใช้ในวันนี้ได้ แต่น่าเสียดายไม่มีใครประยุกต์ใช้"
"แม้เรื่องโรงงานฮาร่าที่ว่าคนงานไม่ควรเป็นแค่ลูกจ้างของนายทุน แต่ควรเป็นผู้ร่วมกิจการ มีส่วนในผลประโยชน์ของกิจการชัดเจน แนวคิดนี้ก็พบได้ในประเทศตะวันตกบางประเทศ เช่น เยอรมัน ผมคิดว่าเราก็มองอะไรจากฮาร่าได้ อย่ามองว่าเป็นเรื่องล้าสมัย"
"แต่ตอนนี้ อะไรๆ กลับตาลปัตร" นายจอนกล่าว
จอนเล่าถึงประเทศจีนที่เคยเข้าใจว่าน่าจะเป็นประเทศที่มีสวัสดิการสุขภาพฟรี แต่เมื่อทุกวันนี้ พบว่ามีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงมาก มีคนที่จนมาก สิ่งพื้นฐานต่างๆ ที่เคยเป็นสวัสดิการ มาวันนี้เก็บค่าใช้จ่ายทั้งหมด อาทิ ค่าเรียนหนังสือ ค่ารักษาพยาบาล เขากล่าวว่า จีนกลายเป็นประเทศที่ปฏิเสธแนวคิดดีๆ ของสังคมนิยมหมด
"ที่ผมคิดว่า ทุกอย่างมันกลับตาลปัตร ผมจำได้ว่า หลัง 6 ตุลา ตอนนั้นผมอยู่ต่างประเทศ ทำหน้าที่รณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมืองและเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย คุณสมัคร สุนทรเวช ไปอังกฤษแล้วพูดว่า เหตุการณ์ 6 ตุลานั้น ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแหล่งซ่อนอาวุธ เหตุการณ์ที่มีภาพถ่ายการแขวนคอ การฆ่าประชาชนที่สนามหลวง คุณสมัครบอกว่า ไม่ใช่ฝีมือคนไทย เป็นฝีมือคนญวน"
จอนกล่าวว่า นี่คือคนที่เป็นปรปักษ์กับเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ชัดเจน แต่ก็มาร่วมมือทางการเมืองกับคนเดือนตุลา
จอนเล่าว่า จากนั้น ในกรณีเหตุการณ์ที่ตากใบที่สื่อถูกปิดกั้น ไม่สามารถรายงานได้ จึงมีแต่ม้วนวิดีโอที่แจกไปทั่ว 'สุธรรม แสงประทุม' (อดีตคนเดือนตุลา และอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย) ก็บอกว่า นั่นเป็นของต้องห้าม พอได้เจอคุณสุธรรมอีกครั้ง จึงถามว่า แล้วภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา นี่ ห้ามแจกจ่ายไหม?
"อย่างน้อย เราอาจคาดหวังคน 14 ตุลา และ 6 ตุลา ว่าคงจะคงเส้นคงวาบ้าง แต่หลายคนก็เพี้ยนไปแล้ว นี่พูดตรงๆ ว่า เพี้ยนไปแล้ว"
"กระบวนการภาคประชาชนตั้งแต่ 14 ตุลา 6 ตุลา จนถึงพฤษภาโหด ผมคิดว่า กระบวนการภาคประชาชนโดยรวมคงเส้นคงวา ยังออกมาในลักษณะต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ เรียกร้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคม แต่ความแตกแยกเริ่มเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ"
"ตอนจุดเริ่มต้นของรัฐบาลทักษิณ ผมจำได้ว่ามีคนตื่นเต้นมากๆ คนหนึ่งคือ พิภพ ธงไชย (ที่ปรึกษาคณะกรรมการรณรงค์เพื่ ่อประชาธิปไตย- ครป. และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) ที่ตื่นเต้นมากว่ารัฐบาลนี้จะทำงานเพื่อประชาชน"
จอนกล่าวถึงโครงการเด่นของรัฐบาลทักษิณ คือเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่แท้จริงแล้ว มาจากการผลักดันของหมอก้าวหน้า คือ นพ.สงวน นิตยารัมพงษ์ ซึ่งก็เป็นคนเดือนตุลาที่ผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพ โดยเชื่อมกับภาคประชาชน 11 เครือข่าย ผ่านการร่วมกันล่าห้าหมื่นรายชื่อเสนอกฎหมายภาคประชาชน มิได้เริ่มมาจากรัฐบาลทักษิณ
"รัฐบาลทักษิณมีความสามารถมาก ต้องให้เครดิตหลายคนในเดือนตุลาที่มีความสามารถในการทำงานกับมวลชน การเริ่มต้นหลายอย่างเป็นการเริ่มต้นที่ดี เช่นเริ่มที่กินข้าวกับสมัชชาคนจน เราเห็นปรากฏการณ์น่าตื่นเต้นที่เห็นคนสองฝ่ายมาโต้กันออกทีวีเรื่องเปิดประตูเขื่อน แต่จากนั้นก็ไม่เกิดขึ้นอีกเลย"
นายจอนกล่าวว่า สิ่งที่ดีของพรรคไทยรักไทยคือ มีนโยบายที่ดี แล้วก็ปฏิบัติ ขณะที่พรรคอื่นไม่เคยทำอะไรให้ประชาชน เช่นพรรคประชาธิปัตย์ แต่หลายอย่างของไทยรักไทยก็ไม่ดี เช่นการยกเลิกเงินกู้เพื่อการศึกษาของคนยากจน เรื่องนี้เกิดขึ้นในยุครัฐบาลสุรยุทธ์เช่นกัน หรือพูดง่ายๆ คือ ไม่มีพรรคการเมืองไหนที่จริงใจกับประชาชน
เขากล่าวถึงการจัดการพรรคไทยรักไทยในทุกวันนี้ว่า ส่วนใหญ่จะพูดกันแต่เรื่องคอรัปชั่น ซึ่งนายจอนกล่าวว่า ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่เด่น เพราะเกิดกับทุกๆ รัฐบาล แต่ที่เด่นคือ คอรัปชั่นเชิงนโยบาย ซึ่งตรวจสอบได้ยาก และพูดตรงๆ ว่า ผมไม่เชื่อในคุณธรรม
"ผมคิดว่าคำว่า 'คุณธรรม' เป็นคำน่าอ้วก ที่เรียกร้องคนอื่น สิ่งที่เราเรียกร้องไม่ใช่เรื่องคุณธรรม แต่เป็นเรื่องจริยธรรมที่ต้องชัดเจนในการตรวจสอบผู้กระทำผิด แต่สังคมไทยมันไร้จริยธรรมหมดแล้ว ทุกอย่างมันซื้อได้ด้วยเงิน"
"รัฐบาลทักษิณ อาจดูเป็นรัฐบาลสมัยใหม่ แต่ใช้กลไกเก่าคือ ซื้อคน และใช้กลไกอุปถัมภ์ หลัง 19 กันยา กลไกอุปถัมภ์ก็ยังอยู่ แล้วคนจำนวนมากไปร่วม ขณะที่รัฐบาลทักษิณทำลายระบบตรวจสอบ ก็เกิดกระบวนการล้มรัฐบาลทักษิณ นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตรงนี้ล่ะ ที่เริ่มเกิดรอยร้าวในภาคประชาชน"
"ผมมีคำถามว่า ทำไมคนเดือนตุลา จึงอยู่กับรัฐบาลทักษิณมาตลอด เขาฆ่าคนในเหตุการณ์ฆ่าตัดตอน ฆ่าคุณสมชาย นีละไพจิตร ฆ่าคนที่ภาคใต้ แต่คนเดือนตุลาก็ยังทำงานก ับเขาต่อ ส่วนใหญ่เมื่อถามว่าทำไมถึงอยู่ต่อ ก็จะได้คำตอบว่า ถ้าเขาไม่อยู่ตรงนั้น เหตุการณ์จะยิ่งเลวร้าย คนอย่างเนวิน (ชิดชอบ) และยุทธ์ ตู้เย็น (ยงยุทธ์ ติยะไพรัช) ก็จะขึ้นมา"
เขากล่าวว่า คนก็จะตอบแบบเดียวกันว่า ถ้าไม่อยู่กับ คมช. ก็จะเลวร้ายกว่านี้ นักวิชาการจำนวนมากจึงไปอยู่กับ คมช. การที่เสือสิงห์กระทิงแรดไปรวมอยู่ด้วยกันได้ การผลักดันกระบวนการมาตรา 7 การแก้สถานการณ์โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งข้อเท็จจริงนั้น ก็เข้าใจว่าคนธรรมดาไม่สามารถเอาทักษิณออกได้ จนเกิดกระบวนการอย่างที่ผ่านมา
นายจอนกล่าวว่า ผมเองก็ไม่ได้บริสุทธิ์ในเรื่องนี้ เพราะก็รู้สึกโล่งใจเมื่อทักษิณออกไป คิดว่ารัฐบาลทักษิณอันตราย เพราะมาจากการเลือกตั้ง ได้รับความนิยม และมีความแนบเนียนในการจัดการปัญหา
เขากล่าวต่อว่า ทุกคนไม่มีใครคิดเลยว่า การแก้ปัญหาทักษิณ โดย คมช. ก็คือการกลั่นแกล้งจนเขาเป็นฮีโร่ ใครทำเขาเป็นฮีโร่ ก็คือ คมช. ทุกอย่างที่ทำกับเขา ไม่ชอบธรรม เช่นการถอนสิทธิ์ทางการเมืองของผู้บริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ก็ไม่ชอบธรรม
"หลังเลือกตั้ง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ล่าหนึ่งหมื่นรายชื่อเพื่อยกเลิกประกาศ คมช.ทุกฉบับ" นายจอนกล่าว
"แทนที่จะเกิดรัฐประหาร ผมเชื่อว่าถ้าประชาชนต่อสู้กับทักษิณไปเรื่อยๆ เชื่อว่า ถ้ามีเลือกตั้งอีกครั้ง แม้จะได้รับเลือก แต่คะแนนจะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน การแก้ปัญหา มันแก้ด้วยการรัฐประหารไม่ได้ มันแก้ได้ด้วยประชาธิปไตย"
"แต่แม้แต่ผู้นำพันธมิตรก็มีค่ายแล้ว จึงต้องสนับสนุนรัฐธรรมนูญเฮงซวย ใจเขาไม่ได้สนับสนุนหรอก แต่เขามีค่ายแล้ว ต้องบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้สวนทางกับประชาธิปไตย ไม่ไว้ใจประชาชน ต่อไปตำแหน่งตุลาการจะมีราคาสูงสุด แล้วอย่าคิดว่าซื้อไม่ได้ คดีซุกหุ้นก็ซื้อมาแล้ว"
"สิ่งเลวร้ายที่รัฐบาลทักษิณทำ คมช.ก็ทำ จำได้ไหมว่าทักษิณชอบย้ายผู้ว่าฯ ในพื้นที่ที่เสียงไทยรักไทยไม่ขึ้น คมช.ก็ย้ายผู้ว่าฯ ในพื้นที่ที่ไม่รับรัฐธรรมนูญ"
นายจอน สรุปว่า เราอยู่ในวิกฤตสามวิกฤต คือ วิกฤตการเมือง วิกฤตการศึกษา ที่มุ่งผลิตมนุษย์ออกมาทำงานเฉพาะด้านในอาชีพต่างๆ แต่ไม่มีส่วนร่วมกับสังคม และวิกฤตสื่อ ที่สื่อไม่ยอมเป็นอิสระเสียที
จอนกล่าวว่า ภาคประชาชนต้องเป็นตัวของตัวเอง และอุดมการณ์เดือนตุลามีความหมาย มาก คืออุดมการณ์ประชาธิปไตย และอุดมการณ์สังคมนิยม
ทั้งนี้ สิ่งที่เราต้องร่วมกันต่อสู้คือ
หนึ่ง ทำให้เกิดประชาธิปไตยแบบรากหญ้า ไม่ใช่แค่สิทธิของชุมชนที่จะไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง แต่เราต้องคิดเรื่องสิทธิชุมชนในการกระจายทรัพยากร และสังคมไทยต้องเลิกเป็นอาณานิคมจากกรุงเทพฯ
สอง ทำให้เกิดระบบรัฐสวัสดิการ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะสร้างความเป็นธรรมในสังคมได้ ซึ่งไม่ต้องถามว่าเงินจะมาจากไหน เพราะต้องเก็บภาษีประชาชน เพื่อสวัสดิการด้านต่างๆ อาทิ การศึกษาเรียนฟรี ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกด้าน ไม่เฉพาะแค่ค่าเรียน มีหลักประกันสุขภาพ ที่แม้มีอยู่แล้ว แต่ต้องพัฒนาคุณภาพถึงในจุดที่คนชนชั้นกลางยอมมาใช้บริการ ประชาชนทุกคนต้องได้รับบำนาญ ต้องมีการปฏิรูปที่อยู่อาศัย รวมถึงต้องมีหลักประกันการมีงานทำ หรือที่ อ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เคยเสนอว่าต้องมีหลักประกันรายได้ขั้นต่ำ
สาม ต้องปรับปรุงโครงสร้าง ได้แก่ โครงสร้างสถาบัน หน่วยงานภาคประชาชน โดยเฉพาะระบบสหภาพแรงงาน ซึ่งแบบที่เป็นอยู่นั้น ทำให้คนแตกแยก จะต้องสร้างระบบสหภาพที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ นอกจากนี้ ยังต้องปฏิรูปการศึกษาและสื่ออย่างจริงจัง โดยเฉพาะสื่อภาคประชาชน
ทั้งหมดนี้ คือวาระภาคประชาชนที่เชื่อในอุดมการณ์เดือนตุลา และเชื่อในสังคมที่เป็นธรรม
ก่อนจบปาฐกถา จอน อึ๊งภากรณ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ความจริงแล้วต้องมีพรรคการเมืองภาคประชาชน คือไม่มีนายทุน แต่เรื่องนี้ ต้องเริ่มและใช้เวลา ไม่สามารถใช้เวลาเพียงข้ามคืนได้
วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ตัดสินใจด้วยกัน : พลังของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ
ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดีในพื้นที่สาธารณะนี้ยังไงก็ขอถือโอกาสเอาบทความ "ตัดสินใจด้วยกัน : พลังของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ Public Deliberation: การร่วมหารือเพื่อการตัดสินใจ" เพื่อเป็นแนวทางจุดประกายด้วยวิถีที่เป็นเป้าหมายไปในตัวครับ โดยบทความดังกล่าวนำมาจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทั้งนี้ทางบรรณาธิการเวปไซน์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกล่าวไว้เกี่ยวกับบทความนี้ว่า บทความแปลชิ้นนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้แปล เดิมชื่อตัดสินใจด้วยกัน : พลังของการใช้วิจารณญาณสาธารณะMaking choices together: The Power of Public Deliberation เขียนโดย : Kettering Foundation - แปลโดย : พิกุล สิทธิประเสริฐกุลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหารือสาธารณะ เพื่อแสวงหาฉันทามติบนทางเลือกต่างๆ อย่างใช้วิจาณญาน
โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริง คุณค่า และผลที่จะตามมาในการตัดสินใจ โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
1. คนที่ใช้วิจารณญาณสาธารณะ
2. ประวัติของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ
3. ทำไมต้องใช้วิจารณญาณ
4. อะไรคือ การใช้วิจารณญาณสาธารณะและมันต่างกันอย่างไร
5. อะไรคือผลผลิตของการใช้วิจารณญาณ
6. เราทำอะไรได้บ้างจากผลผลิตของการใช้วิจารณญาณ
7. การใช้วิจารณญาณจะเปลี่ยนความคิดเห็นของเราที่มีต่อความคิดเห็นของคนอื่น
8. กรณีที่จะใช้วิจารณญาณสาธารณะ
9. การใช้วิจารณญาณเพิ่มความสามารถของชุมชนในการกระทำการร่วมกัน
10. การเป็น ผู้ดำเนินการประชุม สำหรับการใช้วิจารณญาณ
11. การจัดเวทีพูดคุย
บทความนี้เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ตัดสินใจด้วยกัน : พลังของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ
Public Deliberation: การร่วมหารือเพื่อการตัดสินใจ
พิกุล สิทธิประเสริฐกุล : แปล
โครงการชีวิตสาธารณะและเมืองน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
1. คนที่ใช้วิจารณญาณสาธารณะ
เด็กวัยรุ่นทั่วอเมริกากำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ถูกไล่ออกจากโรงเรียน เดินไปมาตามถนนโดยไม่มีอะไรทำ นอกจากหาเรื่องใส่ตัว แต่ที่ Birmingham รัฐ Alabama เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ที่คนที่นั่นได้ทำมากไปกว่าการนั่งวิตกกังวลและบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้. แต่ละปี มีนักเรียนช่วงอายุ 11 - 15 ปี ถูกไล่ออกจากโรงเรียน เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีทำร้ายร่างกาย และคดีที่เกี่ยวข้องกับปืน, มีด หรืออาวุธอื่นๆ ที่ดีที่สุดที่เด็กพวกนี้จะทำได้ คือ การกลับเข้าโรงเรียนใหม่ในเทอมหน้า โดยถูกตราหน้าว่าเป็น "ตัวสร้างปัญหา" และต้องเรียนซ้ำชั้น
เมื่อ Peggy F. Sparks ผู้อำนวยแผนกการศึกษาชุมชน ของโรงเรียนใน Birmingham ตั้งคำถามว่า "คุณจะทำอะไรกับเด็กเหล่านั้นได้บ้าง?" เพื่อหาคำตอบสำหรับปัญหานี้ Spark ได้จัดให้มีเวทีพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่ของเมือง และเจ้าหน้าที่จากองค์กรเยาวชนมาร่วมเป็นผู้ดำเนินการประชุมและทำหน้าที่บันทึกรายงาน ซึ่งเป็นบทบาทที่ทำให้คนเหล่านี้ได้เข้าร่วม แต่ไม่ทำให้การประชุมเป็นไปแค่การทำประชาพิจารณ์
ผู้ดำเนินการประชุม กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมทุกวัย ได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงแนวทางต่างๆ ที่จะใช้แก้ปัญหานี้ ไม่เพียงแค่ 1 หรือ 2 แนวทางเท่านั้น วัตถุประสงค์คือ สร้างข้อตกลงร่วมสำหรับการปฏิบัติการ (common ground for action) นั่นเอง. ทิศทางหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมพอใจคือ การทำโครงการ CARES - Comprehensive At Risk Education Services (ความห่วงกังวล-ความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงของบริการการศึกษา) ดำเนินการโดยกลุ่มวัยรุ่นจากโรงเรียนมัธยม 8 แห่ง จำนวน 350 คน ทำหน้าที่เป็นที่สภาปรึกษา และมีการประชุมทุกสัปดาห์
โครงการอื่นๆ ที่เกิดจากเวทีหารือนี้ คือ โครงการจ้างงานวัยรุ่น และแคมป์ Birmingham ที่ดำเนินการโดยวัยรุ่น สำหรับเยาวชนรายได้น้อย. อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จสูงสุดของ CARES คือ การให้โอกาสเยาวชนได้เรียนรู้ในการหาทางเลือกสำหรับเรื่องยากๆ ร่วมกัน โครงการนี้ทำให้ Spark เข้าใจมุมมองของเยาวชนต่อปัญหาของพวกเขามากขึ้น และช่วยให้เธอและแผนกของเธอรู้ว่าจะทำให้เยาวชนเหล่านั้น เข้าร่วมในการแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างไร
กรณีตัวอย่าง 1
สำหรับคนส่วนใหญ่ เป็นการขอที่ธรรมดามาก เมื่อเด็กหญิงอายุ 3 ขวบขอให้พ่อของเธออ่านหนังสือให้ฟัง แต่เมื่อ Walter Miles พยายามแกล้งทำเป็นอ่านนิทานเรื่องนั้น ลูกสาวของเขารู้ว่ามันไม่ใช่เนื้อหาอย่างที่เธอเคยได้ยิน และนั่นทำให้เขาตัดสินใจว่าจะต้องเรียนรู้การอ่านหนังสือให้ได้
ช่างเครื่องยนต์อายุ 41 ปี เข้าร่วมโครงการรู้หนังสือที่ San Francisco ที่ซึ่งเขาไม่เพียงเรียนการอ่านหนังสือ แต่ยังเรียนรู้ในการเข้าร่วมกับคนข้างเวที ตามภาษาของเขาโดยการช่วยเหลือของครู เขาได้อ่านหนังสือชุดสั้นๆ เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ เช่น เสรีภาพในการพูด และค่ารักษาพยาบาลราคาแพง หลังจากนั้น เขาเข้าร่วมเวทีพูดคุยแบบที่ใช้วิจารณญาณสาธารณะซึ่งจัดโดยสภาผู้รู้หนังสือ เพื่อพยายามตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ร่วมกับผู้อื่น
ตอนแรกเขาเพียงแต่ฟังการพูดคุยเท่านั้น ต่อมาเขาถามตัวเองว่า "เราจะเข้าร่วมเกี่ยวข้องด้วย หรือจะไม่ยุ่งกับมันดี" เพราะหลายปีมาแล้วที่เขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาต้องทำคือ แค่ดูแลมุมเล็กๆ ที่เขาอยู่ให้ดี แต่เมื่อเขาได้เริ่มพูดเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ "เสรีภาพในการพูดหมายความว่าอะไร" เขาพบว่า การเก็บความคิดเห็นไว้กับตัวเอง ทำให้เขาเจ็บปวดมากกว่าที่คิด. "ฉันตัดสินใจว่า โลกของฉันจะสงบสุข และไม่ถูกรบกวนได้อย่างไร ถ้าส่วนที่เหลือไม่สงบสุข ฉันจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนข้างเวทีเหล่านี้"
ทุกวันนี้ Miles ได้เข้าร่วมอย่างแข็งขันกับโครงการ Key to Community ซึ่งกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวเข้าร่วมการเลือกตั้ง. "พวกเขาบอกฉันว่าเป็นการเสียเวลาเปล่าๆ ที่จะไปลงคะแนน… ทำไมจะต้องไปยุ่งด้วยล่ะ? ฉันบอกพวกเขาว่าฉันก็รู้สึกเช่นเดียวกัน แล้วเล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ฟัง รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าการเลือกทางเลือกวันนี้ ทำให้เกิดผลในอนาคตได้อย่างไร และโดยการไม่เข้าร่วมในวันนี้ จะทำให้พวกเราต้องเสียใจในอีก 10 ปีข้างหน้า ฉันไม่ตระหนักถึงความจริงนี้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับฉัน จนอายุเข้า 30 ปี"
แม้ว่า Miles จะมีอารมณ์ขันในการเล่าถึงการต่อสู้ของเขา ดูเหมือนว่าเขากำลังทำเพื่อชดเชยกับเวลาที่เสียไป และใช้โครงการนี้ช่วยให้คนอื่นๆ ไม่ให้ผิดพลาดเหมือนกับที่เขาเป็น (คือไม่สนใจเรื่องบ้านเมือง) มีคนไม่มากนักที่รณรงค์เรื่องการออกมาเลือกตั้ง โดยใช้แนวทางวิจารณญาณสาธารณะ แต่ Miles ก็ทำ เพราะเห็นว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะ เปิดประตูให้กับชีวิตสาธารณะ
กรณีตัวอย่าง 2
ทุกคนในเวทีพูดคุยที่ Grand Rapids รู้เรื่องเด็กฆาตกรรมเด็ก ในเวทีนั้นมีหญิงคนหนึ่งเสียลูกชาย 2 คน ไปกับความรุนแรงที่ไร้สาระ คนหนึ่งถูกฆ่าตายในอพาร์ทเมนท์ของเขาเอง อีกคนถูกฆ่าขณะยืนอยู่ที่ตู้โทรศัพท์ เธอนั่งฟังอย่างเงียบขณะที่คนอื่นๆ กำลังหารือกันว่าจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อหยุดยั้งความรุนแรงในหมู่วัยรุ่นนี้ จนกระทั่งตอนท้ายของเวทีพูดคุย เธอพูดขึ้นอย่างนุ่มนวล แต่เป็นการสรุปสาระของการประชุมว่า "เราต้องทำอะไรบางอย่าง เราต้องร่วมกันหยุดยั้งความรุนแรงนี้"
หลายสัปดาห์ต่อมา คนที่รู้เรื่องของเธออาจจำเธอได้ในหน้าหนังสือพิมพ์ เธอได้เข้าร่วมงานกับเทศมนตรี เป็นผู้นำในการรณรงค์ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้สาธารณะยินยอมจ่ายภาษีเพิ่ม เพื่อจ้างตำรวจเพิ่มอีก 95 คน สำหรับการตรวจตราความสงบของเมือง
เรื่องราวเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การใช้วิจารณญาณสามารถทำให้คนเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาได้มากขึ้น เพราะพวกเขารวมพลังกันเพื่อนำไปสู่ความริเริ่มใหม่ๆ ของสาธารณะ พวกเขาบอกเล่าถึงผลจำนวนหนึ่งที่ได้จากการใช้วิจารณญาณ แต่ไม่ได้ลงลึกในสาระสำคัญของมัน ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยโครงการใหม่ๆ หรือการออกเสียงเพื่อเก็บภาษีเพิ่ม
เรื่องเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้วิจารณญาณ นานเป็นสิบปีที่ Grand Rapids ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการแก้ปัญหาของชุมชน เรื่องราวในที่อื่นๆ อาจไม่ชัดเจนนัก ที่ประชาชนเข้ามาร่วมรับผิดชอบมากขึ้นในการหยุดยั้งปัญหาความรุนแรง แต่เรื่องราวบางเรื่อง อาจจะยังไม่สามารถเล่าสู่กันฟังได้ จนกว่าวัยรุ่นที่ Birmingham โตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ดังเช่นที่ Walter Miles ที่เห็นศักยภาพของตัวเอง ที่จะลงมือปฏิบัติการในเรื่องส่วนรวมได้ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้เข้าร่วมโครงการต่างๆ เท่านั้น
เราสามารถเขียนเรื่องราวเหล่านี้ได้ ถ้าเราพอจะเข้าใจว่าการใช้วิจารณญาณ คือ อะไร และรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งทางเลือกร่วมกัน และนี่คือจุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ กล่าวสั้นๆ ว่า การใช้วิจารณญาณ ไม่ใช่แค่เป็นการอภิปรายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจร่วมกัน แต่เป็นวิธีการตัดสินใจที่ทำให้เราลงมือกระทำการร่วมกันได้ โดยจะถูกท้าทายให้เผชิญกับสิ่งที่ต้องแลกและผลพวงที่ไม่น่าพึงพอใจจากทางเลือกอื่นๆ และการทำงานเพื่อก้าวผ่านประเด็นที่อ่อนไหวนั้นด้วยกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของสาธารณะ
2. ประวัติของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ
ผลของการใช้วิจารณญาณไม่ใช่จะชัดเจนเหมือนเรื่องที่เล่ามาทุกครั้งไป บางคนกล่าวว่า ประโยชน์สูงสุดของการทำ "การใช้วิจารณญาณ" คือ การมีเวทีการประชุม ที่จะช่วยให้คนได้จัดการกับประเด็นที่เป็นนโยบายสาธารณะที่ซับซ้อน หรือเพื่อให้เข้าใจมุมมองที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำกิจกรรมบางอย่าง บางคนอาจกล่าวว่า การมีส่วนร่วมทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนมากขึ้น เต็มใจที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมของพลเมืองมากขึ้น และบางคนกล่าวว่าหลังจากการหารือในเวทีซ้ำกันหลายครั้ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาของชุมชน การใช้วิจารณญาณซ้ำๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคน เกิดความเชื่อมั่น และในที่สุดสามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนได้
คนอเมริกันที่มีการใช้วิจารณญาณอยู่ทุกวันนี้ มีรากลึกมาจากแนวทางการปฏิบัติทางการเมืองที่เก่าแก่และมีลักษณะเฉพาะที่สุด ความจริงอาจกล่าวได้ว่า การใช้วิจารณญาณสาธารณะ คือ แรงผลักสำคัญในการสร้างประเทศนี้ขึ้นมา เวทีการใช้วิจารณญาณที่เรียกว่าการประชุมของเมือง เริ่มมีมามากกว่า 100 ปีที่แล้ว ก่อนการปฏิวัติและก่อนการสร้างประเทศ
ประชาธิปไตยของอเมริกาเกิดในช่วงปี 1730 ที่เมือง Dorchester รัฐ Massachusetts ที่นั่นมีทุ่งหญ้าแห่งหนึ่งที่ลาดลงสู่อ่าว ทำให้เมืองนี้เป็นที่ที่วิเศษสุด สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ แต่ฝูงสัตว์กลับหนีออกนอกรั้ว ซึ่งทำให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ
1) จะปกป้องฝูงปศุสัตว์เหล่านั้นได้อย่างไร และ
2) จะตัดสินใจเลือกวิธีที่จะปกป้องได้อย่างไร
เมืองนี้ไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นที่จะจัดการกับปัญหาแบบนี้ ไม่มีแม้เวทีที่จะหารือกันในเรื่องสาธารณะ ที่เดียวที่คนมาชุมนุมกัน คือ ที่โบสถ์ในวันอาทิตย์ ซึ่งไม่ใช่ที่ที่จะมาหารือกันในเรื่องแบบนี้. น่าเสียดายที่ไม่มีการบันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ให้เป็นหลักฐาน แต่เรารู้ว่า John Maverick และผู้นำชุมชนคนอื่นๆ ได้มาหารือกันเรื่องประชาธิปไตยของอเมริกา เราสามารถจินตนาการได้ว่า Maverick และผู้นำคนอื่นๆ พูดว่า "เรามีปัญหา เราต้องหารือกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ เอาเป็นว่ามาคุยกันวันจันทร์นี้เถอะ"
ที่โรงเรียน เราถูกสอนให้รู้จักคำที่น่าตื่นเต้น เช่น "ให้เสรีภาพแก่ฉัน หรือไม่ก็ความตาย" แต่กลับไม่มีใครให้ความสำคัญของการพูดว่า "เรามีปัญหา มาหารือกันเถอะ" ซึ่งควรสงวนไว้ให้เป็นสุนทรพจน์ชั้นเลิศของอเมริกา เพราะคนอเมริกันเกือบทุกคนเคยได้ยิน และได้พูดคำนี้ออกมาไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง. เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการประชุมครั้งแรกของเมือง ทำให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมือง นั่นคือ คนในสมัยอาณานิคมได้เริ่มมีการพบปะกันทุกเดือน ไม่เพียงแค่เมื่อปศุสัตว์ออกนอกรั้วเท่านั้น
การพบปะกันของคนที่เมือง Dorchester นี้ นำไปสู่การสร้างประเทศ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานของระบบการเมืองของอเมริกา นั่นคือ การประชุมของเมือง. แต่การประชุมของเมืองในสมัยแรกๆ ไม่เหมือนกันเลยกับการประชุมเมืองในยุคปัจจุบัน ที่เจ้าหน้าที่เป็นฝ่ายพูด และบางครั้งตอบคำถาม เพราะการประชุมเมืองในสมัยนั้น เป็นโอกาสที่คนในเมืองจะได้สะท้อนหรือทบทวนและพิจารณาอย่างมีวุฒิภาวะถึงเรื่องราวต่างๆ
ชาวอาณานิคมในสมัยนั้น เลือกที่จะไม่รับเอารูปแบบการปกครองของอังกฤษ แต่กลับบริหารเมืองโดยการประชุมของเมือง การประชุมนี้ไม่ได้มีอำนาจในตัวเอง แต่เป็นอำนาจที่มาจากการตัดสินใจร่วมกันของคนในเมือง ที่จะกระทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน ซึ่งเป็นความผูกพันให้ชาวอาณานิคมอยู่ด้วยกัน และเป็นรากฐานสำหรับความมุ่งมั่น และพากเพียรของพวกเขา
พลเมืองและองค์กรสาธารณะเหล่านี้ ดำเนินการต่อไปตลอดช่วงการปฏิวัติ และการสร้างประเทศ ในสมัยนั้น เกิดการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระหว่างเมืองที่เป็นอาณานิคมต่างๆ เพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง เครือข่ายนี้ตั้งขึ้นในปี 1772 โดย Samuel Adams ได้ตั้งคณะกรรมการ 21 คน เป็น "committee of correspondence" ในการสร้างพันธะกับเมืองอื่นๆ และเพื่อชี้แจงสถานภาพของอเมริกาต่อประชาคมโลก. ภายใน 15 เดือน เมืองอาณานิคมทุกเมือง ยกเว้น 2 เมือง ได้ก่อตั้ง"committee of correspondence" ของเมืองตัวเองขึ้นมา ซึ่งทำให้ประเพณีการหารือกันในแต่ละเมืองยิ่งมีมากขึ้น และการที่ให้เมืองเล็กๆ ได้มีส่วนในการกำหนดร่วมกัน ทำให้เกิดแบบอย่างของกระบวนการทางการเมืองที่มีพลัง
เมื่อถึงเวลาของการปฏิวัติอเมริกา สาธารณะเริ่มสนใจต่อคำถามว่า สงครามเพื่ออิสรภาพนี้จะสำเร็จหรือไม่ ในการต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่ามหาอำนาจของโลก Samuel Adams จากเมือง Braintree รัฐ Massachusetts ทำหน้าที่ยื่นข้อเสนอเพื่อประกาศเสรีภาพ ความเชื่อของ Adams เรื่องการประกาศอิสรภาพนี้ มีรากฐานจากสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากผู้คนและพลังที่ได้จากในเวทีสาธารณะ ต่อคำถามถึงความกลัวที่จะล้มเหลวในการปฏิวัตินี้ เขาตอบว่า "แต่เราจะไม่ล้มเหลว หลักการที่เรากำลังต่อสู้เพื่อการปฏิวัตินี้ จะทำให้มีทหารเข้าร่วมรบกับเรา หากเราจริงใจกับประชาชน พวกเขาจะนำพาเรา จะนำพาพวกเขาเอง สู่ความรุ่งโรจน์ของการต่อสู้ครั้งนี้ ฉันไม่สนใจว่าใครจะเคยพบกับความเอาแน่ไม่ได้ของคนอื่นๆ แต่ฉันรู้จักคนของเราดี"
การประชุมของเมืองกระตุ้นให้ Thomas Jefferson ประกาศว่า "ความแข็งขันที่เกิดขึ้นในขบวนการปฏิวัติของเรานี้คือ การเริ่มต้นที่มีรากฐานมาจากสาธารณรัฐน้อยๆ แห่งนี้" เขาเชื่อว่าสาธารณรัฐแห่งนี้ ได้ทำให้ทั้งชาติมีการกระทำที่มีพลัง การพูดคุยกันของเมืองได้ให้เวลาที่เราต้องการสำหรับการสะท้อน (reflection) และการพิจารณาเรื่องต่างๆ อย่างใช้วิจารณญาณ ดังที่ John Adam ได้บอกแก่ภรรยาของเขาว่า "เป็นสิ่งจำเป็นในการเป็นยาแก้สำหรับการกระทำการที่รีบเร่ง" (ซึ่งอาจล้มเหลวได้)
ความเข้มแข็งของการประชุมของเมือง กลายมาเป็นความเข้มแข็งของรัฐธรรมนูญของอเมริกา แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้กล่าวว่าสาธารณะจะแสดงตัวเองได้อย่างไร (นอกจากโดยการลงคะแนนเสียง) Thomas Jefferson มีความละเอียดอ่อนต่อการละไว้ไม่กล่าวถึงในประเด็นนี้ จึงกระตุ้นให้มีการประชุมของเมืองผ่านระบบที่เขาเรียกว่า "Ward system" เขาเข้าใจว่าหากไม่มีสถานที่สำหรับให้สาธารณะระบุสิ่งที่พวกเขาสนใจ หรือได้สร้างเสียงของตัวเองขึ้นมา รัฐบาลจะไม่สามารถปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่า "Ward system" จะไม่ถูกนำมาปฏิบัติ แต่ การประชุมของเมืองกลายเป็นประเพณีทางการเมืองของอเมริกา
การใช้วิจารณญาณสาธารณะ ยังคงดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในองค์การของภาคประชาชน และองค์กรทางการศึกษาที่จัดให้มีเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติ (National Issues Forums : NIF)
ตั้งแต่ปี 1982 ได้เกิดเวทีการใช้วิจารณญาณขึ้นในชุมชนทั่วทั้งอเมริกา ซึ่งเวทีนี้ ได้นำพลเมืองมาพิจารณา หารือกัน เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาเหล่านั้น. เวทีแบบที่ได้กล่าวมาแล้ว ที่ Bermingham, Sanfrancisco และ ที่ Grand Rapids เป็นการตอบสนองในระดับท้องถิ่น โดยเครือข่ายขององค์กร, กลุ่ม หรือศูนย์ต่างๆ ในท้องถิ่น
องค์กรเหล่านี้มักใช้ หนังสือประเด็นสาธารณะ (Issue books) ที่ Kettering Foundation และ Public Agenda ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่เป็นกลางได้จัดทำขึ้น หนังสือนี้รวบรวมประเด็นสำคัญต่างๆ จากทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ เช่น ประเด็นเกี่ยวกับ อาชญากรรม, การงาน, การดูแลสุขภาพ, สิ่งแวดล้อม และการศึกษา
หนังสือนี้ รายงานถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเวทีการใช้วิจารณญาณนับพันแห่ง เขียนถึงคำถามที่คนมักจะถามบ่อยที่สุด เมื่อตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมเวทีการใช้วิจารณญาณสาธารณะดีหรือไม่ เช่น ทำไมต้องใช้วิจารณญาณ และ วิจารณญาณสาธารณะ คืออะไร และมันแตกต่างกันอย่างไร? อะไรกันแน่ที่เกิดขึ้นในเวทีพูดคุยประเภทนี้ และ การใช้วิจารณญาณสาธารณะ ทำให้เกิดอะไรขึ้น และมันดีอย่างไร? และเราจะเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร? เป็นต้น
3. ทำไมต้องใช้วิจารณญาณ
ถ้าถามคนรุ่นเก่าของ Dorchester คำถามนี้ อาจตอบง่ายๆ ว่า "เพื่อแก้ปัญหา" ถ้าถามคำถามนี้จากประวัติศาสตร์ทั้งหมดของชาติ คำตอบอาจเป็นว่า การใช้วิจารณญาณ สร้างความเป็นสาธารณะให้กับประชาธิปไตยของอเมริกา และให้สาธารณะได้นิยาม ผลประโยชน์ของสาธารณะ แน่นอนว่ามันไม่มีที่สิ้นสุดของบทบาทของการใช้วิจารณญาณ
ถ้าถามคำถามนี้กับคนที่กำลังจะไปเข้าร่วมเวทีในวันนี้ คุณจะได้ฟังเหตุผลว่า เข้าร่วมเพื่อการพัฒนาของตัวเอง ไปจนถึงเข้าร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง. เหตุผลบางอย่างเป็นเรื่องส่วนตัว บางคนที่เข้าร่วมเวที ต้องการเรียนรู้ทักษะในการตัดสินใจแบบใหม่ ที่เขาสามารถใช้ได้ในฐานะพลเมือง เพื่อทำความเข้าใจกับประเด็นเหล่านั้นให้ดีขึ้น และเชื่อมโยงเข้ากับกระบวนการทางการเมือง หรือเพื่อรับรู้ความรู้สึกของการเป็นกลุ่มเป็นพวก พวกเขาเหนื่อยหน่ายกับการเฝ้ามองมาจากภายนอก
บางคนมีชุมชนอยู่ในใจ หรือมีบทบาทของสถาบันของเขาในชุมชน เขาอาจบอกว่า เขาต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างของภาคประชาสังคม (civic infrastructure) หรืออาจบอกว่า สถาบันของเขากำลังทำบทบาทตัวกระตุ้นในชุมชน โดยการจัดให้มีเวทีพูดคุยกัน หรือเขากำลังหาแนวทางการทำงานที่ดีกว่าให้กับองค์กร หรือสถาบันของเขา บางคนอาจเข้าร่วมเพราะสนใจในเรื่องสาธารณะ บางคนอาจเห็นว่าเวทีพูดคุยเป็นหนทางในการกระตุ้นคนให้มาทำงานเพื่อชุมชน
หลายคนอาจเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ดำเนินไปในชุมชน และการพูดคุยกันของผู้คนในชุมชน พวกเขาต้องการวิธีการพูดคุยที่แตกต่างกันออกไป เมื่อคนเราสามารถพูดกันได้ในระดับที่เท่ากัน แม้ว่าพวกเขาจะมาจากส่วนต่างๆ ของเมือง บางคนอาจบอกว่าเขาต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องเป็นศัตรูของใคร และเขาต้องการโอกาสในการได้ยินเสียงของคนอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงวิธีการพูดคุย จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ ซึ่งสะท้อนจากทัศนะเหล่านี้
- "สิ่งที่คุณต้องการ คือ คนงานแบบฉัน และพนักงานดับเพลิงจากที่โน่น มาพูดคุยเรื่องอาชญากรรมด้วยกัน และตระหนักว่าคนอื่นๆ ไม่ได้เลวนัก เราจะหารือกัน ทัศนะคติของทั้งกลุ่มก็จะดีขึ้น"
- "ยิ่งเราเข้ามาพูดคุยด้วยกันมากขึ้น เรายิ่งพบว่าเรามีอนาคต และชะตากรรมร่วมกัน"
- อีกความเห็นหนึ่ง คือ "เราต้องการการพูดคุยที่สอนให้เราเกิดการนับถือกันและกัน หรือเรากำลังหาหนทางในการจัดการกับความขัดแย้งด้วยกัน"
ผู้คนมักมาที่เวทีพูดคุยเพื่อหาแนวทางที่แตกต่างกัน ในการจัดการกับเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ในชุมชน พวกเขาพูดว่า "เราห่วงใยเรื่องที่ชุมชนไม่ได้เห็นเป็นประเด็นร่วมกัน เหนื่อยหน่ายกับการที่เห็นประเด็นต่างๆ ถูกตั้งขึ้นอย่างแยกส่วน เราต้องการเห็นสุนทรียสนทนา (dialogue) ที่จะช่วยเราให้จัดการกับปัญหาได้ดีขึ้น เราต้องการเข้าใจ "พื้นที่สีเทา" ของการก่อรูปของปัญหา เราต้องการเปิดถนนสายใหม่สำหรับทำบางสิ่งบางอย่าง เราต้องการหนทางที่จะจินตนาการความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่คนจะกระทำได้ หรือเรากำลังมองหา จุดยืน ในการปฏิบัติการ"
ความสนใจในงานประชาสังคม ไม่ได้ทำให้หมดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับภาครัฐ เรามักพูดว่าเรากำลังมองหาวิธีที่ดีกว่าในการปกครอง หรือวิธีที่แตกต่างออกไปในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐ คนเรามักพูดว่า พวกเขาใช้วิจารณญาณเพราะต้องการสร้างเสียงที่แท้จริงจากสาธารณะขึ้นในชุมชน และต้องการให้เจ้าหน้าที่ได้ยินเสียงเหล่านี้
ไม่ใช่คนทุกคนจะเห็นว่าการใช้วิจารณญาณมีประโยชน์ บางคนอาจพบความคับข้องใจหลังจากการเข้าเวทีพูดคุย เพราะความคาดหวังของเขาไม่เป็นที่ยอมรับ เมื่อเขาคิดว่าควรถูกยอมรับ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เชื่อว่าประโยชน์จะเกิดแบบสะสม และจะโน้มน้าวให้ผลการหารือกันของสาธารณะมีอิทธิพลในที่สุด และพวกเขาต้องการสิ่งที่ยั่งยืน ไม่เพียงการทำให้ดีขึ้น นั่นคือ เขาต้องการการเมืองที่แตกต่างออกไป
แก่นของความคิดเห็นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ การที่คนเราเห็นปัญหาที่คิดว่าต้องมีคนมากขึ้นเข้าไปร่วมกระทำ และเขาต้องการเข้าไปมีอิทธิพลมากขึ้นในการกระทำของสาธารณะต่างๆ เขาเห็นการใช้วิจารณญาณเป็นก้าวแรก ก่อนที่คนเราจะกระทำอะไรร่วมกันในนามของสาธารณะ พวกเขาต้องตัดสินใจว่า "ทำอย่างไร" ร่วมกันก่อน
4. อะไรคือ การใช้วิจารณญาณสาธารณะและมันต่างกันอย่างไร
เพื่อเพิ่มโอกาสให้เห็นว่าการตัดสินใจของเรานั้นรอบคอบ เราจึงไม่เพียงแค่ส่งเสียงพูดออกไป เพื่อโต้แย้งถึงทางแก้ปัญหา หรือทำความกระจ่างให้กับสิ่งที่เราเห็นเป็นคุณค่า เรายังต้องพิจารณาทางเลือกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องพิจารณาถึงข้อดี - ข้อเสีย ของแต่ละทางเลือก นี่คือ การกล่าวถึง การใช้วิจารณญาณอย่างย่อๆ การใช้วิจารณญาณช่วยให้เรารู้ว่าการตัดสินใจของเรานั้นเหมาะสมหรือไม่ ช่วยให้เราตัดสินใจว่า เราจะเต็มใจรับเอาผลที่ตามมาของการกระทำที่เรากำลังจะเลือกหรือไม่
การอภิปรายทางการเมืองส่วนใหญ่ มักเป็นการโต้เถียงเรื่องราวที่เป็นข่าว ทำให้การเมืองกลายเป็นการต่อสู้แข่งขันที่ไม่มีวันจบ ผู้คนถูกกวาดไปเข้าข้างไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง พลังงานทั้งหมดถูกใช้ไปกับการเลือกว่าจะเข้าข้างหรือต่อต้าน "ใคร" หรือ "เรื่องใด" ดี
การใช้วิจารณญาณนั้นแตกต่างกัน มันไม่ใช่ทั้งการโต้แย้งที่สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยพยายามจะเอาชนะฝ่ายตรงข้าม หรือการสนทนาทั่วไปในวงสนทนาแสนสุภาพทั้งหลาย แต่การใช้วิจารณญาณสาธารณะหมายถึง การที่พลเมืองได้เลือกทางเลือกเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นคุณค่าพื้นฐาน และทิศทางสำหรับชุมชนและประเทศของเขา มันเป็นหนทางของการใช้เหตุและผล และการพิจารณาใคร่ครวญร่วมกัน
เวทีการใช้วิจารณญาณในประเด็นสาธารณะระดับชาติ เป็นการสนทนาที่มีโครงสร้าง ที่ก่อรูปขึ้นมาจาก 3-4 ทางเลือก สำหรับใช้พิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่มีแค่ 2 ทางเลือกที่เป็นคนละขั้วกัน การหารือโดยการสร้างกรอบของประเด็นทำนองนี้ ทำให้ลดการพูดคุยโดยทั่วไป ที่คนมักจะด่าว่ากันและกันด้วยการโต้เถียงแบบทั่วๆ ไป
4.1 การใช้วิจารณญาณ คือ การสนทนาเพื่อการหาทางเลือก ไม่ใช่การโต้เถียงเพื่อเอาชนะ
การใช้วิจารณญาณ คือ การหาน้ำหนักของผลที่จะเกิดตามมา และค่าใช้จ่ายของทางเลือกหลายๆ ทางบนพื้นฐานของสิ่งที่มีคุณค่าจริงๆ สำหรับเรา คิดถึงวิธีการที่คนใช้ชั่งน้ำหนักทองในสมัยก่อน ผลที่ตามมาแต่ละอย่างจะมีผลต่อตาชั่งมากน้อยแค่ไหน อะไร คือ ค่าใช้จ่ายในการทำสิ่งที่เราต้องการทำ การตอบคำถามเหล่านี้ ต้องการ "การสนทนา" ที่ทำให้เราได้ค้นคว้าและทดสอบความคิดว่าเราจะกระทำการในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไร
การใช้วิจารณญาณ จะเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักความคิดเห็นของคนอื่น การรับฟังอย่างระมัดระวัง จะเพิ่มโอกาสที่ผู้อื่นจะรับฟังทางเลือกของเรา เพราะคนจำนวนมากได้นำประสบการณ์และความรู้มารวมกัน. ไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง หรือคนกลุ่มเล็กๆ ที่จะมีประสบการณ์และความรู้ที่ต้องการมาตัดสินใจว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด. นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงจำเป็นต้องมีการรวมเอากลุ่มคน เพื่อรวบรวมเอามุมมองที่หลากหลายในการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ขณะที่เรายังไม่รู้แน่นอนว่าเราตัดสินใจถูกหรือไม่ จนกว่าเราจะได้ทำตามที่ตัดสินใจนั้น การใช้วิจารณญาณบังคับให้เราต้องคาดการณ์ผลที่ตามมา และถามตัวเองว่าเรายินดีที่จะรับสถานการณ์ที่แย่ที่สุดหรือไม่ นั่นคือ การใช้วิจารณญาณทำให้เกิดการมองอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะกระโดดเข้าทำจริง
4.2 การใช้วิจารณญาณ คือการพิจารณาว่าอะไรมีค่าที่สุดสำหรับเรา ไม่เพียงแค่ "ข้อเท็จจริง" เท่านั้น
เราต้องใช้วิจารณญาณเพื่อตัดสินใจว่าเราจะกระทำอย่างไร เพื่อให้ได้รับสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด เมื่อพบกับทางเลือกที่ยากลำบาก เราพยายามที่จะหาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แน่นอนว่า "ข้อเท็จจริง" นั้น เป็นสิ่งสำคัญ แต่มันไม่พอที่จะบอกเราว่าเราควรจะทำอะไร เราใช้วิจารณญาณสำหรับคำถามเหล่านี้ เช่น "เราควรจะทำอย่างไร" เมื่อมันไม่มี "ข้อเท็จจริง" ที่แน่นอนที่จะตอบคำถามแก่เราได้ "ข้อเท็จจริง" นั้นจะบอกเราว่ามันคืออะไร และเราไม่จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณถึงสิ่งที่เรารู้แล้ว เช่น เมื่อต้องตัดสินใจเลือกทางเลือกส่วนตัว ว่าเราจะแต่งงานดีหรือไม่ คงไม่มีใครไปเปิด Encyclopedia (สารานุกรม) คำว่า "M" (marry) ดู
ดังนั้นการใช้วิจารณญาณสาธารณะ นำเราไปสู่ "ข้อเท็จจริง" ซึ่งสำคัญตามที่มันเป็นอยู่ และมากไปกว่านั้น คือสิ่งที่ไม่มีหนังสือหรือผู้เชี่ยวชาญสามารถบอกเราได้ และนั่นคือสิ่งที่มีคุณค่าจริงๆ สำหรับชีวิตเรา
เราต้องไม่สับสนถึงทางเลือกที่เราเลือกว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา เราถูกท้าทายให้คิดถึงทางเลือกที่เราชอบ เพราะประชาชนมักถูกปฏิบัติให้เป็น "ผู้บริโภคทางการเมือง" การเลือกผู้แทน หรือการออกเสียงเลือกตั้ง เห็นได้ชัดว่าเป็นเหมือนการเลือกยาสีฟัน หรือเลือกยี่ห้อซีเรียลสำหรับอาหารเช้า ที่ต้องถามถึงรสนิยมของเรา แต่ผลที่ตามมา (ถ้าเลือกผิด) ไม่ได้สำคัญนัก หากไม่ชอบเราสามารถเปลี่ยนยี่ห้อได้ตลอดเวลา ต่างจากการตัดสินใจเมื่อเราจะแต่งงานกับใครบางคน หรือการเลือกอาชีพ ซึ่งเราต้องค้นคว้าให้ลึกลงไป เพราะผลที่จะเกิดตามมานั้นใหญ่หลวง เราต้องคิดพิจารณาอย่างรอบคอบว่าอะไรจะเกิดขึ้น และจะยอมรับสิ่งนั้นได้หรือไม่ เราต้องมองเข้าไปข้างในตัวเรา เพื่อที่จะตัดสินใจว่าอะไรมีคุณค่าที่สุดสำหรับเรา เพราะการตัดสินใจนี้มีผลระยะยาวที่สำคัญที่จะเกิดตามมา
ในการตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ ดูเหมือนว่าเราถูกจูงใจจากสิ่งต่างๆ มากมายที่มีความหมายต่อชีวิตเรา เช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือวิถีแห่งการประพฤติปฏิบัติที่เราชอบด้วย เช่น การมีเสรีภาพ และโอกาสในการตระหนักถึงเป้าหมายของเรา. มีคนไม่มากนักที่ไม่ได้ดำเนินชีวิตด้วยการพิจารณาแบบนี้
ในที่นี้ อาจยกตัวอย่างประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกังวลเบื้องต้น คือ "ความปลอดภัย" ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานกว่าเรื่องระบบของอาวุธ อย่างไรก็ตาม เราถูกโน้มน้าวโดยสิ่งต่างๆ ในเรื่องความปลอดภัย เราอาจให้คุณค่าของความปลอดภัยว่าหมายถึง ความแข็งแรงกว่าศัตรู และการอยู่ไกลจากสิ่งที่เป็นอันตราย และอาจให้คุณค่าว่าความปลอดภัยมาจากการทำดีกับผู้ที่อาจเป็นอันตรายต่อเรา
คนส่วนใหญ่ถูกจูงใจไม่มากก็น้อย ด้วยคุณค่า 3 ประการดังกล่าวมาแล้วเรื่องความปลอดภัย คนส่วนใหญ่รู้สึกปลอดภัยกว่าเมื่อแข็งแรงกว่าสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อเขา หรือเมื่ออันตรายนั้นอยู่ไกลจากเขา และพวกเราส่วนใหญ่จะอยากเป็นมิตรกับคนที่มีแนวโน้มจะคุกคามเรา. ในการใช้วิจารณญาณเรื่องความมั่นคงของชาติ เราต่างรู้ดีด้วยความเจ็บปวดว่า เราไม่สามารถใช้แนวทางการใช้วิจารณญาณเพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุมีผลได้ แต่เราต้องตัดสินใจภายใต้แรงจูงใจที่ปะทะกัน
4.3 รากฐานของการใช้วิจารณญาณ คือ การวางกรอบประเด็นปัญหา ให้เป็น ภาษาที่ใช้ทั่วไป
สิ่งที่เป็นประเด็นขณะที่เรากังวลเรื่องคุณค่า คือ แรงเสียดทาน หรือข้อขัดแย้งต่อคุณค่านั้น ดังนั้น เราจึงยังไม่สามารถเริ่มใช้วิจารณญาณ จนกว่าเราจะวางกรอบของประเด็นปัญหา ในแนวทางที่เราเห็นว่ามีค่ายิ่ง นั่นคือ เรื่องที่เป็นความกังวลในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป หรือ การวางกรอบปัญหาให้เป็นประเด็นสาธารณะ นี่คือเหตุผลว่าทำไมหนังสือของเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติ เริ่มต้นด้วยเรื่องที่สาธารณะกำลังสนใจ
โชคไม่ดี คนอเมริกันมักพบประเด็นปัญหาที่ถูกวางกรอบด้วย "ภาษาต่างประเทศ" ที่เป็นศัพท์เทคนิค หรือศัพท์แสงทางการเมือง ที่เข้าใจยากสำหรับสาธารณะ ช่องว่างที่กว้างนี้ ทำให้ประเด็นที่มีการนำเสนอกับประเด็นที่ผู้คนจะได้เรียนรู้แยกออกจากกัน นั่นทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นเหล่านั้น กับสิ่งที่พวกเขาเห็นว่ามีค่ามาก
ในที่นี้จะยกตัวอย่างกรณีของการหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติด กล่าวคือ เมื่อคนส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับครอบครัว มากกว่าที่จะเป็นปัญหาในแง่ของการใช้กฎหมาย หรือการป้องกันไม่ให้ยาเสพติดเข้าประเทศ มุมมองเช่นนี้ทำให้สถานบันครอบครัวและความรับผิดชอบส่วนบุคคล กลายมาเป็นกรอบในการมองและเข้าใจปัญหา รวมไปถึงการ "ตั้งชื่อ" ปัญหา ซึ่งจะไปมีผลกำหนดว่าใครควรจะเข้ามาเกี่ยวข้อง และแนวทางการแก้ไขจะเป็นอย่างไรด้วย
4.4 การจัดการกับความขัดแย้ง
การวางกรอบประเด็นปัญหาให้เป็นประเด็นสาธารณะ ได้กำหนดขั้นตอนการเผชิญหน้ากับแรงจูงใจที่ขัดแย้งกัน เมื่อเรามีหลายสิ่งที่เราเห็นเป็นคุณค่า และสิ่งเหล่านั้นจะดึงเราไปในทิศทางที่ต่างๆ กัน เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจะลงมือปฏิบัติอย่างไร การจัดการกับความขัดแย้ง หรือความตึงเครียดนี้ ทำให้เกิดความยากลำบากในการเลือกทางเลือก นี่คือเหตุผลว่าทำไมเวทีการใช้วิจารณญาณต้องย้ำกับผู้เข้าร่วมว่ามีสิ่งที่ต้องทำ (คือ การพิจารณาอย่างใคร่ครวญ) ในการหารือ
ตัวอย่าง เช่น เมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาพ เราต้องการการดูแลรักษาที่ดีที่สุด ขณะเดียวกันเราก็ต้องการการดูแลรักษาที่ทุกคนสามารถจ่ายได้มากที่สุด แต่ยิ่งการดูแลที่ดีขึ้นเท่าไร ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น นั่นหมายถึง จะมีคนเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพได้น้อยลง นโยบายใดก็ตามที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบก้าวหน้า ต่างเผชิญกับปัญหาชวนลำบากใจเช่นนี้เสมอ ไม่ว่าทางเลือกใดก็ตามที่มาจากประเด็นทำนองนี้ ต่างมีด้านบวกและด้านลบต่อสิ่งที่เราเห็นเป็นคุณค่าทั้งสิ้น
ความขัดแย้งที่เราต้องจัดการในการแสวงหาทางเลือก ไม่ใช่เพียงความขัดแย้งระหว่างปัจเจก หรือระหว่างผลประโยชน์ เหมือนการที่นักสิ่งแวดล้อมต่อต้านนักพัฒนา หรือพวกอนุรักษ์นิยมต่อต้านพวกเสรีนิยม คนที่มีความคิดแตกต่างกันเช่นนี้ ก็ยากที่จะไปเปลี่ยนความคิดให้คิดเหมือนกัน แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ เราส่วนใหญ่น่าจะความคิดคล้ายๆ กัน ลองคิดถึงเรื่องความปลอดภัย ที่ได้กล่าวมาแล้ว และแรงจูงใจพื้นฐานที่ปรากฏอยู่ในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแรงจูงใจทางการเมืองร่วมกัน แต่เราก็ต่างใช้ หรือปฏิบัติการต่อสิ่งที่เราเห็นว่ามีคุณค่าต่างกัน ลองคิดดูว่าในคืนวันศุกร์ พ่อบ้านกลับจากที่ทำงานช้ากว่าปกติ และด้วยความเหน็ดเหนื่อย ภรรยาที่ทำงานหนักมาทั้งสัปดาห์อยากให้พาออกไปทานอาหารนอกบ้าน ลูกๆ ต้องการให้พาออกไปดูหนัง แม่ยายโทรศัพท์มาชวนให้ไปทานข้าวที่บ้าน และวางโทรศัพท์ได้ไม่นาน เจ้านายก็โทรมาบอกว่าอยากให้ไปที่ทำงานอีกซัก 2 ชั่วโมง ชีวิตแต่งงาน, ลูก, งาน และแม่ยายของเขา ต่างเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเขาทั้งสิ้น แต่เขาก็ต้องตัดสินใจเลือกว่าควรจะทำอะไรสำหรับคืนนี้ เราไม่สามารถแก้ปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ด้วยการทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราชอบที่สุด ขณะเดียวกันเราก็ไม่สามารถทำทุกอย่างที่ทุกคนอยากให้ทำ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีอำนาจใดที่จะให้คำตอบที่ถูกต้องแก่เราได้ ขณะที่เราก็ไม่สามารถหนีจากภาวะลำบากใจดังกล่าว ในการที่ต้องพิจารณาถึงสิ่งที่จะตามมาได้ แต่อีกด้านหนึ่ง เราก็ต้องทำงานหนักเพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้ได้
นี่คือสิ่งที่คล้ายกันมากกับภาวะลำบากใจที่เราพบในเรื่องสาธารณะ เมื่อต้องเลือกทางเลือกเรื่องนโยบายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่เห็นขัดแย้งกัน ไม่มีทางหลีกเลี่ยงอุปสรรคในสิ่งที่เราสามารถทำได้ ไม่มีการหลีกเลี่ยงความรู้สึกที่จะเกิดจากภาวะลำบากใจเหล่านั้น ขณะที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเหล่านี้ได้ การปรึกษาหารือ การใช้วิจารณญาณ ช่วยให้เราตระหนักว่าความตึงเครียด หรือความขัดแย้งระหว่างหรือภายในตัวเรานั้นมีไม่มาก ซึ่งจะช่วยให้เราฝ่าด่านช่วงของอารมณ์ที่รุนแรงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ ได้
4.5 ข้อจำกัดของการฝ่าด่านความขัดแย้ง คือ การรวมเอาเหตุผลและอารมณ์
การฝ่าด่าน (work through) คือ การอธิบายกระบวนการทำงานเพื่อการตัดสินใจ ที่เราต้องก้าวผ่านอารมณ์ความรู้สึกของการตอบสนองขั้นต้น เพื่อไปถึงจุดที่เราควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ พอที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกได้อย่างเหมาะสมเพื่ออนาคตของเรา เมื่อเราต้องเผชิญกับเรื่องค่าใช้จ่ายและผลที่จะเกิดตามมาของทางเลือกทางใดทางหนึ่ง เรามักจะตอบสนองด้วยอาการช็อคเหมือนกับความรู้สึกสูญเสียที่เกิดยามที่เราตกอยู่ในภาวะวิกฤตของตัวเอง
มีตัวอย่างเรื่องชายวัย 50 เศษคนหนึ่ง ที่เพิ่งพบว่าเขาจะไม่ได้เงินบำนาญเมื่อเกษียณอายุ ตอนแรกเขาโกรธ, ไม่เชื่อ, สงสัย และสุดท้ายซึมเศร้า เมื่อเวลาผ่านไป เขาเริ่มสงบใจลงโดยการฝ่าด่าน (work through) วิกฤตนี้ เขาอาจพบแหล่งรายได้อื่นๆ หรือการแลกเปลี่ยนกับบางสิ่งบางอย่างที่จะทำให้เขาอยู่ได้ดีที่สุด ในที่สุดเมื่อเขาได้จัดการความคิดเขาใหม่ และหลุดพ้นจากพายุอารมณ์ ทำให้เห็นหนทางที่เป็นไปได้สำหรับเขาที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง
ในการใช้วิจารณญาณสาธารณะ เราคนจะต้องทำงานผ่าน หรือฝ่าด่าน การเปรียบเทียบผลที่จะตามมา ที่เกิดจากการตัดสินใจในทุกนโยบาย การทำงานนี้ต้องการปรึกษาหารืออย่างใคร่ครวญ ไม่ใช่เพียงการพูดถึงเรื่องนั้นๆ เท่านั้น
5. อะไรคือผลผลิตของการใช้วิจารณญาณ
5.1 การเปลี่ยนแปลงของคน
ผลที่เกิดเบื้องต้นสุดคือ การเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล คนเหล่านั้นบอกว่า พวกเขาพบว่าจัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้นคือ เขาสามารถพิจารณาเรื่องนั้นๆ ในบริบทที่กว้างขึ้น และเห็นความเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ ได้ ทั้งหมดนี้ ช่วยให้เขาเข้าใจความหมายที่แท้จริงของประเด็นดังกล่าว ทำให้เราสามารถพิจารณาคำถามเกี่ยวกับนโยบายได้โดยยืนอยู่บนความจริงมากขึ้น ขอบเขตของผลประโยชน์ส่วนตัวมีแนวโน้มที่จะกว้างขึ้น ประสบการณ์ในการสนทนาอย่างการใช้ปรึกษาและวิจารณญาณกับคนอื่นๆ ทำให้เกิดความมั่นใจขึ้น เขารู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของความคิดเห็นนั้น และสามารถแสดงออกมาได้
จากการศึกษาขององค์กร Public Agenda พบว่า 53% ของผู้เข้าร่วมเวที เปลี่ยนใจจากความคิดในตอนแรกหลังจากเข้าร่วมเวที และ 71% แม้จะไม่เปลี่ยนความคิดเห็นก็ตาม แต่เกิดการคิดทบทวนเกี่ยวกับความคิดเห็นของตน อีก 78% พบว่าพวกเขาได้เผชิญกับความคิดเห็นที่แตกต่างจากของตน และพบว่าความคิดเห็นเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ดี
เวทีพูดคุยเพียงครั้งเดียวจะไม่เปลี่ยนความเชื่อที่ฝังรากลึก เช่นเดียวกับการไปยิมเนเซียมเพียงครั้งเดียว จะไม่ทำให้เราเชื่อถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย แต่คนที่ได้เข้าร่วมหลายๆ เวทีที่มีการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนี้ เริ่มสนใจอ่านและฟังข่าวมากขึ้นในมุมมองที่ต่างออกไป โดยมีการมองถึงทางเลือกและผลที่ตามมา รวมทั้งมีการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะมากขึ้น บางทีการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของเราต่อความคิดเห็นของคนอื่น อาจทำให้มองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆ มากขึ้นในการที่จะทำงานร่วมกัน คนเข้าร่วมเวทีพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณ เห็นตัวเองเป็นผู้ลงมือกระทำ มากกว่าเป็นเพียงแค่คนคอยดูเท่านั้น
การศึกษาผลที่ได้จากเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติ รายงานว่า คนเราเรียนรู้ว่าเขาสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้ และสามารถพูดอะไรที่มีเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้ รวมทั้งแสวงหาการตัดสินใจที่มีความสมเหตุสมผลว่าจะต้องทำอะไรได้ และเมื่อคนมีการคิดอย่างใช้วิจารณญาณ เขาจะพบว่าไม่มีการเสียหน้า หรือมีใครที่จะต้องถูกตำหนิ นั่นคือ "ปัญหา" เกิดนอกอาณาบริเวณของความขัดแย้ง เช่น พลเมืองที่คิดอย่างใช้วิจารณญาณ จะมองเห็นว่าความต้องการที่จะให้รัฐต้องจ่ายเพิ่มเติม โดยไม่เพิ่มการเก็บภาษี มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการขาดดุลงบประมาณ เวทีการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนี้ กระตุ้นให้คนคิดว่าเขาต้องรับผิดชอบต่อส่วนสำคัญของปัญหาของเขาเอง เมื่อเขาสามารถสร้างปัญหาได้ เขาก็ต้องสามารถริเริ่มที่จะจัดการกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 การเข้าร่วมกับสาธารณะ และความเป็นสาธารณะ
การใช้วิจารณญาณทำให้คนเริ่มก้าวแรกในการเข้าร่วมกับประเด็นสาธารณะ และยังเชื่อมคนเข้าด้วยกัน รวมทั้งสร้างพื้นที่สาธารณะ ที่ทำให้คนเข้ามาร่วมกันจัดการกับปัญหาร่วมของตน นักวิจัยจาก Harwood group ได้ถามผู้คนว่าอะไรคือมูลเหตุที่พวกเขาตัดสินใจเข้าร่วมหารือในประเด็นสาธารณะ คำตอบคือ พวกเขามองหาการพูดคุยที่เปิดกว้างและใช้วิจารณญาณ เขาต้องการที่จะพิจารณาทางเลือก และมุมมองของคนอื่นๆ ด้วยความระมัดระวัง พวกเขาต้องการทดสอบความคิด ไม่เพียงการลงคะแนน พวกเขาต้องการจะพิจารณาด้านที่เป็นสีเทาของประเด็น ที่ปกติมักจะถูกนำเสนอด้วยสีดำและขาวเท่านั้น เขาคาดหวังที่จะให้อารมณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางการเมืองได้แสดงออกมา แต่ไม่ใช่การแสดงอารมณ์โกรธเกลียด ซึ่งก่อให้เกิดการโต้เถียงแบบสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างขาดเหตุผล คำตอบเหล่านี้ แม้พวกเขาจะไม่ได้กล่าวคำว่า การใช้วิจารณญาณตรงๆ ออกมา แต่เขาก็กำลังมองหามันอยู่
ชาวอเมริกันใช้การสนทนาแบบใช้วิจารณญาณ ไม่เพียงเพื่อเข้าใจประเด็นปัญหา แต่เพื่อการตัดสินใจว่าเขาจะต้องกระทำอย่างเป็นสาธารณะหรือไม่ สถานการณ์ที่อาจกระตุ้นปัจเจกให้มีการกระทำทางการเมือง เช่น การพบเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิตยาเสพติดในละแวกบ้าน, ความกังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับลูกที่โรงเรียน, การเห็นคราบน้ำมันที่ชายหาด, คนที่มีประสบการณ์แบบนี้ ต้องหาคนอื่นที่มีความห่วงใยร่วมกันที่เห็นว่าปัญหานี้กระทบคุณค่าของเขาด้วย เขาต้องหาว่าเขาจะมีคนมาช่วยคิดและทำเกี่ยวกับปัญหานี้เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เขาจึงจะเข้าร่วมเวทีใช้วิจารณญาณ
ขณะที่การใช้วิจารณญาณ ถูกนำเสนอให้เหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในเวทีเท่านั้น ความจริง การใช้วิจารณญาณมีรากฐานมาจากการสนทนาทั่วๆ ไป อาจเกิดขึ้นกับเพื่อนบ้านที่มีรั้วหลังบ้านที่ใช้ร่วมกัน คนเราอาจเริ่มจากเรื่องส่วนตัว เพื่อดูว่ามันเกี่ยวกับคนอื่นๆ หรือไม่ การสนทนาอาจเปลี่ยนไปเป็นการประชุมของละแวกบ้าน หรือการประชุมในระดับเมือง อาจเป็นการพูดคุยเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ แต่ท้ายที่สุด คนจะไปถึงการตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไรหรือไม่ และถ้าทำ จะต้องทำอย่างไร. ในกระบวนการพูดคุย คนที่เป็นปัจเจกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันจะกลายเป็นสาธารณะ ปัจเจกที่มีปัญหาต่างๆ ร่วมกัน และมารวมตัวในการหาหนทางที่จะทำงานด้วยกัน เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านั้น
5.3 ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
การตัดสินใจร่วมกันในการใช้วิจารณญาณ เป็นการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสาธารณะ คนเรามักรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนได้เข้าร่วมในการเลือกมากกว่าในสิ่งที่คนอื่นเลือกให้ การตัดสินใจในฐานะสาธารณะหรือส่วนรวม เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่ออนาคตของตัวเอง
5.4 ความรู้ใหม่
การใช้วิจารณญาณทำให้คนทำในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้โดยปัจเจก แต่ต้องทำในฐานะสาธารณะเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการผลิต "ความรู้" ที่นักวิชาการเรียกว่าเป็นความรู้ที่สังคมเป็นผู้สร้างขึ้นมา (socially constructed knowledge) ซึ่งไม่สามารถหาได้จากผู้เชี่ยวชาญใดๆ ความรู้นี้ประกอบด้วยสิ่งที่เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องเข้าร่วมกับผู้อื่น จะไม่เกิดขึ้นตามลำพัง อาจเรียกว่า "ความรู้ที่เป็นสาธารณะ" ซึ่งจะบอกเราว่า
- สาธารณะพิจารณาประเด็น หรือกรอบของประเด็นที่แต่ละคนใช้ในการมองปัญหานี้ว่าอย่างไร
- อะไรคือสิ่งที่คนเหล่านั้นเห็นเป็นคุณค่า และอะไรคือความตึงเครียด หรือความขัดแย้งที่สำคัญของประเด็นเหล่านั้น
- อะไรคือสิ่งที่คนเต็มใจหรือไม่เต็มใจทำเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น อะไรคือค่าใช้จ่าย และผลที่ตามมาที่รับได้และที่รับไม่ได้
- มีอะไรที่เป็นความรู้สึก หรือทิศทางร่วมของชุดการกระทำนั้นๆ บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ร่วมกันดังกล่าว (ถ้ามี สิ่งนั้นคือ "ข้อตกลงร่วม" ที่จะกระทำโดยที่สาธารณะจะให้การสนับสนุน)
การใช้วิจารณญาณผลิตความรู้ที่เป็นสาธารณะ โดยการสังเคราะห์ประสบการณ์ และมุมมองที่แตกต่างกัน ให้เป็นกรอบของความหมายร่วมกัน
ลองจินตนาการดูว่าคุณและเพื่อนๆ ยืนอยู่รอบตึกแห่งหนึ่ง พยายามที่จะประเมินสภาพของตึก เพื่อตัดสินใจว่าควรจะซ่อมแซมตึก หรือทำลายมันเสีย คุณอาจให้เพื่อนแต่ละคนไปตรวจสอบตึกแต่ละด้าน แล้วกลับมาให้ความเห็นว่าควรทำอย่างไรกับตึกหลังนั้น แต่ละคนก็จะรายงานตามที่ได้เห็นจากด้านใดด้านหนึ่งของตึก คนหนึ่งอาจเห็นว่าทางเข้าได้รับการซ่อมแซมดีแล้ว อีกคนอาจเห็นผนังด้านหลังที่ผุพัง แม้ทั้งกลุ่มจะสามารถออกเสียงได้ว่าควรทำอะไรกับตึกนั้นดี แต่ก็เป็นเพียงการเปิดเผยสิ่งที่ได้เห็นโดยคนกลุ่มใหญ่เท่านั้น. แต่อีกทางหนึ่ง คนในกลุ่มอาจแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสะท้อนสิ่งที่ได้เห็น แล้วผนวกเข้ากับของคนอื่นๆ รวมมุมมองต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ นั่นคือ ภาพรวมของทั้งอาคาร ซึ่งแตกต่างกับที่ต่างคนต่างเห็นมาเพียงด้านเดียว ทำให้ทั้งกลุ่มได้เห็นภาพรวมทั้งหมดร่วมกันอีกครั้ง
การใช้วิจารณญาณนั้นเป็นมากกว่าการอดทน หรือยอมรับได้ต่อความแตกต่าง แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากความแตกต่าง โดยที่ไม่ได้ทำลายความแตกต่างของปัจเจก ในการที่ต้องมาหลอมรวมกัน เป็นการสร้างภาพใหม่ของสิ่งทั้งหมดบนมุมมองที่ผสานเข้าด้วยกัน
5.5 เปลี่ยนความคิดเห็น (opinion) มาเป็นการตัดสิน (judgment)
ความรู้ที่เป็นสาธารณะ และการได้มาของมัน มีวัตถุประสงค์ที่ทำได้จริงมาก มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจกและสาธารณะ บ่อยครั้งที่สามารถเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นส่วนตัว มาเป็นความคิดเห็นร่วมของสาธารณะได้
สำหรับในระดับประเทศแล้ว การเปลี่ยนความคิดเห็นมาเป็นการตัดสินนั้น เป็นไปได้ช้าและต้องมีขั้นตอน. ในยุคแรกๆ ของการอภิปรายกันทางการเมือง การก่อรูปของความคิดเห็นเป็นไปได้ไม่ดีและไม่แน่นอน ทำให้เมื่อคนเริ่มรับรู้เกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ พวกเขาจะมีปฏิกิริยาตอบสนองตามความรู้สึกแรกที่เกิด ซึ่งเป็นไปอย่างไม่ค่อยมีข้อมูล ความคิดเห็นนี้จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาวันต่อวัน ทั้งนี้เพียงแค่การรับรู้ต่อเรื่องนั้น ยังถือว่าห่างไกลจากความแน่นอนและไม่อยู่กับร่องกับรอยของการตัดสินใจของสาธารณะ เพราะยังมีอุปสรรคมากมาย เช่น การตำหนิคนอื่น และหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากๆ
การที่คนเราต้องค้นคว้าทางเลือกที่หลากหลาย หรือต้องเอาชนะธรรมชาติของการต่อต้าน ที่ต้องเผชิญกับสิ่งที่ต้องแลกมาด้วยราคาแพง ทำให้พวกเขาต้องพิจารณาอย่างจริงจังทั้งด้านบวกและลบของทางเลือกเหล่านั้น และในที่สุด เขาต้องเลือกจุดยืนที่ทั้งฉลาดและสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาที่ยาวนาน
ขณะที่การแยกระหว่างความคิดเห็นและการตัดสิน มักไม่ค่อยได้ทำ แต่ความแตกต่างระหว่าง 2 สิ่งนี้ เป็นเรื่องสำคัญ เวทีที่บอกกล่าวความคิดเห็นของผู้คนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่เหมือนกับเวทีพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณ ที่มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของสาธารณะ (public judgment) ขึ้นในหมู่ผู้คน
การใช้วิจารณญาณสามารถกลั่นการตัดสินใจ จากการเป็นเพียงความคิดเห็น ปัญหาเกี่ยวกับความคิดเห็นของสาธารณะคือ บ่อยครั้งที่มักจะขัดแย้งกันเอง และผู้เสนอความคิดไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมา เช่น ความคิดเห็นของสาธารณะที่ว่ารัฐบาลควรให้การบริการสาธารณะให้มากขึ้น แต่ความคิดเห็นเดียวกันนี้ยืนยันเช่นกันว่า ไม่ควรขึ้นภาษี ความขัดแย้งในเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจน และต้องมีการจัดการก่อนที่ใครจะเห็นเป็นเรื่องจริงจัง
กรณีนี้สะท้อนความคิดเห็นของสาธารณะที่มองประโยชน์ระยะใกล้ อย่างเช่น การลดภาษี อาจหมายถึงรายได้ส่วนบุคคลที่มากขึ้น แต่ผลต่อโรงเรียน, สวัสดิการสังคม, และทางหลวง ซึ่งเป็นบริการสาธารณะจะแย่ลง เพราะขาดเงินไปปรับปรุง เรายินดีที่จะรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการได้ลดภาษีหรือไม่ ไม่มีใครรู้ว่าการตัดสินใจของสาธารณะจะเป็นอย่างไร จนกว่าเขาจะเผชิญกับด้านตรงข้าม และผลระยะยาวของมัน นี่คือ หน้าที่ของการใช้วิจารณญาณ
ในระยะยาว การใช้วิจารณญาณสาธารณะดูเหมือนจะได้ทำในสิ่งที่ควรทำ ทั้งนี้ขึ้นกับการวิเคราะห์การตอบสนองของสาธารณะ ต่อคำถามนับพันที่มีต่อนโยบายต่างๆ ในช่วง 50 ปีนี้ มีนักวิจัยด้านความคิดเห็นของสาธารณะ 2 คน คือ Benjamin Page และ Robert Shapiro พบสิ่งที่ตรงข้ามกันกับการรับรู้ที่ว่า "พลเมืองนั้นไม่มีเหตุผล, ไม่อยู่กับร่องกับรอย และเปลี่ยนใจบ่อย" คือพบว่า ทัศนคติของสาธารณะที่ก่อรูปมานานนั้น มีความมั่นคง, มีเหตุผล และเสถียร เขาพบว่าทัศนคติของสาธารณะนั้น ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงในภาวะแวดล้อม ทัศนคติสาธารณะที่มีเหตุผลนี้ ได้จากการที่ผู้คนมีเหตุผลที่ชัดเจนสำหรับมัน และมุมมองของสาธารณะนั้นคงเส้นคงวาในนโยบายที่พวกเขาเห็นด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นคุณค่า
6. เราทำอะไรได้บ้างจากผลผลิตของการใช้วิจารณญาณ
แม้คนอเมริกันจะถูกโน้มน้าวว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะผลิตบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา แต่พวกเขายังต้องการรู้ว่าจะทำอะไรได้กับสิ่งที่ผลิตขึ้นมานั้น หลายคนถามว่าการพูดคุยของสาธารณะแบบนี้ มีบทบาทอะไรบ้างในการกำหนดนโยบายของชาติ คนอื่นๆ สนใจว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะ อาจมีผลต่อกิจกรรมของชุมชนได้
กล่าวโดยสรุปแล้ว ผลผลิตของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ ใช้ได้ 2 ประการ คือ
(1) เพื่อให้เกิดการกระทำที่ทำโดยสาธารณะ (public action) และ
(2) เพื่อทำให้เกิดอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาล
ในกระบวนการของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ ยังช่วยเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ที่มักไม่ค่อยดีนักระหว่าง "สาธารณะ" กับ "เจ้าหน้าที่รัฐ" ให้ดีขึ้นได้ด้วย
6.1 การกระทำที่ทำโดยสาธารณะ
ประชาธิปไตยขึ้นกับการกระทำที่ทำโดยสาธารณะ ซึ่งต่างจากการกระทำของกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การกระทำที่ทำโดยสาธารณะนี้จะสอดประสานกันมากกว่าที่จะชี้ขาดว่าต้องเอาสิ่งใด แล้วไม่เอาอีกสิ่งหนึ่ง ทั้งยังไม่เหมือนกับการกระทำของรัฐบาลหรือสถาบันต่างๆ ซึ่งมักจะมีแบบแผนตายตัวและเป็นเส้นตรง มีการประสานงานโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และความสัมพันธ์มักเป็นไปในแนวดิ่ง จากเจ้าหน้าที่ลงไปสู่ประชาชน และจากประชาชนขึ้นสู่เจ้าหน้าที่
แต่การกระทำที่ทำโดยสาธารณะจะเต็มไปด้วยความหลากหลายของผู้คน ที่ต่างมาทำหน้าที่ของตน ความสัมพันธ์จึงมักเป็นไปในแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง เป็นการกระทำที่เคียงบ่าเคียงไหล่กันของประชาชนกับประชาชน การกระทำที่ทำโดยสาธารณะมักมีการประสานงานที่ไม่ต้องจัดการ แต่ก็ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้ เพราะการกระทำทั้งหมดตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่สัมพันธ์กัน
การกระทำที่ทำโดยสาธารณะจะไม่เป็นเส้นตรง ที่เริ่มต้นจากจุดหนึ่ง แล้วไปสิ้นสุดที่อีกจุดหนึ่ง ตัวอย่างของชุดกิจกรรมเหล่านี้ จึงมักเป็นภาพของประชาชนทำงานด้วยกันเพื่อปรับปรุงสวนสาธารณะ โดยการที่ทุกคนเข้าร่วมกันทำความสะอาดและปลูกต้นไม้ การกระทำที่ทำโดยสาธารณะมีพลังมาก เพราะแต่ละคนต่างเติมเต็มซึ่งกันและกัน ทำให้พลังรวมทั้งหมดยิ่งใหญ่กว่าการรวมกันแบบธรรมดาๆ ของพลังแต่ละส่วน
หากปราศจากการกระทำของสาธารณะแล้ว การกระทำจากหน่วยงาน หรือสถาบันอย่างเดียวมักไม่ได้ผล ลองคิดดูว่าการดูแลกันเองในละแวกบ้าน ช่วยการทำงานของตำรวจได้อย่างไร และลองคิดดูถึงผ้าชิ้นดีๆ เช่น แขนเสื้อแจ็กเก็ตของคุณ ซึ่งเกิดจากการถักทอกันของทั้งเส้นด้ายในแนวตั้งและแนวนอนนั้น สอดประสานกันเป็นชิ้นผ้าได้อย่างไร หากไม่เช่นนั้นแล้วข้อศอกของคุณคงโผล่ออกมาทุกครั้งที่คุณงอแขนเป็นแน่
อะไรทำให้เกิดหรือเติมเต็มการกระทำที่ทำโดยสาธารณะ คำตอบคือ การใช้วิจารณญาณสาธารณะ แม้ว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะ อาจไม่ได้จบลงด้วยข้อตกลงที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด แต่มันสามารถชี้ทางที่เฉพาะเจาะจง และให้พื้นฐานในการระบุวัตถุประสงค์ร่วมกันได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ร่วมกันนี้ ให้โอกาสแก่การกระทำที่หลากหลาย ที่ไปด้วยกันหรือส่งเสริมกันและกัน เพราะต่างมีวัตถุประสงค์เดียวกัน หากปราศจากวัตถุประสงค์และทิศทางร่วมกันแล้ว คงไม่มีการควบคุมใดๆ สามารถรักษากิจกรรมต่างๆ ให้มุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันได้
ลองคิดดูถึงการจัดงานเลี้ยงกลางคืนแบบให้ต่างคนต่างนำอาหารมาเอง อะไรที่ทำให้อาหารทุกอย่างที่แต่ละคนนำมาไม่มีเพียงของหวาน นั่นคือ การที่คนเหล่านั้นหารือกันก่อนว่าใครจะนำอาหารชนิดใดมา แล้วจึงแบ่งกันทำอาหารแต่ละอย่าง ไม่มีใครต้องมาควบคุมการจัดเลี้ยงแบบนี้ ไม่มีการเซ็นต์สัญญาในการทำงานร่วมกัน แต่การเลี้ยงอาหารแบบนี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะคนเหล่านั้นรู้ว่าคนอื่นจะทำอะไรมา และไม่ต้องบอกว่าตนจะต้องเอาอะไรมา
6.2 แสวงหาหนทางที่จะทำงานร่วมกัน แม้เราจะไม่เห็นด้วยทั้งหมดก็ตาม
ความรู้สึกถึงการมีทิศทางร่วมและเป้าประสงค์ที่ต้องพึ่งพิงกันดังอธิบายไปในข้างต้นนั้น เป็นพื้นฐานร่วมสำหรับการกระทำการร่วมกัน (common ground for action) ซึ่งมีความสำคัญในการแยกแยะระหว่างการมีความเห็นร่วมกัน กับการประนีประนอม ในความเห็นส่วนที่แตกต่าง
แรกสุดพื้นฐานร่วมสำหรับการกระทำการร่วมกันนี้ ไม่เหมือนกับการมีอะไรเหมือนๆ กัน อย่างเช่น ความรักที่มีต่อแมว และไม่เหมือนกับการประนีประนอม ที่คนๆ หนึ่งต้องการสิ่งหนึ่ง แต่ยอมรอมชอมความแตกต่าง โดยการพบกันครึ่งทาง และไม่ใช่การยินยอมหรือการมีข้อตกลง ที่ทุกคนต้องการสิ่งเดียวกัน. ในขณะที่ การมีความเห็นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแม้จะเป็นสิ่งที่วิเศษสุด แต่บ่อยครั้งที่ชุมชน มักต้องแก้ปัญหาร่วมกับผู้คนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถหาข้อตกลงใดๆ ร่วมกันได้เลย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความก้าวหน้าเกิดขึ้น
การใช้วิจารณญาณ ช่วยเราในการค้นหาว่าอะไรที่อยู่ระหว่างสิ่งที่ตกลงกันได้ และสิ่งที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เราส่วนใหญ่เผชิญอยู่ตลอดเวลา น้อยครั้งมากที่เราจะเห็นพ้องต้องกันไปหมดทุกอย่าง แม้กับคนที่ใกล้ชิดที่สุด แต่เราก็ไม่ได้ขัดแย้งไปหมดเช่นกัน เราอยู่ระหว่างกลาง และนี่คือการที่การใช้วิจารณญาณช่วยให้เราระบุว่าเราจะสามารถอยู่ร่วมกับอะไรได้บ้าง
6.3 สร้างอิทธิพลต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ถึงความเป็นไปได้ทางการเมือง
มีคำถามหนึ่งที่หลายคนชอบถาม คือ เจ้าหน้าที่รัฐสนใจเรื่องการใช้วิจารณญาณสาธารณะหรือไม่ แน่นอนว่า การใช้วิจารณญาณให้ความรู้ที่เป็นสาธารณะ ซึ่งเป็นที่ต้องการของเจ้าหน้าที่ และไม่สามารถหาได้จากแหล่งอื่นๆ ทั้งนี้มีงานวิจัยที่แสดงว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือแบบนี้จากสาธารณะ แต่โชคไม่ดีที่ว่าเรามักไม่เชื่อเช่นนี้ ความเข้าใจผิดของทั้งสองฝ่ายเติบโตจากความแตกต่าง ของการที่คนในและคนนอกหน่วยงานรัฐเห็นบทบาทตัวเอง และการขาดโอกาสที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์นี้
เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เชื่อว่าพวกเขารับภาระความรับผิดชอบในการพัฒนา และลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา พวกเขาเห็นตัวเองมีบทบาทเป็นผู้ปกครอง. ผลประโยชน์ของสาธารณะที่แท้จริง การมีความรับผิดชอบ หมายความถึงการจัดการสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนรับเอาแนวทางแก้ปัญหาที่เจ้าหน้าที่เตรียมมาให้ และมีการสร้างฐานสนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการทำงานผ่านสื่อ เพื่อให้มั่นใจว่าการช่วยเหลือทำได้อย่างครอบคลุม ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ตลอดกระบวนการของการให้ความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่พยายามที่จะปรับทัศนคติของสาธารณะ และปริมาณของสาธารณะที่เข้าร่วม นั่นคือสิ่งที่เจ้าหน้าที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องในการทำงานกับสาธารณะ แต่นี่ไม่ใช่บทบาทที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าควรเป็น ประชาชนมีความรู้สึกว่าไม่ต้องการ "ถูกจัดการ" มากขึ้น หรือไม่ต้องการถูกปฏิบัติเหมือนเป็นลูกค้า หรือได้แนวทางการแก้ปัญหาแบบสำเร็จรูปที่คนอื่นคิดให้
น่าขันเมื่อมองจากมุมของประชาชน ยิ่งเจ้าหน้าที่ทำตัวเป็นผู้ปกครองมากเท่าไร ประชาชนก็จะยิ่งต่อต้านมากเท่านั้น ผู้ปกครองอาจไม่ต้องการให้ประชาชนทำอะไรมากไปกว่าการมาออกเสียงเลือกตั้ง แต่ประชาชนกลับเห็นว่าไม่เพียงพอที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองเพียงเท่านั้น และในสถานการณ์หนึ่ง เมื่อหน้าที่ของผู้ปกครองไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องเผชิญอยู่จริง พวกเขามักเจอกับปัญหาที่ธรรมชาติของปัญหาไม่ชัดเจน ทั้งยังไม่มีการระบุเป้าหมายและคุณค่าของสาธารณะ รวมทั้งมีความขัดแย้งในประเด็นปัญหานั้นๆ ด้วย นี่คือเวลาที่พวกเขาต้องการสาธารณะ แต่เจ้าหน้าที่มักอยู่ในภาวะคับข้องใจเมื่อเกิดสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยน ในสถานการณ์ที่สาธารณะไม่มีข้อสรุปว่าพวกเขาจะเลือกทางเลือกใด และบางครั้งทำอะไรไม่ได้ ในภาวะที่มีการแช่แข็งทางการเมือง เพราะความไม่ลงตัวของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งทำให้กลไกการทำงานของรัฐบาลติดขัด
ในสถานการณ์เช่นนี้ เจ้าหน้าที่ต้องการประชาชน ไม่เพียงแค่การมาลงคะแนนเลือกตั้งให้ แต่ในฐานะประชาชนที่เข้าร่วมหารือในการระบุว่า อะไรคือผลประโยชน์ของสาธารณะส่วนใหญ่
ขณะที่ประชาชนหมดหวังที่จะโน้มน้าวเจ้าหน้าที่รัฐ จากประจักษ์พยานที่เห็นผลในระยะยาว กลับพบว่าการตัดสินของสาธารณะได้ทำหน้าที่ตรงนี้ ความจริงทำถึงกับการก่อร่างนโยบายหลักๆ ของรัฐบาลเลยทีเดียว. มีคนถามว่า การใช้วิจารณญาณสาธารณะมีอิทธิพลต่อการที่นักการเมืองและรัฐบาล จะรับเอาประเด็นเหล่านั้นหรือไม่ เพราะพวกนักการเมืองล้วนต้องการคำตอบที่ไม่มีคุณภาพว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" เท่านั้น คำตอบทำนองนี้ ทำให้เกิดการหลงทางที่ว่าการใช้วิจารณญาณมีอิทธิพลต่อนโยบาย แต่จะต้องค่อยเป็นค่อยไป และใช้เวลาสะสมมาพอสมควร
ความจริง คือ แม้ว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะจะสามารถมีผลต่อการกำหนดนโยบาย แต่จะไม่สามารถทำได้ชั่วข้ามคืน และด้วยเหตุผลที่ดี. ประเด็นทางการเมืองส่วนใหญ่ แม้เป็นเพียงปัญหาของ 1 หมู่บ้าน ต้องการเวลาในการทำความเข้าใจ ในการวางแผน และลงมือปฏิบัติ ส่วนในประเด็นใหญ่ๆ อาจใช้เวลาเป็น 10 ปีหรือมากกว่า ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ บทบาทการใช้วิจารณญาณสาธารณะ คือ รักษาการเดินทางที่ยาวนานนั้นไว้ โดยไม่มีการตำหนิที่ไม่สร้างสรรค์
ในที่สุด การใช้วิจารณญาณสาธารณะมีผลต่อการกำหนดนโยบายอย่างเป็นทางการหรือไม่ มีประจักษ์พยานว่ามันได้เกิดขึ้นจริง การศึกษาของ Page และ Shapiro พบว่ามีหลายประเด็นที่ ความคิดเห็นสาธารณะสามารถกำหนดนโยบายรัฐบาลอย่างเป็นอิสระ และกรุยทางให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนโยบายนั้น
6.4 เปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐมักจะมีความคับข้องใจเรื่องความสัมพันธ์กับประชาชน เช่นเดียวกันกับประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ พวกเขาอาจต้องการทำงานกับประชาชนจริงๆ แต่มักประสบกับอุปสรรคที่รุนแรงที่คนอื่นๆ ควรจะเข้าใจ เจ้าหน้าที่ที่ฟังการพูดคุยในเวทีหารือของประชาชน อาจถูกต่อว่าจากการที่ไม่ทำงานในหน้าที่ให้ดีพอ พวกเขาอาจมีปัญหาในการทำงานกับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ที่เห็นว่า พวกเขานั้นเปิดเผยกับสาธารณะมากเกินไป หรือกลุ่มผลประโยชน์อาจโจมตีเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมหารือกับประชาชน แทนที่จะไปต่อรองกับประชาชน กลุ่มต่อต้านเหล่านี้บางครั้งต่อต้านการวางกรอบประเด็นปัญหาให้เป็นไปตามที่พวกเขาต้องการ กลุ่มเหล่านี้อาจวิจารณ์เจ้าหน้าที่ที่เห็นด้วยกับกรอบประเด็นปัญหาที่กว้างขวาง (เพราะรวมเอาทางเลือกต่างๆ ไว้อย่างหลากหลาย)
ประชาชนมักไม่ค่อยรู้ถึงปัญหาเหล่านี้ จึงไม่ได้ทำอะไรเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ชอบวิธีการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์แบบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนนี้ กำลังจะเปลี่ยนแปลง เพราะประชาชนมีเครื่องมือที่มีพลังในเวทีพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณ
ข้อมูลที่ได้จากเวทีพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนี้ ไม่เพียงเป็นประโยชน์ เวทีการพูดคุยเองก็ได้สร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนข้อมูล แทนการ "ฟัง" ตามปกติ แน่นอนว่าประชาชนจะให้เจ้าหน้าที่เข้าร่วม ซึ่งหมายความว่าไม่ได้เข้ามาเพื่อปาฐกถา หรือมาโดยตำแหน่ง เขาต้องมาเพื่อค้นคว้า และทดสอบความคิดของเขาเช่นเดียวกันกับคนอื่นๆ
ลองจินตนาการดูว่ามีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเข้าร่วมเวที เพื่อดูการหาทางเลือกของประชาชนในเรื่องยากๆ ก่อนที่จะอธิบายว่าเวทีของสภานิติบัญญัติ หรือสภาเมืองจัดการกับทางเลือกในประเด็นปัญหาเดียวกันอย่างไร. ลองคิดถึงการที่ประชาชนไม่ได้ถามเจ้าหน้าที่ด้วยคำถามปกติ "คุณกำลังจะทำอะไรให้พวกเรา?" แต่กลับดึงเจ้าหน้าที่ให้เข้าร่วมกับการใช้วิจารณญาณของพวกเขา ด้วยการพูดว่า "นี่คือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ของเรา นี่คือสิ่งที่เราเห็นว่าอาจเป็นความขัดแย้งได้ และนี่เป็นสิ่งที่เราพยายามแก้ความขัดแย้งเหล่านั้น (โดยตระหนักถึงข้อเสียของแนวทางการแก้ปัญหาที่เราชอบที่สุด) ตอนนี้ช่วยบอกเราว่าประสบการณ์ของคุณคืออะไร คุณเห็นอะไรบ้างที่เป็นข้อขัดแย้ง และคุณจะแก้ไขมันอย่างไร?" การหารือทำนองนี้ แน่นอนว่าต้องเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ
6.5 ความรับผิดชอบที่ไม่ต้องมอบหมาย
ในที่สุดควรกล่าวว่า การใช้วิจารณญาณและผลผลิตที่ได้จากมันเป็นสิ่งที่สำคัญมากและขาดไม่ได้ ในการช่วยให้ประชาชนพบกับข้อบังคับของตัวเองในระบอบประชาธิปไตย ความรับผิดชอบเหล่านี้ไม่สามารถมอบหมายให้กับรัฐบาล แต่เป็นสิ่งที่ประชากรของระบอบประชาธิปไตยจะต้องกระทำเอง เพื่อให้รัฐบาลที่เป็นตัวแทนทำงานต่อไป แม้แต่รัฐบาลที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถสร้างความชอบธรรมได้ด้วยตนเอง รัฐบาลไม่สามารถระบุเป้าประสงค์ของตนเองหรือสร้างมาตรฐาน หรือทิศทางให้กับสิ่งที่ตนเองจะต้องทำ แม้เรามักจะคาดหวังให้รัฐบาลทำก็ตาม รัฐบาลไม่สามารถสร้าง และรักษาไว้ซึ่งการตัดสินใจเรื่องยากๆ ที่ประชาชนไม่เต็มใจสนับสนุน มีแต่สาธารณะเท่านั้นที่จะทำสิ่งเหล่านี้ได้
มากไปกว่านั้น รัฐบาลประชาธิปไตยหากต้องการอยู่ในตำแหน่งในระยะยาวอย่างมั่นคง จำเป็นต้องการการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง รากฐานของรัฐบาลอยู่ที่พื้นฐานร่วมสำหรับกระทำการร่วมกัน ซึ่งมีแต่ประชาชนเท่านั้นที่ทำได้ รัฐบาลสามารถสร้างทางด่วนให้เราได้ แต่ไม่ใช่สร้างพื้นฐานร่วมสำหรับกระทำการร่วมกันให้เราได้ แม้ว่ารัฐบาลคณะที่มีอำนาจที่สุด ก็ไม่สามารถสร้างความต้องการของสาธารณะ สำหรับการกระทำทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลสามารถสั่งให้มีการให้เกิดการเชื่อฟังได้ แต่ไม่สามารถสร้างความมุ่งมั่นได้
สุดท้าย ขึ้นกับพวกเราในฐานะสมาชิกที่จะเปลี่ยนผ่านจากความเป็นปัจเจกไปสู่ความเป็นพลเมือง พลเมืองสามารถสร้างรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่สามารถสร้างพลเมืองได้ เพราะปัจเจกจะเปลี่ยนมาเป็นพลเมืองได้นั้น ด้วยการเข้าร่วมงานกับสาธารณะเท่านั้น
7. การใช้วิจารณญาณจะเปลี่ยนความคิดเห็นของเราที่มีต่อความคิดเห็นของคนอื่น
การเอาคนจาก 2 ขั้วของเรื่องการทำแท้งมาพูดคุยกันในเวทีสาธารณะ ผลคือ คนที่ปกติพูดกันด้วความโกรธ ได้ฟังกันมากขึ้น
Jule Zimet ผู้มีประสบการณ์การจัดเวทีพูดคุยมานาน กล่าวว่าเวทีพูดคุยคือตัวอย่างที่ดีในการแสดงว่า การใช้วิจารณญาณสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นสาธารณะซึ่งมักจะแคบและตื้น มาเป็นการตัดสินใจของสาธารณะซึ่งรวมเอาเหตุผลสำคัญๆ ที่คนอื่นมี ในมุมมองที่ต่างออกไป สาเหตุที่การพูดคุยมีความยากลำบาก ก็เพราะด้วยวิธีการที่เราถูกอบรมมา วัฒนธรรมของเราฝึกเรามาให้โต้เถียงกับผู้อื่น ดังนั้น เราจึงมักได้ยินแต่ประเด็นที่เห็นต่างกัน
Zimet กล่าวว่าเธอประหลาดใจที่พบว่า เวทีที่ใช้วิจารณญาณช่วยให้คนเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยกัน แต่เธอประหลาดใจมากกว่ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเธอเอง "เท่าที่จำได้ ฉันอยู่ข้างหนึ่งของประเด็นนี้มานาน" ระหว่างการทำงานกับเวทีพูดคุยแบบนี้ เธอเคยคิดว่า ถ้าเธอยอมให้กับเรื่องนี้ 1 นิ้ว อีกด้านหนึ่งก็จะรุกเข้ามา 1 ไมล์ แต่จากประสบการณ์ เธอพบว่า "ฉันได้รับการยอมรับนับถือมากจากอีกฝ่ายหนึ่ง" แม้ว่าเธอจะไม่เปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มุมมองของเธอเปลี่ยนไปจากที่มองแบบขาว-ดำ มาเป็นการมองที่มีความละเอียดอ่อนขึ้น
เธอเห็นการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกันในคนที่เข้าร่วมเวทีที่ใช้วิจารณญาณ เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งที่ช่วยในการวางแผนการจัดเวทีพูดคุยซึ่งเข้าร่วมในเวทีพูดคุยต่อมา ในเรื่อง "เสรีภาพในการพูด" เมื่อ Zimet ถามเธอถึงความคิดเห็นที่จะเชิญคนๆ หนึ่งมานำเสนอความเห็นที่เป็นด้านตรงข้ามในเวทีพูดคุยนี้ หญิงคนนั้นเห็นด้วยกับความเห็นของ Zimet แต่เธอกล่าวว่าเธอไม่จำเป็นต้องนั่งติดกับเขา แต่หลังจากจบเวทีพูดคุย Zimet พบว่าทั้งสองนั่งอยู่ด้วยกัน และกำลังพูดคุยกันถึงเรื่องแนวโน้มในสังคมที่กวนใจเขาทั้งสอง
เราเรียนรู้ที่จะฟังได้อย่างแตกต่างจากเดิม ทำให้เราเกิดความไว้วางใจกันในระดับที่แตกต่างกัน นั่นคือพื้นฐานของการสร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นในชุมชน
8. กรณีที่จะใช้วิจารณญาณสาธารณะ
การใช้วิจารณญาณสาธารณะนั้น กล่าวง่ายๆ คือ เพื่อให้การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยได้ทำงานอย่างที่มันควรทำ นั่นคือ สาธารณะจะต้องเข้ามาร่วมกระทำการ เพราะการลงคะแนนเลือกตั้งอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ไม่เพียงพอทั้งการสนับสนุนนักการเมืองที่เราเลือกเข้ามา อีกทั้งยังไม่เพียงพอที่จะมีเพียงความคิดเห็น หรือติดตามสถานการณ์ปัจจุบันเท่านั้น แต่ก่อนที่เราจะสามารถกระทำการในฐานะสาธารณะได้ เราจะต้องตัดสินใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร ก่อน
การใช้วิจารณญาณสาธารณะ เป็นชื่อหนึ่งของวิธีการที่เราจะตัดสินใจว่า เราจะกระทำการเรื่องหนึ่งๆ อย่างไร ในการเลือกทางเลือกหนึ่งๆ นั้น เราต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนที่ต้องจ่าย และผลที่ตามมาของทางเลือกนั้นๆ เมื่อผู้คนเริ่มรับรู้ถึงความแตกต่างของทางเลือก ผ่านประเด็นต้นทุนที่ต้องจ่าย และผลที่จะตามมา จะช่วยทำให้พวกเขาให้หาทางเลือกหรือชุดของการกระทำ ที่เข้ากันกับสิ่งที่เป็นคุณค่าของชุมชนทั้งหมด และด้วยวิธีการนี้ สาธารณะจึงสามารถระบุผลประโยชน์ของสาธารณะได้อย่างเป็นเรื่องๆ ไป
การใช้วิจารณญาณสาธารณะ ไม่ใช่กระบวนการรักษาสำหรับทุกสิ่งที่ทำให้การเมืองบิดเบี้ยว และไม่ใช่ยาแก้สำหรับทุกโรค แต่มันเป็นส่วนสำคัญของการเมืองแบบประชาธิปไตย
9. การใช้วิจารณญาณเพิ่มความสามารถของชุมชนในการกระทำการร่วมกัน
ยุงเป็นปัญหาใหญ่ที่ Twin Lakes รัฐ Ohio เมื่อ "สมาคมเพื่อนบ้าน" ตัดสินใจที่จะหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ Bob Walker ประธานของสมาคมฯ ต้องการทำให้การหารือเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพราะเรื่องนี้เป็นประเด็นที่อ่อนไหวมาก เนื่องจาก Walker มีประสบการณ์อย่างเข้มข้นในการเป็นวิทยากรกระบวนการสำหรับเวทีพูดคุยระดับชาติมาก่อน เขาเลือกใช้วิธีใช้วิจารณญาณในการหารือเรื่องนี้ จากประสบการณ์นี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่าวิธีการใช้วิจารณญาณสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ชุมชนกล่าวถึงปัญหานี้ได้
เขารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมยุงจากทั่วประเทศ มาทำเป็นหนังสือ 4 หน้า แสดงถึงแนวทาง 3 ประการที่พบบ่อยในการแก้ปัญหานี้ เขาเช่าห้องประชุมในท้องถิ่นพร้อมเครื่องเสียง แล้วส่งจดหมายเชิญคนในชุมชนให้มาร่วมพิจารณาแนวทางทั้ง 3. มีคนเข้าร่วมประมาณ 50 คน ผลการใช้วิจารณญาณพิจารณาปัญหา ทำให้เกิดการก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อการกำจัดแมลงที่มีการทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดขึ้น
ที่ Wayne รัฐ Nebraska ได้มีเวทีหารือในสถานการณ์ที่ต่างกัน คือ มีโบสถ์ Lutheran อยู่ 2 แห่งในชุมชน ที่แยกกันเพราะเรื่องภาษา (โบสถ์หนึ่งใช้ภาษาเยอรมัน อีกแห่งใช้ภาษาอังกฤษ) โบสถ์ทั้ง 2 แห่งมีปัญหาเหมือนกันคือ มีคนเข้าโบสถ์น้อยลง องค์กรในชุมชนจึงเสนอให้รวมโบสถ์ทั้งสองเข้าด้วยกัน แต่ด้วยประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 โบสถ์นี้ ทำให้มีโอกาสน้อยมากที่โบสถ์ทั้ง 2 จะรวมกันได้ ปัญหานี้ถูกทิ้งไว้ระยะหนึ่ง ชาวบ้านต่างหลีกเลี่ยงที่จะการกล่าวถึงปัญหานี้ แต่คนบางคนที่เคยไปร่วมเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติมาก่อน ได้เสนอให้ตั้งเวทีพูดคุยร่วมขึ้นมา โดยยึดเอามุมมองทางวัฒนธรรม และการอยู่รอดของโบสถ์เป็นหลัก โดยให้คนที่เคยได้รับการอบรมจากเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติ ได้วางกรอบเรื่องการรวมกันของโบสถ์ แล้วจัดการประชุมขึ้น
Ropes-Gale สมาชิกในชุมชนคนหนึ่งกล่าวว่า "ฉันเคยอาศัยอยู่ตั้งแต่ชายแดนหนึ่งจนถึงอีกชายแดนหนึ่ง ฉันเป็นภรรยาของทหารมา 10 ปี ฉันได้ทำทุกอย่างมาแล้ว จนมาทำงานกับสภามนุษยธรรม และฉันไม่เคยเห็นกลุ่มคนใดเลยที่ไม่ได้ประโยชน์จากวิธีการใช้วิจารณญาณนี้"
10. การเป็น ผู้ดำเนินการประชุม สำหรับการใช้วิจารณญาณ
ต่อไปนี้ คือ แนวทางพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจที่จะเป็น ผู้ดำเนินการประชุม ของการใช้วิจารณญาณ
10.1 การวางข้อตกลงร่วมในการพูดคุย
การใช้วิจารณญาณจะได้ผลดีเมื่อมีการพูดบนข้อตกลงร่วมกันบางอย่างตั้งแต่เริ่มต้น ข้อตกลงเหล่านี้จะช่วยป้องกันความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นระหว่างการพูดคุย
- ข้อตกลงพื้นฐานที่สุด คือเรื่องจุดประสงค์ของเวทีพูดคุย ที่จะนำไปสู่ การตัดสินใจเพื่อเลือกทางเลือก ผู้ดำเนินการประชุม ควรให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันออกข้อตกลงพื้นฐานในการพูดคุย มากกว่าที่จะประกาศข้อตกลงเหล่านั้นออกไปเอง
- กระตุ้นให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ไม่ให้มีคนใดคนหนึ่งเด่นหรือโน้มน้าวกลุ่ม (โดยให้เป็นข้อตกลงร่วมก่อนเริ่มการหารือ ซึ่งพบว่าเป็นเรื่องง่ายกว่าการที่จะหยุดคนที่พยายามจะนำเวที ในภายหลัง)
- การฟัง มีความสำคัญพอๆ กับการพูด
- ผู้เข้าร่วมควรจะพูดกับผู้เข้าร่วมอื่นๆ ไม่ใช่เพียงกับ ผู้ดำเนินการประชุม
- ผู้ดำเนินการประชุม หรือคนอื่นๆ ในกลุ่มอาจเข้าร่วมพูดคุยได้เป็นครั้งคราว เพื่อทำให้การหารือยังอยู่ในประเด็น
- ผู้เข้าร่วมต้องมีความเป็นธรรมในการพิจารณาทางเลือกทุกๆ ทางเลือก และตรวจสอบถึงสิ่งที่ต้องเสีย หรือแลกเปลี่ยนในแต่ละทางเลือก ความคิดเห็นที่หลากหลายนี้เป็นสิ่งสำคัญ และหากมีทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งที่ไม่มีใครในกลุ่มเลือกเลย ผู้ดำเนินการประชุม อาจตั้งคำถามว่า "ลองคิดดูว่า คนที่ชอบทางเลือกนี้ จะพูดว่าอะไรได้บ้าง"
10.2 คำถาม 4 ข้อ เพื่อกระตุ้นการใช้วิจารณญาณ
1. สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเรา คือ อะไร?
2. ค่าใช้จ่ายหรือผลที่จะตามมาจากทางเลือกต่างๆ เหล่านี้ คือ อะไร?
3. อะไรคือความขัดแย้งของประเด็นนี้ อะไร คือ สิ่งที่เราต้องจัดการ
4. เราสามารถตรวจจับความรู้สึกร่วมของทิศทาง หรือพื้นฐานร่วมสำหรับกระทำการณ์ร่วมกันได้หรือไม่
(1) สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเรา คือ อะไร?
การต้องเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งสำหรับสาธารณะเป็นสิ่งที่ยาก เพราะทุกทางเลือกมีรากฐานมาจากสิ่งที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้ความสนใจอย่างลึกซึ้ง เราอาจตั้งคำถามได้หลายๆ รูปแบบ เช่น
- เรื่องนี้มีผลกระทบต่อคุณเป็นการส่วนตัวอย่างไรบ้าง (ปกติใช้คำถามนี้ตอนเริ่มต้นของการพูดคุย)
- ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับทางเลือกนี้ คือ อะไรบ้าง?
- อะไรทำให้ทางเลือกนี้ เป็นทางเลือกที่ดี หรือทางเลือกที่ไม่ดี
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเวทีแต่ละคน ได้เปิดเผยทุกๆ ความห่วงใยที่ลึกซึ้งของแต่ละคน ผู้เข้าร่วมหรือ ผู้ดำเนินการประชุม สามารถถามคนที่เข้าร่วมคนอื่นๆ ว่า ทำไม หรือ มีความเป็นมาอย่างไร เขาจึงมีความเห็นหรือคิดเช่นนั้น ให้เขาได้พูดเกี่ยวกับประสบการณ์ตรง ไม่เพียงการพูดถึงข้อเท็จจริง หรือการโต้แย้งโดยใช้เหตุผลเท่านั้น
(2) ต้นทุนที่ต้องจ่าย หรือผลที่จะตามมาจากทางเลือกต่างๆ เหล่านี้ คือ อะไร?
คำถามนี้ก็เช่นกัน สามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ ตราบเท่าที่เป็นการกระตุ้นให้คนที่เข้าร่วมเวทีพูดคุยได้คิด เกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดจากทางเลือกทั้งหลายเหล่านั้น ต่อสิ่งที่เป็นคุณค่าสำหรับพวกเขา เพราะการใช้วิจารณญาณ ต้องการการประเมินผลสิ่งที่สนับสนุน (ด้านบวก) และที่คัดง้าง (ด้านลบ) ของทางเลือกต่างๆ เหล่านั้น ทั้งนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมั่นใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายต่างเปิดเผยต่อกันและกัน และต้องมีคำถามที่ทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าทำให้เกิดความยุติธรรม และความสมดุลในการตรวจสอบความเป็นไปได้ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
- อะไรน่าจะเป็นผลที่ตามมาจากการกระทำตามที่คุณได้เสนอแนะมา
- อะไร คือ ข้อโต้แย้งต่อทางเลือกที่คุณชอบมากที่สุด หรือผลเสียจากทางเลือกนี้
- มีใครคิดอะไรที่สร้างสรรค์ ที่อาจได้มาจากทางเลือกที่กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักนี้
(3) อะไรคือความขัดแย้งของประเด็นที่กำลังหารือนี้ อะไรคือสิ่งที่เราต้องจัดการ
ขณะที่เวทีพูดคุยกำลังดำเนินไป ผู้เข้าร่วมหรือ ผู้ดำเนินการประชุม อาจตั้งคำถาม
- คุณเห็นอะไรที่เป็นความตึงเครียด หรือเป็นความขัดแย้งระหว่างทางเลือกเหล่านี้
- อะไรคือ "พื้นที่สีเทา" หรือ อะไรคือสิ่งที่ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจน
- ทำไมเรื่องนี้จึงตัดสินใจยากนัก
(4) เราสามารถตรวจจับความรู้สึกร่วมของทิศทาง หรือพื้นฐานร่วมสำหรับกระทำการณ์ร่วมกันได้หรือไม่
หลังจากแจ้งแก่ผู้เข้าร่วมเวทีการพูดคุยว่าวัตถุประสงค์ของของเวทีนี้คือ การทำงานเพื่อมุ่งไปสู่การตัดสินใจ ผู้ดำเนินการประชุมหรือคนอื่นๆ อาจแทรกแซงเป็นครั้งคราวด้วยคำถามที่ทำให้การใช้วิจารณญาณมุ่งไปสู่การสร้างทางเลือกต่างๆ และทำการหยุดการหารือเป็นระยะๆ เพื่อแสวงหาความเห็นร่วมกันหรือการโต้แย้งสำหรับทางออกที่เฉพาะเจาะจงทางใดทางหนึ่ง หลังจากนั้น เมื่อพบว่า ความตึงเครียดเริ่มชัดเจนขึ้น คนเริ่มเห็นว่าพวกเขาถูกดึงไปในทิศทางที่ต่างกัน โดยถือหลักของสิ่งที่พวกเขาเห็นเป็นคุณค่า ผู้ดำเนินการประชุม อาจใช้คำถามต่อไปนี้ เพื่อดูว่ากลุ่มกำลังไปทางไหน
- ทิศทางไหนที่ดูเหมือนจะดีที่สุด หรือที่เราต้องการไปทางใดสำหรับนโยบายนี้
- สิ่งที่ต้องแลกหากเราเลือกทางเลือกนี้ ทั้งที่เรายอมรับได้ และที่ยอมไม่ได้คืออะไร
- อะไรคือสิ่งที่เราเต็มใจ / ไม่เต็มใจจะทำทั้งในฐานะปัจเจก และฐานะชุมชน เพื่อแก้ปัญหานี้
หัวใจของการใช้วิจารณญาณ คือ คำถามที่ว่า เราเต็มใจที่จะยอมรับผลที่จะเกิดตามมาจากทางเลือกของเรา ซึ่งอาจนำไปสู่การอภิปรายสำหรับคำถามต่อไปนี้
- หากทางเลือกที่เราชอบมีผลกระทบต่อผู้อื่น เราจะยังคงชอบนโยบายหรือทางเลือกนี้อยู่หรือไม่
10.3 การจบเวทีพูดคุย
ก่อนที่จะจบการพูดคุย เป็นการดีที่จะสะท้อนให้เห็นทั้งในระดับปัจเจก และในฐานะกลุ่ม ถึงสิ่งที่ได้ทำสำเร็จจากเวทีนี้ คำถามต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์
- คุณคิดว่าประเด็นที่เรานำมาหารือกันนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
- คุณเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อความคิดเห็นของคนอื่นอย่างไรบ้าง
- ทำไมเราถึงผ่านมันไปไม่ได้ (หากมีประเด็นที่ยังค้างคา)
- เรายังต้องหารือเรื่องอะไรต่อไปอีก
- เราสามารถใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเวทีนี้อย่างไรบ้าง
คำถามข้างต้นนี้ ไม่ได้หมายความว่าให้ผู้ดำเนินการประชุม เข้าแทรกแซงอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ดำเนินการประชุมที่ดี ต้องกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมผูกพันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเกิดเมื่อผู้ดำเนินการประชุมให้ผู้เข้าร่วมได้พูดคุยกันโดยตรง และไม่เข้าแทรกแซงกับทุกๆ ข้อคิดเห็น หรืออาจทำได้โดยคำถามพื้นๆ ที่จะเชื่อมคนเข้าด้วยกัน เช่น "มีใครมีความเห็นกับสิ่งที่คุณซาร่าเสนอหรือไม่" ผู้ดำเนินการประชุมควรชี้ให้เห็นตั้งแต่ตอนเริ่มต้นเวที ว่า ความรับผิดชอบในการใช้วิจารณญาณ คือ ความรับผิดชอบของกลุ่ม นอกจากนี้ ผู้ดำเนินการประชุมต้องทำตัวให้เป็นกลาง เพื่อให้กลุ่มสามารถพิจารณาทางเลือกต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรม
11. การจัดเวทีพูดคุย
เวทีการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนี้ เป็นโอกาสให้สาธารณะได้ทำงาน และคุณอาจต้องการให้เกิดขึ้นบ้างในชุมชนของคุณ แม้ว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะจะเกิดขึ้นมาเองได้โดยไม่เป็นทางการ แต่จะเกิดประโยชน์กับชุมชนมากกว่าถ้ามีการจัดการให้เกิดการตอบสนอง หรือการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ในประเด็นที่หารือ. เวทีการพูดคุยนี้ อาจถูกจัดโดยห้องสมุดสาธารณะ, ศูนย์กลางชุมชน, หรือองค์กรทางศาสนา. บางคนอาจจัดเวทีการพูดคุยนี้ในห้องนั่งเล่นที่บ้านก็ได้. บางกรณี เวทีการพูดคุยนี้ถูกรวมเข้าไว้ในหลักสูตรการเรียนของโรงเรียนและวิทยาลัย เพื่อสอนทักษะในการตัดสินใจร่วมกัน รวมทั้งโครงการการเป็นผู้นำต่างๆ มักมีเวทีการพูดคุยแบบนี้ เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันนี้
บางกลุ่มอาจจัดให้มีเวทีการพูดคุย เป็นจำนวนที่แน่นอนในแต่ละปี บางกลุ่มอาจจัดให้มีเพียงครั้งเดียว เพื่อตอบสนองต่อปัญหาเฉพาะเจาะจงในท้องถิ่น เช่น พันธมิตรของตำรวจและองค์กรประชาสังคม ได้ร่วมกันจัดเวทีพูดคุยเรื่อง "ความรุนแรงในวัยเด็ก" ส่วนขนาดของกลุ่มนั้น อาจตั้งแต่ 7 คน ประชุมกันที่ชั้นใต้ดินของโบสถ์ ถึง 300 คน ประชุมกันที่ห้องประชุมของมหาวิทยาลัย
แม้ว่าการใช้วิจารณญาณจะมีประสิทธิผลในการแก้ปัญหาระยะสั้นสำหรับบางปัญหาได้ แต่ผลประโยชน์ที่สำคัญเกิดเมื่อผู้คนมีพันธะสัญญาระยะยาว ที่จะจัดให้มีเวทีการพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ การได้มีเวทีการใช้วิจารณญาณอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลง "พฤติกรรมต่อสาธารณะ" (civic habits) ดังนั้น เมื่อเกิดเรื่องหนักๆ ขึ้นในชุมชนหรือสังคม ผู้คนจะเคยชินกับการตัดสินใจร่วมกัน
11.1 การใช้หนังสือประเด็น (issue books) (1)
เวทีการพูดคุยจะประสบความสำเร็จ ถ้าคนที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ได้อ่านประเด็นต่างๆ ในหนังสือมาก่อนเข้าร่วมพูดคุย
11.2 เวลาที่ใช้สำหรับเวทีพูดคุย
คนส่วนใหญ่กำหนดเวลาไว้ที่ 2 ชั่วโมง แต่ไม่มีกำหนดเวลาตายตัว บางคนอาจชอบ 3 ชั่วโมง เพราะทำให้คนเข้าร่วมได้มีเวลาแสดงความคิดเห็นได้อย่างถี่ถ้วน และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมเวทีพูดคุยครั้งละ 2 ชั่วโมง เป็นจำนวน 3 - 4 ครั้ง เพื่อหารือในประเด็นปัญหาอย่างลึกซึ้ง
11.3 อย่าทำตามลำพัง
เพื่อให้ การใช้วิจารณญาณได้หยั่งรากและเติบโตต่อไป ต้องมีคนมากกว่า 1 คนมีพันธะสัญญาร่วมกัน เวทีที่ประสบความสำเร็จมักมี "คณะทำงาน" ในการวางแผนและจัดการเวทีพูดคุย ขนาดและโครงสร้างของคณะทำงานขึ้นกับสถานการณ์. สำหรับกฎทั่วๆ ไป ยิ่งเวทีพูดคุยมีขนาดใหญ่ หรือมีการจัดเวทีมากครั้ง ยิ่งต้องการคณะทำงานมาทำงานมากขึ้น
ในบางชุมชน พันธมิตรขององค์กรต่างๆ มาร่วมกันจัดเวทีพูดคุยขนาดใหญ่ หรือการพูดคุยหลายๆ ครั้งในประเด็นเดียวกัน โดยการลงขันร่วมกัน ทำให้มีคนมากขึ้นในการช่วยจัดงาน
11.4 การอบรม ผู้ดำเนินการประชุม
การใช้วิจารณญาณจะมีประสิทธิภาพเมื่อมีผู้ดำเนินการประชุมที่เข้าใจกระบวนการการใช้วิจารณญาณ และมีความคุ้นเคยกับประเด็นที่จะหารือกัน
คนที่เคยเป็นผู้ดำเนินการประชุม ในการพูดคุยแบบอื่นๆ แต่ไม่ชัดเจนว่าการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนั้นแตกต่างจากการพูดคุยทั่วไปอย่างไร อาจใช้เทคนิคนำการพูดคุยที่ขัดขวางการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณ เช่น วิธีการที่เหมือนการสอนเกี่ยวกับประเด็นที่จะหารือ แล้วตอบคำถามของผู้เข้าร่วม หรือมี "ผู้เชี่ยวชาญ" วางกรอบของประเด็นที่หารือ หรือทำให้เวทีหลงทางไปจากการที่ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
11.5 ค่าใช้จ่าย
เวทีพูดคุยที่ประสบความสำเร็จหลายๆ แห่งเกือบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น คนทำงานส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร บางที่อาจมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ดำเนินการประชุม. ค่าใช้จ่ายที่สำคัญ คือ การซื้อหนังสือประเด็นและม้วนวีดีโอ การลงประกาศเชิญคนเข้าร่วมเวที และการแถลงข่าวผลของการพูดคุย รวมทั้งค่าอาหารว่าง แต่หลายๆ องค์กรจัดการกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ โดย
- ขอให้ห้องสมุดซื้อหนังสือประเด็นและม้วนวีดีโอ เพื่อให้คนได้ยืมมาใช้
- คิดค่าใช้จ่ายจากผู้เข้าร่วมพอเป็นพิธี สำหรับเป็นค่าหนังสือ หรือจัดการให้ร้านหนังสือในท้องถิ่นจัดหาหนังสือนั้นไว้
- ขอการสนับสนุนจากนักธุรกิจในท้องถิ่นให้ออกค่าใช้จ่ายให้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการประกาศชื่อให้ในเวทีสาธารณะ
- กระตุ้นให้นายจ้างของคณะทำงานออกค่าใช้จ่ายบางอย่างให้ เช่น ค่าถ่ายเอกสาร หรือการส่งจดหมายเชิญ
11.6 เชิญคนมาเข้าร่วม: ไปในที่ที่มีคนอย
โดยปกติแล้ว จำนวนผู้เข้าร่วมจะเปลี่ยนแปลงไปขึ้นกับความเข้มข้นของการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ของคณะทำงาน โดยที่บางครั้ง แม้จะมีการเตรียมการที่ดีที่สุด แต่คนเข้าร่วมก็อาจยังน้อยอยู่ ซึ่งขอยืนยันว่าเราต้องไม่ยอมแพ้ คนที่เข้าร่วมเพียงจำนวนไม่มากในเวทีหนึ่งๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้โครงการทั้งหมดของการใช้วิจารณญาณของชุมชนต้องล้มเลิก
ทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าร่วม คือ การไปจัดเวทีในที่ที่มีคนอยู่ ซึ่งพบว่า เวทีพูดคุยหลายๆ เวที ที่ต้องมีการพูดคุยหลายๆ ครั้ง ได้จัดโดยเชื่อมเข้ากับกิจกรรมของโบสถ์และห้องสมุด
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สำหรับผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
http://www.nifi.org/
http://www.theharwoodinstitute.org/
http://www.kettering.org/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
(1) ดูตัวอย่างหนังสือประเด็นที่ใช้ประกอบในเวทีการประชุม ใน http://www.nifi.org/discussion_guides/index.aspx
โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริง คุณค่า และผลที่จะตามมาในการตัดสินใจ โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
1. คนที่ใช้วิจารณญาณสาธารณะ
2. ประวัติของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ
3. ทำไมต้องใช้วิจารณญาณ
4. อะไรคือ การใช้วิจารณญาณสาธารณะและมันต่างกันอย่างไร
5. อะไรคือผลผลิตของการใช้วิจารณญาณ
6. เราทำอะไรได้บ้างจากผลผลิตของการใช้วิจารณญาณ
7. การใช้วิจารณญาณจะเปลี่ยนความคิดเห็นของเราที่มีต่อความคิดเห็นของคนอื่น
8. กรณีที่จะใช้วิจารณญาณสาธารณะ
9. การใช้วิจารณญาณเพิ่มความสามารถของชุมชนในการกระทำการร่วมกัน
10. การเป็น ผู้ดำเนินการประชุม สำหรับการใช้วิจารณญาณ
11. การจัดเวทีพูดคุย
บทความนี้เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ตัดสินใจด้วยกัน : พลังของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ
Public Deliberation: การร่วมหารือเพื่อการตัดสินใจ
พิกุล สิทธิประเสริฐกุล : แปล
โครงการชีวิตสาธารณะและเมืองน่าอยู่ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
1. คนที่ใช้วิจารณญาณสาธารณะ
เด็กวัยรุ่นทั่วอเมริกากำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ถูกไล่ออกจากโรงเรียน เดินไปมาตามถนนโดยไม่มีอะไรทำ นอกจากหาเรื่องใส่ตัว แต่ที่ Birmingham รัฐ Alabama เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ที่คนที่นั่นได้ทำมากไปกว่าการนั่งวิตกกังวลและบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้. แต่ละปี มีนักเรียนช่วงอายุ 11 - 15 ปี ถูกไล่ออกจากโรงเรียน เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีทำร้ายร่างกาย และคดีที่เกี่ยวข้องกับปืน, มีด หรืออาวุธอื่นๆ ที่ดีที่สุดที่เด็กพวกนี้จะทำได้ คือ การกลับเข้าโรงเรียนใหม่ในเทอมหน้า โดยถูกตราหน้าว่าเป็น "ตัวสร้างปัญหา" และต้องเรียนซ้ำชั้น
เมื่อ Peggy F. Sparks ผู้อำนวยแผนกการศึกษาชุมชน ของโรงเรียนใน Birmingham ตั้งคำถามว่า "คุณจะทำอะไรกับเด็กเหล่านั้นได้บ้าง?" เพื่อหาคำตอบสำหรับปัญหานี้ Spark ได้จัดให้มีเวทีพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่ของเมือง และเจ้าหน้าที่จากองค์กรเยาวชนมาร่วมเป็นผู้ดำเนินการประชุมและทำหน้าที่บันทึกรายงาน ซึ่งเป็นบทบาทที่ทำให้คนเหล่านี้ได้เข้าร่วม แต่ไม่ทำให้การประชุมเป็นไปแค่การทำประชาพิจารณ์
ผู้ดำเนินการประชุม กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมทุกวัย ได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงแนวทางต่างๆ ที่จะใช้แก้ปัญหานี้ ไม่เพียงแค่ 1 หรือ 2 แนวทางเท่านั้น วัตถุประสงค์คือ สร้างข้อตกลงร่วมสำหรับการปฏิบัติการ (common ground for action) นั่นเอง. ทิศทางหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมพอใจคือ การทำโครงการ CARES - Comprehensive At Risk Education Services (ความห่วงกังวล-ความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงของบริการการศึกษา) ดำเนินการโดยกลุ่มวัยรุ่นจากโรงเรียนมัธยม 8 แห่ง จำนวน 350 คน ทำหน้าที่เป็นที่สภาปรึกษา และมีการประชุมทุกสัปดาห์
โครงการอื่นๆ ที่เกิดจากเวทีหารือนี้ คือ โครงการจ้างงานวัยรุ่น และแคมป์ Birmingham ที่ดำเนินการโดยวัยรุ่น สำหรับเยาวชนรายได้น้อย. อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จสูงสุดของ CARES คือ การให้โอกาสเยาวชนได้เรียนรู้ในการหาทางเลือกสำหรับเรื่องยากๆ ร่วมกัน โครงการนี้ทำให้ Spark เข้าใจมุมมองของเยาวชนต่อปัญหาของพวกเขามากขึ้น และช่วยให้เธอและแผนกของเธอรู้ว่าจะทำให้เยาวชนเหล่านั้น เข้าร่วมในการแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างไร
กรณีตัวอย่าง 1
สำหรับคนส่วนใหญ่ เป็นการขอที่ธรรมดามาก เมื่อเด็กหญิงอายุ 3 ขวบขอให้พ่อของเธออ่านหนังสือให้ฟัง แต่เมื่อ Walter Miles พยายามแกล้งทำเป็นอ่านนิทานเรื่องนั้น ลูกสาวของเขารู้ว่ามันไม่ใช่เนื้อหาอย่างที่เธอเคยได้ยิน และนั่นทำให้เขาตัดสินใจว่าจะต้องเรียนรู้การอ่านหนังสือให้ได้
ช่างเครื่องยนต์อายุ 41 ปี เข้าร่วมโครงการรู้หนังสือที่ San Francisco ที่ซึ่งเขาไม่เพียงเรียนการอ่านหนังสือ แต่ยังเรียนรู้ในการเข้าร่วมกับคนข้างเวที ตามภาษาของเขาโดยการช่วยเหลือของครู เขาได้อ่านหนังสือชุดสั้นๆ เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ เช่น เสรีภาพในการพูด และค่ารักษาพยาบาลราคาแพง หลังจากนั้น เขาเข้าร่วมเวทีพูดคุยแบบที่ใช้วิจารณญาณสาธารณะซึ่งจัดโดยสภาผู้รู้หนังสือ เพื่อพยายามตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ร่วมกับผู้อื่น
ตอนแรกเขาเพียงแต่ฟังการพูดคุยเท่านั้น ต่อมาเขาถามตัวเองว่า "เราจะเข้าร่วมเกี่ยวข้องด้วย หรือจะไม่ยุ่งกับมันดี" เพราะหลายปีมาแล้วที่เขาเชื่อว่าสิ่งที่เขาต้องทำคือ แค่ดูแลมุมเล็กๆ ที่เขาอยู่ให้ดี แต่เมื่อเขาได้เริ่มพูดเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ "เสรีภาพในการพูดหมายความว่าอะไร" เขาพบว่า การเก็บความคิดเห็นไว้กับตัวเอง ทำให้เขาเจ็บปวดมากกว่าที่คิด. "ฉันตัดสินใจว่า โลกของฉันจะสงบสุข และไม่ถูกรบกวนได้อย่างไร ถ้าส่วนที่เหลือไม่สงบสุข ฉันจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนข้างเวทีเหล่านี้"
ทุกวันนี้ Miles ได้เข้าร่วมอย่างแข็งขันกับโครงการ Key to Community ซึ่งกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวเข้าร่วมการเลือกตั้ง. "พวกเขาบอกฉันว่าเป็นการเสียเวลาเปล่าๆ ที่จะไปลงคะแนน… ทำไมจะต้องไปยุ่งด้วยล่ะ? ฉันบอกพวกเขาว่าฉันก็รู้สึกเช่นเดียวกัน แล้วเล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ฟัง รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าการเลือกทางเลือกวันนี้ ทำให้เกิดผลในอนาคตได้อย่างไร และโดยการไม่เข้าร่วมในวันนี้ จะทำให้พวกเราต้องเสียใจในอีก 10 ปีข้างหน้า ฉันไม่ตระหนักถึงความจริงนี้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับฉัน จนอายุเข้า 30 ปี"
แม้ว่า Miles จะมีอารมณ์ขันในการเล่าถึงการต่อสู้ของเขา ดูเหมือนว่าเขากำลังทำเพื่อชดเชยกับเวลาที่เสียไป และใช้โครงการนี้ช่วยให้คนอื่นๆ ไม่ให้ผิดพลาดเหมือนกับที่เขาเป็น (คือไม่สนใจเรื่องบ้านเมือง) มีคนไม่มากนักที่รณรงค์เรื่องการออกมาเลือกตั้ง โดยใช้แนวทางวิจารณญาณสาธารณะ แต่ Miles ก็ทำ เพราะเห็นว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะ เปิดประตูให้กับชีวิตสาธารณะ
กรณีตัวอย่าง 2
ทุกคนในเวทีพูดคุยที่ Grand Rapids รู้เรื่องเด็กฆาตกรรมเด็ก ในเวทีนั้นมีหญิงคนหนึ่งเสียลูกชาย 2 คน ไปกับความรุนแรงที่ไร้สาระ คนหนึ่งถูกฆ่าตายในอพาร์ทเมนท์ของเขาเอง อีกคนถูกฆ่าขณะยืนอยู่ที่ตู้โทรศัพท์ เธอนั่งฟังอย่างเงียบขณะที่คนอื่นๆ กำลังหารือกันว่าจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อหยุดยั้งความรุนแรงในหมู่วัยรุ่นนี้ จนกระทั่งตอนท้ายของเวทีพูดคุย เธอพูดขึ้นอย่างนุ่มนวล แต่เป็นการสรุปสาระของการประชุมว่า "เราต้องทำอะไรบางอย่าง เราต้องร่วมกันหยุดยั้งความรุนแรงนี้"
หลายสัปดาห์ต่อมา คนที่รู้เรื่องของเธออาจจำเธอได้ในหน้าหนังสือพิมพ์ เธอได้เข้าร่วมงานกับเทศมนตรี เป็นผู้นำในการรณรงค์ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้สาธารณะยินยอมจ่ายภาษีเพิ่ม เพื่อจ้างตำรวจเพิ่มอีก 95 คน สำหรับการตรวจตราความสงบของเมือง
เรื่องราวเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การใช้วิจารณญาณสามารถทำให้คนเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาได้มากขึ้น เพราะพวกเขารวมพลังกันเพื่อนำไปสู่ความริเริ่มใหม่ๆ ของสาธารณะ พวกเขาบอกเล่าถึงผลจำนวนหนึ่งที่ได้จากการใช้วิจารณญาณ แต่ไม่ได้ลงลึกในสาระสำคัญของมัน ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยโครงการใหม่ๆ หรือการออกเสียงเพื่อเก็บภาษีเพิ่ม
เรื่องเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้วิจารณญาณ นานเป็นสิบปีที่ Grand Rapids ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการแก้ปัญหาของชุมชน เรื่องราวในที่อื่นๆ อาจไม่ชัดเจนนัก ที่ประชาชนเข้ามาร่วมรับผิดชอบมากขึ้นในการหยุดยั้งปัญหาความรุนแรง แต่เรื่องราวบางเรื่อง อาจจะยังไม่สามารถเล่าสู่กันฟังได้ จนกว่าวัยรุ่นที่ Birmingham โตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ดังเช่นที่ Walter Miles ที่เห็นศักยภาพของตัวเอง ที่จะลงมือปฏิบัติการในเรื่องส่วนรวมได้ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้เข้าร่วมโครงการต่างๆ เท่านั้น
เราสามารถเขียนเรื่องราวเหล่านี้ได้ ถ้าเราพอจะเข้าใจว่าการใช้วิจารณญาณ คือ อะไร และรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งทางเลือกร่วมกัน และนี่คือจุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ กล่าวสั้นๆ ว่า การใช้วิจารณญาณ ไม่ใช่แค่เป็นการอภิปรายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจร่วมกัน แต่เป็นวิธีการตัดสินใจที่ทำให้เราลงมือกระทำการร่วมกันได้ โดยจะถูกท้าทายให้เผชิญกับสิ่งที่ต้องแลกและผลพวงที่ไม่น่าพึงพอใจจากทางเลือกอื่นๆ และการทำงานเพื่อก้าวผ่านประเด็นที่อ่อนไหวนั้นด้วยกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของสาธารณะ
2. ประวัติของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ
ผลของการใช้วิจารณญาณไม่ใช่จะชัดเจนเหมือนเรื่องที่เล่ามาทุกครั้งไป บางคนกล่าวว่า ประโยชน์สูงสุดของการทำ "การใช้วิจารณญาณ" คือ การมีเวทีการประชุม ที่จะช่วยให้คนได้จัดการกับประเด็นที่เป็นนโยบายสาธารณะที่ซับซ้อน หรือเพื่อให้เข้าใจมุมมองที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำกิจกรรมบางอย่าง บางคนอาจกล่าวว่า การมีส่วนร่วมทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนมากขึ้น เต็มใจที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมของพลเมืองมากขึ้น และบางคนกล่าวว่าหลังจากการหารือในเวทีซ้ำกันหลายครั้ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาของชุมชน การใช้วิจารณญาณซ้ำๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคน เกิดความเชื่อมั่น และในที่สุดสามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนได้
คนอเมริกันที่มีการใช้วิจารณญาณอยู่ทุกวันนี้ มีรากลึกมาจากแนวทางการปฏิบัติทางการเมืองที่เก่าแก่และมีลักษณะเฉพาะที่สุด ความจริงอาจกล่าวได้ว่า การใช้วิจารณญาณสาธารณะ คือ แรงผลักสำคัญในการสร้างประเทศนี้ขึ้นมา เวทีการใช้วิจารณญาณที่เรียกว่าการประชุมของเมือง เริ่มมีมามากกว่า 100 ปีที่แล้ว ก่อนการปฏิวัติและก่อนการสร้างประเทศ
ประชาธิปไตยของอเมริกาเกิดในช่วงปี 1730 ที่เมือง Dorchester รัฐ Massachusetts ที่นั่นมีทุ่งหญ้าแห่งหนึ่งที่ลาดลงสู่อ่าว ทำให้เมืองนี้เป็นที่ที่วิเศษสุด สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ แต่ฝูงสัตว์กลับหนีออกนอกรั้ว ซึ่งทำให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือ
1) จะปกป้องฝูงปศุสัตว์เหล่านั้นได้อย่างไร และ
2) จะตัดสินใจเลือกวิธีที่จะปกป้องได้อย่างไร
เมืองนี้ไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นที่จะจัดการกับปัญหาแบบนี้ ไม่มีแม้เวทีที่จะหารือกันในเรื่องสาธารณะ ที่เดียวที่คนมาชุมนุมกัน คือ ที่โบสถ์ในวันอาทิตย์ ซึ่งไม่ใช่ที่ที่จะมาหารือกันในเรื่องแบบนี้. น่าเสียดายที่ไม่มีการบันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ให้เป็นหลักฐาน แต่เรารู้ว่า John Maverick และผู้นำชุมชนคนอื่นๆ ได้มาหารือกันเรื่องประชาธิปไตยของอเมริกา เราสามารถจินตนาการได้ว่า Maverick และผู้นำคนอื่นๆ พูดว่า "เรามีปัญหา เราต้องหารือกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ เอาเป็นว่ามาคุยกันวันจันทร์นี้เถอะ"
ที่โรงเรียน เราถูกสอนให้รู้จักคำที่น่าตื่นเต้น เช่น "ให้เสรีภาพแก่ฉัน หรือไม่ก็ความตาย" แต่กลับไม่มีใครให้ความสำคัญของการพูดว่า "เรามีปัญหา มาหารือกันเถอะ" ซึ่งควรสงวนไว้ให้เป็นสุนทรพจน์ชั้นเลิศของอเมริกา เพราะคนอเมริกันเกือบทุกคนเคยได้ยิน และได้พูดคำนี้ออกมาไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง. เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการประชุมครั้งแรกของเมือง ทำให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมือง นั่นคือ คนในสมัยอาณานิคมได้เริ่มมีการพบปะกันทุกเดือน ไม่เพียงแค่เมื่อปศุสัตว์ออกนอกรั้วเท่านั้น
การพบปะกันของคนที่เมือง Dorchester นี้ นำไปสู่การสร้างประเทศ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานของระบบการเมืองของอเมริกา นั่นคือ การประชุมของเมือง. แต่การประชุมของเมืองในสมัยแรกๆ ไม่เหมือนกันเลยกับการประชุมเมืองในยุคปัจจุบัน ที่เจ้าหน้าที่เป็นฝ่ายพูด และบางครั้งตอบคำถาม เพราะการประชุมเมืองในสมัยนั้น เป็นโอกาสที่คนในเมืองจะได้สะท้อนหรือทบทวนและพิจารณาอย่างมีวุฒิภาวะถึงเรื่องราวต่างๆ
ชาวอาณานิคมในสมัยนั้น เลือกที่จะไม่รับเอารูปแบบการปกครองของอังกฤษ แต่กลับบริหารเมืองโดยการประชุมของเมือง การประชุมนี้ไม่ได้มีอำนาจในตัวเอง แต่เป็นอำนาจที่มาจากการตัดสินใจร่วมกันของคนในเมือง ที่จะกระทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน ซึ่งเป็นความผูกพันให้ชาวอาณานิคมอยู่ด้วยกัน และเป็นรากฐานสำหรับความมุ่งมั่น และพากเพียรของพวกเขา
พลเมืองและองค์กรสาธารณะเหล่านี้ ดำเนินการต่อไปตลอดช่วงการปฏิวัติ และการสร้างประเทศ ในสมัยนั้น เกิดการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระหว่างเมืองที่เป็นอาณานิคมต่างๆ เพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง เครือข่ายนี้ตั้งขึ้นในปี 1772 โดย Samuel Adams ได้ตั้งคณะกรรมการ 21 คน เป็น "committee of correspondence" ในการสร้างพันธะกับเมืองอื่นๆ และเพื่อชี้แจงสถานภาพของอเมริกาต่อประชาคมโลก. ภายใน 15 เดือน เมืองอาณานิคมทุกเมือง ยกเว้น 2 เมือง ได้ก่อตั้ง"committee of correspondence" ของเมืองตัวเองขึ้นมา ซึ่งทำให้ประเพณีการหารือกันในแต่ละเมืองยิ่งมีมากขึ้น และการที่ให้เมืองเล็กๆ ได้มีส่วนในการกำหนดร่วมกัน ทำให้เกิดแบบอย่างของกระบวนการทางการเมืองที่มีพลัง
เมื่อถึงเวลาของการปฏิวัติอเมริกา สาธารณะเริ่มสนใจต่อคำถามว่า สงครามเพื่ออิสรภาพนี้จะสำเร็จหรือไม่ ในการต่อสู้กับสิ่งที่เรียกว่ามหาอำนาจของโลก Samuel Adams จากเมือง Braintree รัฐ Massachusetts ทำหน้าที่ยื่นข้อเสนอเพื่อประกาศเสรีภาพ ความเชื่อของ Adams เรื่องการประกาศอิสรภาพนี้ มีรากฐานจากสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากผู้คนและพลังที่ได้จากในเวทีสาธารณะ ต่อคำถามถึงความกลัวที่จะล้มเหลวในการปฏิวัตินี้ เขาตอบว่า "แต่เราจะไม่ล้มเหลว หลักการที่เรากำลังต่อสู้เพื่อการปฏิวัตินี้ จะทำให้มีทหารเข้าร่วมรบกับเรา หากเราจริงใจกับประชาชน พวกเขาจะนำพาเรา จะนำพาพวกเขาเอง สู่ความรุ่งโรจน์ของการต่อสู้ครั้งนี้ ฉันไม่สนใจว่าใครจะเคยพบกับความเอาแน่ไม่ได้ของคนอื่นๆ แต่ฉันรู้จักคนของเราดี"
การประชุมของเมืองกระตุ้นให้ Thomas Jefferson ประกาศว่า "ความแข็งขันที่เกิดขึ้นในขบวนการปฏิวัติของเรานี้คือ การเริ่มต้นที่มีรากฐานมาจากสาธารณรัฐน้อยๆ แห่งนี้" เขาเชื่อว่าสาธารณรัฐแห่งนี้ ได้ทำให้ทั้งชาติมีการกระทำที่มีพลัง การพูดคุยกันของเมืองได้ให้เวลาที่เราต้องการสำหรับการสะท้อน (reflection) และการพิจารณาเรื่องต่างๆ อย่างใช้วิจารณญาณ ดังที่ John Adam ได้บอกแก่ภรรยาของเขาว่า "เป็นสิ่งจำเป็นในการเป็นยาแก้สำหรับการกระทำการที่รีบเร่ง" (ซึ่งอาจล้มเหลวได้)
ความเข้มแข็งของการประชุมของเมือง กลายมาเป็นความเข้มแข็งของรัฐธรรมนูญของอเมริกา แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้กล่าวว่าสาธารณะจะแสดงตัวเองได้อย่างไร (นอกจากโดยการลงคะแนนเสียง) Thomas Jefferson มีความละเอียดอ่อนต่อการละไว้ไม่กล่าวถึงในประเด็นนี้ จึงกระตุ้นให้มีการประชุมของเมืองผ่านระบบที่เขาเรียกว่า "Ward system" เขาเข้าใจว่าหากไม่มีสถานที่สำหรับให้สาธารณะระบุสิ่งที่พวกเขาสนใจ หรือได้สร้างเสียงของตัวเองขึ้นมา รัฐบาลจะไม่สามารถปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่า "Ward system" จะไม่ถูกนำมาปฏิบัติ แต่ การประชุมของเมืองกลายเป็นประเพณีทางการเมืองของอเมริกา
การใช้วิจารณญาณสาธารณะ ยังคงดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในองค์การของภาคประชาชน และองค์กรทางการศึกษาที่จัดให้มีเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติ (National Issues Forums : NIF)
ตั้งแต่ปี 1982 ได้เกิดเวทีการใช้วิจารณญาณขึ้นในชุมชนทั่วทั้งอเมริกา ซึ่งเวทีนี้ ได้นำพลเมืองมาพิจารณา หารือกัน เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาเหล่านั้น. เวทีแบบที่ได้กล่าวมาแล้ว ที่ Bermingham, Sanfrancisco และ ที่ Grand Rapids เป็นการตอบสนองในระดับท้องถิ่น โดยเครือข่ายขององค์กร, กลุ่ม หรือศูนย์ต่างๆ ในท้องถิ่น
องค์กรเหล่านี้มักใช้ หนังสือประเด็นสาธารณะ (Issue books) ที่ Kettering Foundation และ Public Agenda ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่เป็นกลางได้จัดทำขึ้น หนังสือนี้รวบรวมประเด็นสำคัญต่างๆ จากทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ เช่น ประเด็นเกี่ยวกับ อาชญากรรม, การงาน, การดูแลสุขภาพ, สิ่งแวดล้อม และการศึกษา
หนังสือนี้ รายงานถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเวทีการใช้วิจารณญาณนับพันแห่ง เขียนถึงคำถามที่คนมักจะถามบ่อยที่สุด เมื่อตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมเวทีการใช้วิจารณญาณสาธารณะดีหรือไม่ เช่น ทำไมต้องใช้วิจารณญาณ และ วิจารณญาณสาธารณะ คืออะไร และมันแตกต่างกันอย่างไร? อะไรกันแน่ที่เกิดขึ้นในเวทีพูดคุยประเภทนี้ และ การใช้วิจารณญาณสาธารณะ ทำให้เกิดอะไรขึ้น และมันดีอย่างไร? และเราจะเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร? เป็นต้น
3. ทำไมต้องใช้วิจารณญาณ
ถ้าถามคนรุ่นเก่าของ Dorchester คำถามนี้ อาจตอบง่ายๆ ว่า "เพื่อแก้ปัญหา" ถ้าถามคำถามนี้จากประวัติศาสตร์ทั้งหมดของชาติ คำตอบอาจเป็นว่า การใช้วิจารณญาณ สร้างความเป็นสาธารณะให้กับประชาธิปไตยของอเมริกา และให้สาธารณะได้นิยาม ผลประโยชน์ของสาธารณะ แน่นอนว่ามันไม่มีที่สิ้นสุดของบทบาทของการใช้วิจารณญาณ
ถ้าถามคำถามนี้กับคนที่กำลังจะไปเข้าร่วมเวทีในวันนี้ คุณจะได้ฟังเหตุผลว่า เข้าร่วมเพื่อการพัฒนาของตัวเอง ไปจนถึงเข้าร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง. เหตุผลบางอย่างเป็นเรื่องส่วนตัว บางคนที่เข้าร่วมเวที ต้องการเรียนรู้ทักษะในการตัดสินใจแบบใหม่ ที่เขาสามารถใช้ได้ในฐานะพลเมือง เพื่อทำความเข้าใจกับประเด็นเหล่านั้นให้ดีขึ้น และเชื่อมโยงเข้ากับกระบวนการทางการเมือง หรือเพื่อรับรู้ความรู้สึกของการเป็นกลุ่มเป็นพวก พวกเขาเหนื่อยหน่ายกับการเฝ้ามองมาจากภายนอก
บางคนมีชุมชนอยู่ในใจ หรือมีบทบาทของสถาบันของเขาในชุมชน เขาอาจบอกว่า เขาต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างของภาคประชาสังคม (civic infrastructure) หรืออาจบอกว่า สถาบันของเขากำลังทำบทบาทตัวกระตุ้นในชุมชน โดยการจัดให้มีเวทีพูดคุยกัน หรือเขากำลังหาแนวทางการทำงานที่ดีกว่าให้กับองค์กร หรือสถาบันของเขา บางคนอาจเข้าร่วมเพราะสนใจในเรื่องสาธารณะ บางคนอาจเห็นว่าเวทีพูดคุยเป็นหนทางในการกระตุ้นคนให้มาทำงานเพื่อชุมชน
หลายคนอาจเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ดำเนินไปในชุมชน และการพูดคุยกันของผู้คนในชุมชน พวกเขาต้องการวิธีการพูดคุยที่แตกต่างกันออกไป เมื่อคนเราสามารถพูดกันได้ในระดับที่เท่ากัน แม้ว่าพวกเขาจะมาจากส่วนต่างๆ ของเมือง บางคนอาจบอกว่าเขาต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องเป็นศัตรูของใคร และเขาต้องการโอกาสในการได้ยินเสียงของคนอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงวิธีการพูดคุย จะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ ซึ่งสะท้อนจากทัศนะเหล่านี้
- "สิ่งที่คุณต้องการ คือ คนงานแบบฉัน และพนักงานดับเพลิงจากที่โน่น มาพูดคุยเรื่องอาชญากรรมด้วยกัน และตระหนักว่าคนอื่นๆ ไม่ได้เลวนัก เราจะหารือกัน ทัศนะคติของทั้งกลุ่มก็จะดีขึ้น"
- "ยิ่งเราเข้ามาพูดคุยด้วยกันมากขึ้น เรายิ่งพบว่าเรามีอนาคต และชะตากรรมร่วมกัน"
- อีกความเห็นหนึ่ง คือ "เราต้องการการพูดคุยที่สอนให้เราเกิดการนับถือกันและกัน หรือเรากำลังหาหนทางในการจัดการกับความขัดแย้งด้วยกัน"
ผู้คนมักมาที่เวทีพูดคุยเพื่อหาแนวทางที่แตกต่างกัน ในการจัดการกับเรื่องราวและปัญหาต่างๆ ในชุมชน พวกเขาพูดว่า "เราห่วงใยเรื่องที่ชุมชนไม่ได้เห็นเป็นประเด็นร่วมกัน เหนื่อยหน่ายกับการที่เห็นประเด็นต่างๆ ถูกตั้งขึ้นอย่างแยกส่วน เราต้องการเห็นสุนทรียสนทนา (dialogue) ที่จะช่วยเราให้จัดการกับปัญหาได้ดีขึ้น เราต้องการเข้าใจ "พื้นที่สีเทา" ของการก่อรูปของปัญหา เราต้องการเปิดถนนสายใหม่สำหรับทำบางสิ่งบางอย่าง เราต้องการหนทางที่จะจินตนาการความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่คนจะกระทำได้ หรือเรากำลังมองหา จุดยืน ในการปฏิบัติการ"
ความสนใจในงานประชาสังคม ไม่ได้ทำให้หมดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับภาครัฐ เรามักพูดว่าเรากำลังมองหาวิธีที่ดีกว่าในการปกครอง หรือวิธีที่แตกต่างออกไปในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐ คนเรามักพูดว่า พวกเขาใช้วิจารณญาณเพราะต้องการสร้างเสียงที่แท้จริงจากสาธารณะขึ้นในชุมชน และต้องการให้เจ้าหน้าที่ได้ยินเสียงเหล่านี้
ไม่ใช่คนทุกคนจะเห็นว่าการใช้วิจารณญาณมีประโยชน์ บางคนอาจพบความคับข้องใจหลังจากการเข้าเวทีพูดคุย เพราะความคาดหวังของเขาไม่เป็นที่ยอมรับ เมื่อเขาคิดว่าควรถูกยอมรับ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เชื่อว่าประโยชน์จะเกิดแบบสะสม และจะโน้มน้าวให้ผลการหารือกันของสาธารณะมีอิทธิพลในที่สุด และพวกเขาต้องการสิ่งที่ยั่งยืน ไม่เพียงการทำให้ดีขึ้น นั่นคือ เขาต้องการการเมืองที่แตกต่างออกไป
แก่นของความคิดเห็นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ การที่คนเราเห็นปัญหาที่คิดว่าต้องมีคนมากขึ้นเข้าไปร่วมกระทำ และเขาต้องการเข้าไปมีอิทธิพลมากขึ้นในการกระทำของสาธารณะต่างๆ เขาเห็นการใช้วิจารณญาณเป็นก้าวแรก ก่อนที่คนเราจะกระทำอะไรร่วมกันในนามของสาธารณะ พวกเขาต้องตัดสินใจว่า "ทำอย่างไร" ร่วมกันก่อน
4. อะไรคือ การใช้วิจารณญาณสาธารณะและมันต่างกันอย่างไร
เพื่อเพิ่มโอกาสให้เห็นว่าการตัดสินใจของเรานั้นรอบคอบ เราจึงไม่เพียงแค่ส่งเสียงพูดออกไป เพื่อโต้แย้งถึงทางแก้ปัญหา หรือทำความกระจ่างให้กับสิ่งที่เราเห็นเป็นคุณค่า เรายังต้องพิจารณาทางเลือกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องพิจารณาถึงข้อดี - ข้อเสีย ของแต่ละทางเลือก นี่คือ การกล่าวถึง การใช้วิจารณญาณอย่างย่อๆ การใช้วิจารณญาณช่วยให้เรารู้ว่าการตัดสินใจของเรานั้นเหมาะสมหรือไม่ ช่วยให้เราตัดสินใจว่า เราจะเต็มใจรับเอาผลที่ตามมาของการกระทำที่เรากำลังจะเลือกหรือไม่
การอภิปรายทางการเมืองส่วนใหญ่ มักเป็นการโต้เถียงเรื่องราวที่เป็นข่าว ทำให้การเมืองกลายเป็นการต่อสู้แข่งขันที่ไม่มีวันจบ ผู้คนถูกกวาดไปเข้าข้างไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง พลังงานทั้งหมดถูกใช้ไปกับการเลือกว่าจะเข้าข้างหรือต่อต้าน "ใคร" หรือ "เรื่องใด" ดี
การใช้วิจารณญาณนั้นแตกต่างกัน มันไม่ใช่ทั้งการโต้แย้งที่สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยพยายามจะเอาชนะฝ่ายตรงข้าม หรือการสนทนาทั่วไปในวงสนทนาแสนสุภาพทั้งหลาย แต่การใช้วิจารณญาณสาธารณะหมายถึง การที่พลเมืองได้เลือกทางเลือกเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นคุณค่าพื้นฐาน และทิศทางสำหรับชุมชนและประเทศของเขา มันเป็นหนทางของการใช้เหตุและผล และการพิจารณาใคร่ครวญร่วมกัน
เวทีการใช้วิจารณญาณในประเด็นสาธารณะระดับชาติ เป็นการสนทนาที่มีโครงสร้าง ที่ก่อรูปขึ้นมาจาก 3-4 ทางเลือก สำหรับใช้พิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่มีแค่ 2 ทางเลือกที่เป็นคนละขั้วกัน การหารือโดยการสร้างกรอบของประเด็นทำนองนี้ ทำให้ลดการพูดคุยโดยทั่วไป ที่คนมักจะด่าว่ากันและกันด้วยการโต้เถียงแบบทั่วๆ ไป
4.1 การใช้วิจารณญาณ คือ การสนทนาเพื่อการหาทางเลือก ไม่ใช่การโต้เถียงเพื่อเอาชนะ
การใช้วิจารณญาณ คือ การหาน้ำหนักของผลที่จะเกิดตามมา และค่าใช้จ่ายของทางเลือกหลายๆ ทางบนพื้นฐานของสิ่งที่มีคุณค่าจริงๆ สำหรับเรา คิดถึงวิธีการที่คนใช้ชั่งน้ำหนักทองในสมัยก่อน ผลที่ตามมาแต่ละอย่างจะมีผลต่อตาชั่งมากน้อยแค่ไหน อะไร คือ ค่าใช้จ่ายในการทำสิ่งที่เราต้องการทำ การตอบคำถามเหล่านี้ ต้องการ "การสนทนา" ที่ทำให้เราได้ค้นคว้าและทดสอบความคิดว่าเราจะกระทำการในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไร
การใช้วิจารณญาณ จะเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักความคิดเห็นของคนอื่น การรับฟังอย่างระมัดระวัง จะเพิ่มโอกาสที่ผู้อื่นจะรับฟังทางเลือกของเรา เพราะคนจำนวนมากได้นำประสบการณ์และความรู้มารวมกัน. ไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง หรือคนกลุ่มเล็กๆ ที่จะมีประสบการณ์และความรู้ที่ต้องการมาตัดสินใจว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด. นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงจำเป็นต้องมีการรวมเอากลุ่มคน เพื่อรวบรวมเอามุมมองที่หลากหลายในการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ขณะที่เรายังไม่รู้แน่นอนว่าเราตัดสินใจถูกหรือไม่ จนกว่าเราจะได้ทำตามที่ตัดสินใจนั้น การใช้วิจารณญาณบังคับให้เราต้องคาดการณ์ผลที่ตามมา และถามตัวเองว่าเรายินดีที่จะรับสถานการณ์ที่แย่ที่สุดหรือไม่ นั่นคือ การใช้วิจารณญาณทำให้เกิดการมองอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะกระโดดเข้าทำจริง
4.2 การใช้วิจารณญาณ คือการพิจารณาว่าอะไรมีค่าที่สุดสำหรับเรา ไม่เพียงแค่ "ข้อเท็จจริง" เท่านั้น
เราต้องใช้วิจารณญาณเพื่อตัดสินใจว่าเราจะกระทำอย่างไร เพื่อให้ได้รับสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด เมื่อพบกับทางเลือกที่ยากลำบาก เราพยายามที่จะหาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แน่นอนว่า "ข้อเท็จจริง" นั้น เป็นสิ่งสำคัญ แต่มันไม่พอที่จะบอกเราว่าเราควรจะทำอะไร เราใช้วิจารณญาณสำหรับคำถามเหล่านี้ เช่น "เราควรจะทำอย่างไร" เมื่อมันไม่มี "ข้อเท็จจริง" ที่แน่นอนที่จะตอบคำถามแก่เราได้ "ข้อเท็จจริง" นั้นจะบอกเราว่ามันคืออะไร และเราไม่จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณถึงสิ่งที่เรารู้แล้ว เช่น เมื่อต้องตัดสินใจเลือกทางเลือกส่วนตัว ว่าเราจะแต่งงานดีหรือไม่ คงไม่มีใครไปเปิด Encyclopedia (สารานุกรม) คำว่า "M" (marry) ดู
ดังนั้นการใช้วิจารณญาณสาธารณะ นำเราไปสู่ "ข้อเท็จจริง" ซึ่งสำคัญตามที่มันเป็นอยู่ และมากไปกว่านั้น คือสิ่งที่ไม่มีหนังสือหรือผู้เชี่ยวชาญสามารถบอกเราได้ และนั่นคือสิ่งที่มีคุณค่าจริงๆ สำหรับชีวิตเรา
เราต้องไม่สับสนถึงทางเลือกที่เราเลือกว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา เราถูกท้าทายให้คิดถึงทางเลือกที่เราชอบ เพราะประชาชนมักถูกปฏิบัติให้เป็น "ผู้บริโภคทางการเมือง" การเลือกผู้แทน หรือการออกเสียงเลือกตั้ง เห็นได้ชัดว่าเป็นเหมือนการเลือกยาสีฟัน หรือเลือกยี่ห้อซีเรียลสำหรับอาหารเช้า ที่ต้องถามถึงรสนิยมของเรา แต่ผลที่ตามมา (ถ้าเลือกผิด) ไม่ได้สำคัญนัก หากไม่ชอบเราสามารถเปลี่ยนยี่ห้อได้ตลอดเวลา ต่างจากการตัดสินใจเมื่อเราจะแต่งงานกับใครบางคน หรือการเลือกอาชีพ ซึ่งเราต้องค้นคว้าให้ลึกลงไป เพราะผลที่จะเกิดตามมานั้นใหญ่หลวง เราต้องคิดพิจารณาอย่างรอบคอบว่าอะไรจะเกิดขึ้น และจะยอมรับสิ่งนั้นได้หรือไม่ เราต้องมองเข้าไปข้างในตัวเรา เพื่อที่จะตัดสินใจว่าอะไรมีคุณค่าที่สุดสำหรับเรา เพราะการตัดสินใจนี้มีผลระยะยาวที่สำคัญที่จะเกิดตามมา
ในการตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ ดูเหมือนว่าเราถูกจูงใจจากสิ่งต่างๆ มากมายที่มีความหมายต่อชีวิตเรา เช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือวิถีแห่งการประพฤติปฏิบัติที่เราชอบด้วย เช่น การมีเสรีภาพ และโอกาสในการตระหนักถึงเป้าหมายของเรา. มีคนไม่มากนักที่ไม่ได้ดำเนินชีวิตด้วยการพิจารณาแบบนี้
ในที่นี้ อาจยกตัวอย่างประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกังวลเบื้องต้น คือ "ความปลอดภัย" ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานกว่าเรื่องระบบของอาวุธ อย่างไรก็ตาม เราถูกโน้มน้าวโดยสิ่งต่างๆ ในเรื่องความปลอดภัย เราอาจให้คุณค่าของความปลอดภัยว่าหมายถึง ความแข็งแรงกว่าศัตรู และการอยู่ไกลจากสิ่งที่เป็นอันตราย และอาจให้คุณค่าว่าความปลอดภัยมาจากการทำดีกับผู้ที่อาจเป็นอันตรายต่อเรา
คนส่วนใหญ่ถูกจูงใจไม่มากก็น้อย ด้วยคุณค่า 3 ประการดังกล่าวมาแล้วเรื่องความปลอดภัย คนส่วนใหญ่รู้สึกปลอดภัยกว่าเมื่อแข็งแรงกว่าสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อเขา หรือเมื่ออันตรายนั้นอยู่ไกลจากเขา และพวกเราส่วนใหญ่จะอยากเป็นมิตรกับคนที่มีแนวโน้มจะคุกคามเรา. ในการใช้วิจารณญาณเรื่องความมั่นคงของชาติ เราต่างรู้ดีด้วยความเจ็บปวดว่า เราไม่สามารถใช้แนวทางการใช้วิจารณญาณเพื่อให้ได้นโยบายที่มีเหตุมีผลได้ แต่เราต้องตัดสินใจภายใต้แรงจูงใจที่ปะทะกัน
4.3 รากฐานของการใช้วิจารณญาณ คือ การวางกรอบประเด็นปัญหา ให้เป็น ภาษาที่ใช้ทั่วไป
สิ่งที่เป็นประเด็นขณะที่เรากังวลเรื่องคุณค่า คือ แรงเสียดทาน หรือข้อขัดแย้งต่อคุณค่านั้น ดังนั้น เราจึงยังไม่สามารถเริ่มใช้วิจารณญาณ จนกว่าเราจะวางกรอบของประเด็นปัญหา ในแนวทางที่เราเห็นว่ามีค่ายิ่ง นั่นคือ เรื่องที่เป็นความกังวลในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป หรือ การวางกรอบปัญหาให้เป็นประเด็นสาธารณะ นี่คือเหตุผลว่าทำไมหนังสือของเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติ เริ่มต้นด้วยเรื่องที่สาธารณะกำลังสนใจ
โชคไม่ดี คนอเมริกันมักพบประเด็นปัญหาที่ถูกวางกรอบด้วย "ภาษาต่างประเทศ" ที่เป็นศัพท์เทคนิค หรือศัพท์แสงทางการเมือง ที่เข้าใจยากสำหรับสาธารณะ ช่องว่างที่กว้างนี้ ทำให้ประเด็นที่มีการนำเสนอกับประเด็นที่ผู้คนจะได้เรียนรู้แยกออกจากกัน นั่นทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นเหล่านั้น กับสิ่งที่พวกเขาเห็นว่ามีค่ามาก
ในที่นี้จะยกตัวอย่างกรณีของการหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติด กล่าวคือ เมื่อคนส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับครอบครัว มากกว่าที่จะเป็นปัญหาในแง่ของการใช้กฎหมาย หรือการป้องกันไม่ให้ยาเสพติดเข้าประเทศ มุมมองเช่นนี้ทำให้สถานบันครอบครัวและความรับผิดชอบส่วนบุคคล กลายมาเป็นกรอบในการมองและเข้าใจปัญหา รวมไปถึงการ "ตั้งชื่อ" ปัญหา ซึ่งจะไปมีผลกำหนดว่าใครควรจะเข้ามาเกี่ยวข้อง และแนวทางการแก้ไขจะเป็นอย่างไรด้วย
4.4 การจัดการกับความขัดแย้ง
การวางกรอบประเด็นปัญหาให้เป็นประเด็นสาธารณะ ได้กำหนดขั้นตอนการเผชิญหน้ากับแรงจูงใจที่ขัดแย้งกัน เมื่อเรามีหลายสิ่งที่เราเห็นเป็นคุณค่า และสิ่งเหล่านั้นจะดึงเราไปในทิศทางที่ต่างๆ กัน เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจะลงมือปฏิบัติอย่างไร การจัดการกับความขัดแย้ง หรือความตึงเครียดนี้ ทำให้เกิดความยากลำบากในการเลือกทางเลือก นี่คือเหตุผลว่าทำไมเวทีการใช้วิจารณญาณต้องย้ำกับผู้เข้าร่วมว่ามีสิ่งที่ต้องทำ (คือ การพิจารณาอย่างใคร่ครวญ) ในการหารือ
ตัวอย่าง เช่น เมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาพ เราต้องการการดูแลรักษาที่ดีที่สุด ขณะเดียวกันเราก็ต้องการการดูแลรักษาที่ทุกคนสามารถจ่ายได้มากที่สุด แต่ยิ่งการดูแลที่ดีขึ้นเท่าไร ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น นั่นหมายถึง จะมีคนเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพได้น้อยลง นโยบายใดก็ตามที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบก้าวหน้า ต่างเผชิญกับปัญหาชวนลำบากใจเช่นนี้เสมอ ไม่ว่าทางเลือกใดก็ตามที่มาจากประเด็นทำนองนี้ ต่างมีด้านบวกและด้านลบต่อสิ่งที่เราเห็นเป็นคุณค่าทั้งสิ้น
ความขัดแย้งที่เราต้องจัดการในการแสวงหาทางเลือก ไม่ใช่เพียงความขัดแย้งระหว่างปัจเจก หรือระหว่างผลประโยชน์ เหมือนการที่นักสิ่งแวดล้อมต่อต้านนักพัฒนา หรือพวกอนุรักษ์นิยมต่อต้านพวกเสรีนิยม คนที่มีความคิดแตกต่างกันเช่นนี้ ก็ยากที่จะไปเปลี่ยนความคิดให้คิดเหมือนกัน แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ เราส่วนใหญ่น่าจะความคิดคล้ายๆ กัน ลองคิดถึงเรื่องความปลอดภัย ที่ได้กล่าวมาแล้ว และแรงจูงใจพื้นฐานที่ปรากฏอยู่ในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแรงจูงใจทางการเมืองร่วมกัน แต่เราก็ต่างใช้ หรือปฏิบัติการต่อสิ่งที่เราเห็นว่ามีคุณค่าต่างกัน ลองคิดดูว่าในคืนวันศุกร์ พ่อบ้านกลับจากที่ทำงานช้ากว่าปกติ และด้วยความเหน็ดเหนื่อย ภรรยาที่ทำงานหนักมาทั้งสัปดาห์อยากให้พาออกไปทานอาหารนอกบ้าน ลูกๆ ต้องการให้พาออกไปดูหนัง แม่ยายโทรศัพท์มาชวนให้ไปทานข้าวที่บ้าน และวางโทรศัพท์ได้ไม่นาน เจ้านายก็โทรมาบอกว่าอยากให้ไปที่ทำงานอีกซัก 2 ชั่วโมง ชีวิตแต่งงาน, ลูก, งาน และแม่ยายของเขา ต่างเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเขาทั้งสิ้น แต่เขาก็ต้องตัดสินใจเลือกว่าควรจะทำอะไรสำหรับคืนนี้ เราไม่สามารถแก้ปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ด้วยการทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราชอบที่สุด ขณะเดียวกันเราก็ไม่สามารถทำทุกอย่างที่ทุกคนอยากให้ทำ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีอำนาจใดที่จะให้คำตอบที่ถูกต้องแก่เราได้ ขณะที่เราก็ไม่สามารถหนีจากภาวะลำบากใจดังกล่าว ในการที่ต้องพิจารณาถึงสิ่งที่จะตามมาได้ แต่อีกด้านหนึ่ง เราก็ต้องทำงานหนักเพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้ได้
นี่คือสิ่งที่คล้ายกันมากกับภาวะลำบากใจที่เราพบในเรื่องสาธารณะ เมื่อต้องเลือกทางเลือกเรื่องนโยบายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่เห็นขัดแย้งกัน ไม่มีทางหลีกเลี่ยงอุปสรรคในสิ่งที่เราสามารถทำได้ ไม่มีการหลีกเลี่ยงความรู้สึกที่จะเกิดจากภาวะลำบากใจเหล่านั้น ขณะที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเหล่านี้ได้ การปรึกษาหารือ การใช้วิจารณญาณ ช่วยให้เราตระหนักว่าความตึงเครียด หรือความขัดแย้งระหว่างหรือภายในตัวเรานั้นมีไม่มาก ซึ่งจะช่วยให้เราฝ่าด่านช่วงของอารมณ์ที่รุนแรงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ ได้
4.5 ข้อจำกัดของการฝ่าด่านความขัดแย้ง คือ การรวมเอาเหตุผลและอารมณ์
การฝ่าด่าน (work through) คือ การอธิบายกระบวนการทำงานเพื่อการตัดสินใจ ที่เราต้องก้าวผ่านอารมณ์ความรู้สึกของการตอบสนองขั้นต้น เพื่อไปถึงจุดที่เราควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ พอที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกได้อย่างเหมาะสมเพื่ออนาคตของเรา เมื่อเราต้องเผชิญกับเรื่องค่าใช้จ่ายและผลที่จะเกิดตามมาของทางเลือกทางใดทางหนึ่ง เรามักจะตอบสนองด้วยอาการช็อคเหมือนกับความรู้สึกสูญเสียที่เกิดยามที่เราตกอยู่ในภาวะวิกฤตของตัวเอง
มีตัวอย่างเรื่องชายวัย 50 เศษคนหนึ่ง ที่เพิ่งพบว่าเขาจะไม่ได้เงินบำนาญเมื่อเกษียณอายุ ตอนแรกเขาโกรธ, ไม่เชื่อ, สงสัย และสุดท้ายซึมเศร้า เมื่อเวลาผ่านไป เขาเริ่มสงบใจลงโดยการฝ่าด่าน (work through) วิกฤตนี้ เขาอาจพบแหล่งรายได้อื่นๆ หรือการแลกเปลี่ยนกับบางสิ่งบางอย่างที่จะทำให้เขาอยู่ได้ดีที่สุด ในที่สุดเมื่อเขาได้จัดการความคิดเขาใหม่ และหลุดพ้นจากพายุอารมณ์ ทำให้เห็นหนทางที่เป็นไปได้สำหรับเขาที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง
ในการใช้วิจารณญาณสาธารณะ เราคนจะต้องทำงานผ่าน หรือฝ่าด่าน การเปรียบเทียบผลที่จะตามมา ที่เกิดจากการตัดสินใจในทุกนโยบาย การทำงานนี้ต้องการปรึกษาหารืออย่างใคร่ครวญ ไม่ใช่เพียงการพูดถึงเรื่องนั้นๆ เท่านั้น
5. อะไรคือผลผลิตของการใช้วิจารณญาณ
5.1 การเปลี่ยนแปลงของคน
ผลที่เกิดเบื้องต้นสุดคือ การเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล คนเหล่านั้นบอกว่า พวกเขาพบว่าจัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้นคือ เขาสามารถพิจารณาเรื่องนั้นๆ ในบริบทที่กว้างขึ้น และเห็นความเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ ได้ ทั้งหมดนี้ ช่วยให้เขาเข้าใจความหมายที่แท้จริงของประเด็นดังกล่าว ทำให้เราสามารถพิจารณาคำถามเกี่ยวกับนโยบายได้โดยยืนอยู่บนความจริงมากขึ้น ขอบเขตของผลประโยชน์ส่วนตัวมีแนวโน้มที่จะกว้างขึ้น ประสบการณ์ในการสนทนาอย่างการใช้ปรึกษาและวิจารณญาณกับคนอื่นๆ ทำให้เกิดความมั่นใจขึ้น เขารู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของความคิดเห็นนั้น และสามารถแสดงออกมาได้
จากการศึกษาขององค์กร Public Agenda พบว่า 53% ของผู้เข้าร่วมเวที เปลี่ยนใจจากความคิดในตอนแรกหลังจากเข้าร่วมเวที และ 71% แม้จะไม่เปลี่ยนความคิดเห็นก็ตาม แต่เกิดการคิดทบทวนเกี่ยวกับความคิดเห็นของตน อีก 78% พบว่าพวกเขาได้เผชิญกับความคิดเห็นที่แตกต่างจากของตน และพบว่าความคิดเห็นเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ดี
เวทีพูดคุยเพียงครั้งเดียวจะไม่เปลี่ยนความเชื่อที่ฝังรากลึก เช่นเดียวกับการไปยิมเนเซียมเพียงครั้งเดียว จะไม่ทำให้เราเชื่อถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย แต่คนที่ได้เข้าร่วมหลายๆ เวทีที่มีการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนี้ เริ่มสนใจอ่านและฟังข่าวมากขึ้นในมุมมองที่ต่างออกไป โดยมีการมองถึงทางเลือกและผลที่ตามมา รวมทั้งมีการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะมากขึ้น บางทีการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของเราต่อความคิดเห็นของคนอื่น อาจทำให้มองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆ มากขึ้นในการที่จะทำงานร่วมกัน คนเข้าร่วมเวทีพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณ เห็นตัวเองเป็นผู้ลงมือกระทำ มากกว่าเป็นเพียงแค่คนคอยดูเท่านั้น
การศึกษาผลที่ได้จากเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติ รายงานว่า คนเราเรียนรู้ว่าเขาสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้ และสามารถพูดอะไรที่มีเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้ รวมทั้งแสวงหาการตัดสินใจที่มีความสมเหตุสมผลว่าจะต้องทำอะไรได้ และเมื่อคนมีการคิดอย่างใช้วิจารณญาณ เขาจะพบว่าไม่มีการเสียหน้า หรือมีใครที่จะต้องถูกตำหนิ นั่นคือ "ปัญหา" เกิดนอกอาณาบริเวณของความขัดแย้ง เช่น พลเมืองที่คิดอย่างใช้วิจารณญาณ จะมองเห็นว่าความต้องการที่จะให้รัฐต้องจ่ายเพิ่มเติม โดยไม่เพิ่มการเก็บภาษี มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการขาดดุลงบประมาณ เวทีการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนี้ กระตุ้นให้คนคิดว่าเขาต้องรับผิดชอบต่อส่วนสำคัญของปัญหาของเขาเอง เมื่อเขาสามารถสร้างปัญหาได้ เขาก็ต้องสามารถริเริ่มที่จะจัดการกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 การเข้าร่วมกับสาธารณะ และความเป็นสาธารณะ
การใช้วิจารณญาณทำให้คนเริ่มก้าวแรกในการเข้าร่วมกับประเด็นสาธารณะ และยังเชื่อมคนเข้าด้วยกัน รวมทั้งสร้างพื้นที่สาธารณะ ที่ทำให้คนเข้ามาร่วมกันจัดการกับปัญหาร่วมของตน นักวิจัยจาก Harwood group ได้ถามผู้คนว่าอะไรคือมูลเหตุที่พวกเขาตัดสินใจเข้าร่วมหารือในประเด็นสาธารณะ คำตอบคือ พวกเขามองหาการพูดคุยที่เปิดกว้างและใช้วิจารณญาณ เขาต้องการที่จะพิจารณาทางเลือก และมุมมองของคนอื่นๆ ด้วยความระมัดระวัง พวกเขาต้องการทดสอบความคิด ไม่เพียงการลงคะแนน พวกเขาต้องการจะพิจารณาด้านที่เป็นสีเทาของประเด็น ที่ปกติมักจะถูกนำเสนอด้วยสีดำและขาวเท่านั้น เขาคาดหวังที่จะให้อารมณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางการเมืองได้แสดงออกมา แต่ไม่ใช่การแสดงอารมณ์โกรธเกลียด ซึ่งก่อให้เกิดการโต้เถียงแบบสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างขาดเหตุผล คำตอบเหล่านี้ แม้พวกเขาจะไม่ได้กล่าวคำว่า การใช้วิจารณญาณตรงๆ ออกมา แต่เขาก็กำลังมองหามันอยู่
ชาวอเมริกันใช้การสนทนาแบบใช้วิจารณญาณ ไม่เพียงเพื่อเข้าใจประเด็นปัญหา แต่เพื่อการตัดสินใจว่าเขาจะต้องกระทำอย่างเป็นสาธารณะหรือไม่ สถานการณ์ที่อาจกระตุ้นปัจเจกให้มีการกระทำทางการเมือง เช่น การพบเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิตยาเสพติดในละแวกบ้าน, ความกังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับลูกที่โรงเรียน, การเห็นคราบน้ำมันที่ชายหาด, คนที่มีประสบการณ์แบบนี้ ต้องหาคนอื่นที่มีความห่วงใยร่วมกันที่เห็นว่าปัญหานี้กระทบคุณค่าของเขาด้วย เขาต้องหาว่าเขาจะมีคนมาช่วยคิดและทำเกี่ยวกับปัญหานี้เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เขาจึงจะเข้าร่วมเวทีใช้วิจารณญาณ
ขณะที่การใช้วิจารณญาณ ถูกนำเสนอให้เหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในเวทีเท่านั้น ความจริง การใช้วิจารณญาณมีรากฐานมาจากการสนทนาทั่วๆ ไป อาจเกิดขึ้นกับเพื่อนบ้านที่มีรั้วหลังบ้านที่ใช้ร่วมกัน คนเราอาจเริ่มจากเรื่องส่วนตัว เพื่อดูว่ามันเกี่ยวกับคนอื่นๆ หรือไม่ การสนทนาอาจเปลี่ยนไปเป็นการประชุมของละแวกบ้าน หรือการประชุมในระดับเมือง อาจเป็นการพูดคุยเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ แต่ท้ายที่สุด คนจะไปถึงการตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไรหรือไม่ และถ้าทำ จะต้องทำอย่างไร. ในกระบวนการพูดคุย คนที่เป็นปัจเจกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันจะกลายเป็นสาธารณะ ปัจเจกที่มีปัญหาต่างๆ ร่วมกัน และมารวมตัวในการหาหนทางที่จะทำงานด้วยกัน เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านั้น
5.3 ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
การตัดสินใจร่วมกันในการใช้วิจารณญาณ เป็นการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสาธารณะ คนเรามักรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนได้เข้าร่วมในการเลือกมากกว่าในสิ่งที่คนอื่นเลือกให้ การตัดสินใจในฐานะสาธารณะหรือส่วนรวม เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่ออนาคตของตัวเอง
5.4 ความรู้ใหม่
การใช้วิจารณญาณทำให้คนทำในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้โดยปัจเจก แต่ต้องทำในฐานะสาธารณะเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการผลิต "ความรู้" ที่นักวิชาการเรียกว่าเป็นความรู้ที่สังคมเป็นผู้สร้างขึ้นมา (socially constructed knowledge) ซึ่งไม่สามารถหาได้จากผู้เชี่ยวชาญใดๆ ความรู้นี้ประกอบด้วยสิ่งที่เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องเข้าร่วมกับผู้อื่น จะไม่เกิดขึ้นตามลำพัง อาจเรียกว่า "ความรู้ที่เป็นสาธารณะ" ซึ่งจะบอกเราว่า
- สาธารณะพิจารณาประเด็น หรือกรอบของประเด็นที่แต่ละคนใช้ในการมองปัญหานี้ว่าอย่างไร
- อะไรคือสิ่งที่คนเหล่านั้นเห็นเป็นคุณค่า และอะไรคือความตึงเครียด หรือความขัดแย้งที่สำคัญของประเด็นเหล่านั้น
- อะไรคือสิ่งที่คนเต็มใจหรือไม่เต็มใจทำเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น อะไรคือค่าใช้จ่าย และผลที่ตามมาที่รับได้และที่รับไม่ได้
- มีอะไรที่เป็นความรู้สึก หรือทิศทางร่วมของชุดการกระทำนั้นๆ บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ร่วมกันดังกล่าว (ถ้ามี สิ่งนั้นคือ "ข้อตกลงร่วม" ที่จะกระทำโดยที่สาธารณะจะให้การสนับสนุน)
การใช้วิจารณญาณผลิตความรู้ที่เป็นสาธารณะ โดยการสังเคราะห์ประสบการณ์ และมุมมองที่แตกต่างกัน ให้เป็นกรอบของความหมายร่วมกัน
ลองจินตนาการดูว่าคุณและเพื่อนๆ ยืนอยู่รอบตึกแห่งหนึ่ง พยายามที่จะประเมินสภาพของตึก เพื่อตัดสินใจว่าควรจะซ่อมแซมตึก หรือทำลายมันเสีย คุณอาจให้เพื่อนแต่ละคนไปตรวจสอบตึกแต่ละด้าน แล้วกลับมาให้ความเห็นว่าควรทำอย่างไรกับตึกหลังนั้น แต่ละคนก็จะรายงานตามที่ได้เห็นจากด้านใดด้านหนึ่งของตึก คนหนึ่งอาจเห็นว่าทางเข้าได้รับการซ่อมแซมดีแล้ว อีกคนอาจเห็นผนังด้านหลังที่ผุพัง แม้ทั้งกลุ่มจะสามารถออกเสียงได้ว่าควรทำอะไรกับตึกนั้นดี แต่ก็เป็นเพียงการเปิดเผยสิ่งที่ได้เห็นโดยคนกลุ่มใหญ่เท่านั้น. แต่อีกทางหนึ่ง คนในกลุ่มอาจแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสะท้อนสิ่งที่ได้เห็น แล้วผนวกเข้ากับของคนอื่นๆ รวมมุมมองต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ นั่นคือ ภาพรวมของทั้งอาคาร ซึ่งแตกต่างกับที่ต่างคนต่างเห็นมาเพียงด้านเดียว ทำให้ทั้งกลุ่มได้เห็นภาพรวมทั้งหมดร่วมกันอีกครั้ง
การใช้วิจารณญาณนั้นเป็นมากกว่าการอดทน หรือยอมรับได้ต่อความแตกต่าง แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากความแตกต่าง โดยที่ไม่ได้ทำลายความแตกต่างของปัจเจก ในการที่ต้องมาหลอมรวมกัน เป็นการสร้างภาพใหม่ของสิ่งทั้งหมดบนมุมมองที่ผสานเข้าด้วยกัน
5.5 เปลี่ยนความคิดเห็น (opinion) มาเป็นการตัดสิน (judgment)
ความรู้ที่เป็นสาธารณะ และการได้มาของมัน มีวัตถุประสงค์ที่ทำได้จริงมาก มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจกและสาธารณะ บ่อยครั้งที่สามารถเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นส่วนตัว มาเป็นความคิดเห็นร่วมของสาธารณะได้
สำหรับในระดับประเทศแล้ว การเปลี่ยนความคิดเห็นมาเป็นการตัดสินนั้น เป็นไปได้ช้าและต้องมีขั้นตอน. ในยุคแรกๆ ของการอภิปรายกันทางการเมือง การก่อรูปของความคิดเห็นเป็นไปได้ไม่ดีและไม่แน่นอน ทำให้เมื่อคนเริ่มรับรู้เกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ พวกเขาจะมีปฏิกิริยาตอบสนองตามความรู้สึกแรกที่เกิด ซึ่งเป็นไปอย่างไม่ค่อยมีข้อมูล ความคิดเห็นนี้จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาวันต่อวัน ทั้งนี้เพียงแค่การรับรู้ต่อเรื่องนั้น ยังถือว่าห่างไกลจากความแน่นอนและไม่อยู่กับร่องกับรอยของการตัดสินใจของสาธารณะ เพราะยังมีอุปสรรคมากมาย เช่น การตำหนิคนอื่น และหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากๆ
การที่คนเราต้องค้นคว้าทางเลือกที่หลากหลาย หรือต้องเอาชนะธรรมชาติของการต่อต้าน ที่ต้องเผชิญกับสิ่งที่ต้องแลกมาด้วยราคาแพง ทำให้พวกเขาต้องพิจารณาอย่างจริงจังทั้งด้านบวกและลบของทางเลือกเหล่านั้น และในที่สุด เขาต้องเลือกจุดยืนที่ทั้งฉลาดและสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาที่ยาวนาน
ขณะที่การแยกระหว่างความคิดเห็นและการตัดสิน มักไม่ค่อยได้ทำ แต่ความแตกต่างระหว่าง 2 สิ่งนี้ เป็นเรื่องสำคัญ เวทีที่บอกกล่าวความคิดเห็นของผู้คนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่เหมือนกับเวทีพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณ ที่มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของสาธารณะ (public judgment) ขึ้นในหมู่ผู้คน
การใช้วิจารณญาณสามารถกลั่นการตัดสินใจ จากการเป็นเพียงความคิดเห็น ปัญหาเกี่ยวกับความคิดเห็นของสาธารณะคือ บ่อยครั้งที่มักจะขัดแย้งกันเอง และผู้เสนอความคิดไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมา เช่น ความคิดเห็นของสาธารณะที่ว่ารัฐบาลควรให้การบริการสาธารณะให้มากขึ้น แต่ความคิดเห็นเดียวกันนี้ยืนยันเช่นกันว่า ไม่ควรขึ้นภาษี ความขัดแย้งในเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจน และต้องมีการจัดการก่อนที่ใครจะเห็นเป็นเรื่องจริงจัง
กรณีนี้สะท้อนความคิดเห็นของสาธารณะที่มองประโยชน์ระยะใกล้ อย่างเช่น การลดภาษี อาจหมายถึงรายได้ส่วนบุคคลที่มากขึ้น แต่ผลต่อโรงเรียน, สวัสดิการสังคม, และทางหลวง ซึ่งเป็นบริการสาธารณะจะแย่ลง เพราะขาดเงินไปปรับปรุง เรายินดีที่จะรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการได้ลดภาษีหรือไม่ ไม่มีใครรู้ว่าการตัดสินใจของสาธารณะจะเป็นอย่างไร จนกว่าเขาจะเผชิญกับด้านตรงข้าม และผลระยะยาวของมัน นี่คือ หน้าที่ของการใช้วิจารณญาณ
ในระยะยาว การใช้วิจารณญาณสาธารณะดูเหมือนจะได้ทำในสิ่งที่ควรทำ ทั้งนี้ขึ้นกับการวิเคราะห์การตอบสนองของสาธารณะ ต่อคำถามนับพันที่มีต่อนโยบายต่างๆ ในช่วง 50 ปีนี้ มีนักวิจัยด้านความคิดเห็นของสาธารณะ 2 คน คือ Benjamin Page และ Robert Shapiro พบสิ่งที่ตรงข้ามกันกับการรับรู้ที่ว่า "พลเมืองนั้นไม่มีเหตุผล, ไม่อยู่กับร่องกับรอย และเปลี่ยนใจบ่อย" คือพบว่า ทัศนคติของสาธารณะที่ก่อรูปมานานนั้น มีความมั่นคง, มีเหตุผล และเสถียร เขาพบว่าทัศนคติของสาธารณะนั้น ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงในภาวะแวดล้อม ทัศนคติสาธารณะที่มีเหตุผลนี้ ได้จากการที่ผู้คนมีเหตุผลที่ชัดเจนสำหรับมัน และมุมมองของสาธารณะนั้นคงเส้นคงวาในนโยบายที่พวกเขาเห็นด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นคุณค่า
6. เราทำอะไรได้บ้างจากผลผลิตของการใช้วิจารณญาณ
แม้คนอเมริกันจะถูกโน้มน้าวว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะผลิตบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา แต่พวกเขายังต้องการรู้ว่าจะทำอะไรได้กับสิ่งที่ผลิตขึ้นมานั้น หลายคนถามว่าการพูดคุยของสาธารณะแบบนี้ มีบทบาทอะไรบ้างในการกำหนดนโยบายของชาติ คนอื่นๆ สนใจว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะ อาจมีผลต่อกิจกรรมของชุมชนได้
กล่าวโดยสรุปแล้ว ผลผลิตของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ ใช้ได้ 2 ประการ คือ
(1) เพื่อให้เกิดการกระทำที่ทำโดยสาธารณะ (public action) และ
(2) เพื่อทำให้เกิดอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาล
ในกระบวนการของการใช้วิจารณญาณสาธารณะ ยังช่วยเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ที่มักไม่ค่อยดีนักระหว่าง "สาธารณะ" กับ "เจ้าหน้าที่รัฐ" ให้ดีขึ้นได้ด้วย
6.1 การกระทำที่ทำโดยสาธารณะ
ประชาธิปไตยขึ้นกับการกระทำที่ทำโดยสาธารณะ ซึ่งต่างจากการกระทำของกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การกระทำที่ทำโดยสาธารณะนี้จะสอดประสานกันมากกว่าที่จะชี้ขาดว่าต้องเอาสิ่งใด แล้วไม่เอาอีกสิ่งหนึ่ง ทั้งยังไม่เหมือนกับการกระทำของรัฐบาลหรือสถาบันต่างๆ ซึ่งมักจะมีแบบแผนตายตัวและเป็นเส้นตรง มีการประสานงานโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และความสัมพันธ์มักเป็นไปในแนวดิ่ง จากเจ้าหน้าที่ลงไปสู่ประชาชน และจากประชาชนขึ้นสู่เจ้าหน้าที่
แต่การกระทำที่ทำโดยสาธารณะจะเต็มไปด้วยความหลากหลายของผู้คน ที่ต่างมาทำหน้าที่ของตน ความสัมพันธ์จึงมักเป็นไปในแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง เป็นการกระทำที่เคียงบ่าเคียงไหล่กันของประชาชนกับประชาชน การกระทำที่ทำโดยสาธารณะมักมีการประสานงานที่ไม่ต้องจัดการ แต่ก็ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้ เพราะการกระทำทั้งหมดตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่สัมพันธ์กัน
การกระทำที่ทำโดยสาธารณะจะไม่เป็นเส้นตรง ที่เริ่มต้นจากจุดหนึ่ง แล้วไปสิ้นสุดที่อีกจุดหนึ่ง ตัวอย่างของชุดกิจกรรมเหล่านี้ จึงมักเป็นภาพของประชาชนทำงานด้วยกันเพื่อปรับปรุงสวนสาธารณะ โดยการที่ทุกคนเข้าร่วมกันทำความสะอาดและปลูกต้นไม้ การกระทำที่ทำโดยสาธารณะมีพลังมาก เพราะแต่ละคนต่างเติมเต็มซึ่งกันและกัน ทำให้พลังรวมทั้งหมดยิ่งใหญ่กว่าการรวมกันแบบธรรมดาๆ ของพลังแต่ละส่วน
หากปราศจากการกระทำของสาธารณะแล้ว การกระทำจากหน่วยงาน หรือสถาบันอย่างเดียวมักไม่ได้ผล ลองคิดดูว่าการดูแลกันเองในละแวกบ้าน ช่วยการทำงานของตำรวจได้อย่างไร และลองคิดดูถึงผ้าชิ้นดีๆ เช่น แขนเสื้อแจ็กเก็ตของคุณ ซึ่งเกิดจากการถักทอกันของทั้งเส้นด้ายในแนวตั้งและแนวนอนนั้น สอดประสานกันเป็นชิ้นผ้าได้อย่างไร หากไม่เช่นนั้นแล้วข้อศอกของคุณคงโผล่ออกมาทุกครั้งที่คุณงอแขนเป็นแน่
อะไรทำให้เกิดหรือเติมเต็มการกระทำที่ทำโดยสาธารณะ คำตอบคือ การใช้วิจารณญาณสาธารณะ แม้ว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะ อาจไม่ได้จบลงด้วยข้อตกลงที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด แต่มันสามารถชี้ทางที่เฉพาะเจาะจง และให้พื้นฐานในการระบุวัตถุประสงค์ร่วมกันได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ร่วมกันนี้ ให้โอกาสแก่การกระทำที่หลากหลาย ที่ไปด้วยกันหรือส่งเสริมกันและกัน เพราะต่างมีวัตถุประสงค์เดียวกัน หากปราศจากวัตถุประสงค์และทิศทางร่วมกันแล้ว คงไม่มีการควบคุมใดๆ สามารถรักษากิจกรรมต่างๆ ให้มุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันได้
ลองคิดดูถึงการจัดงานเลี้ยงกลางคืนแบบให้ต่างคนต่างนำอาหารมาเอง อะไรที่ทำให้อาหารทุกอย่างที่แต่ละคนนำมาไม่มีเพียงของหวาน นั่นคือ การที่คนเหล่านั้นหารือกันก่อนว่าใครจะนำอาหารชนิดใดมา แล้วจึงแบ่งกันทำอาหารแต่ละอย่าง ไม่มีใครต้องมาควบคุมการจัดเลี้ยงแบบนี้ ไม่มีการเซ็นต์สัญญาในการทำงานร่วมกัน แต่การเลี้ยงอาหารแบบนี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะคนเหล่านั้นรู้ว่าคนอื่นจะทำอะไรมา และไม่ต้องบอกว่าตนจะต้องเอาอะไรมา
6.2 แสวงหาหนทางที่จะทำงานร่วมกัน แม้เราจะไม่เห็นด้วยทั้งหมดก็ตาม
ความรู้สึกถึงการมีทิศทางร่วมและเป้าประสงค์ที่ต้องพึ่งพิงกันดังอธิบายไปในข้างต้นนั้น เป็นพื้นฐานร่วมสำหรับการกระทำการร่วมกัน (common ground for action) ซึ่งมีความสำคัญในการแยกแยะระหว่างการมีความเห็นร่วมกัน กับการประนีประนอม ในความเห็นส่วนที่แตกต่าง
แรกสุดพื้นฐานร่วมสำหรับการกระทำการร่วมกันนี้ ไม่เหมือนกับการมีอะไรเหมือนๆ กัน อย่างเช่น ความรักที่มีต่อแมว และไม่เหมือนกับการประนีประนอม ที่คนๆ หนึ่งต้องการสิ่งหนึ่ง แต่ยอมรอมชอมความแตกต่าง โดยการพบกันครึ่งทาง และไม่ใช่การยินยอมหรือการมีข้อตกลง ที่ทุกคนต้องการสิ่งเดียวกัน. ในขณะที่ การมีความเห็นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแม้จะเป็นสิ่งที่วิเศษสุด แต่บ่อยครั้งที่ชุมชน มักต้องแก้ปัญหาร่วมกับผู้คนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถหาข้อตกลงใดๆ ร่วมกันได้เลย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความก้าวหน้าเกิดขึ้น
การใช้วิจารณญาณ ช่วยเราในการค้นหาว่าอะไรที่อยู่ระหว่างสิ่งที่ตกลงกันได้ และสิ่งที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เราส่วนใหญ่เผชิญอยู่ตลอดเวลา น้อยครั้งมากที่เราจะเห็นพ้องต้องกันไปหมดทุกอย่าง แม้กับคนที่ใกล้ชิดที่สุด แต่เราก็ไม่ได้ขัดแย้งไปหมดเช่นกัน เราอยู่ระหว่างกลาง และนี่คือการที่การใช้วิจารณญาณช่วยให้เราระบุว่าเราจะสามารถอยู่ร่วมกับอะไรได้บ้าง
6.3 สร้างอิทธิพลต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ถึงความเป็นไปได้ทางการเมือง
มีคำถามหนึ่งที่หลายคนชอบถาม คือ เจ้าหน้าที่รัฐสนใจเรื่องการใช้วิจารณญาณสาธารณะหรือไม่ แน่นอนว่า การใช้วิจารณญาณให้ความรู้ที่เป็นสาธารณะ ซึ่งเป็นที่ต้องการของเจ้าหน้าที่ และไม่สามารถหาได้จากแหล่งอื่นๆ ทั้งนี้มีงานวิจัยที่แสดงว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือแบบนี้จากสาธารณะ แต่โชคไม่ดีที่ว่าเรามักไม่เชื่อเช่นนี้ ความเข้าใจผิดของทั้งสองฝ่ายเติบโตจากความแตกต่าง ของการที่คนในและคนนอกหน่วยงานรัฐเห็นบทบาทตัวเอง และการขาดโอกาสที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์นี้
เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เชื่อว่าพวกเขารับภาระความรับผิดชอบในการพัฒนา และลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา พวกเขาเห็นตัวเองมีบทบาทเป็นผู้ปกครอง. ผลประโยชน์ของสาธารณะที่แท้จริง การมีความรับผิดชอบ หมายความถึงการจัดการสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนรับเอาแนวทางแก้ปัญหาที่เจ้าหน้าที่เตรียมมาให้ และมีการสร้างฐานสนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการทำงานผ่านสื่อ เพื่อให้มั่นใจว่าการช่วยเหลือทำได้อย่างครอบคลุม ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ตลอดกระบวนการของการให้ความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่พยายามที่จะปรับทัศนคติของสาธารณะ และปริมาณของสาธารณะที่เข้าร่วม นั่นคือสิ่งที่เจ้าหน้าที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องในการทำงานกับสาธารณะ แต่นี่ไม่ใช่บทบาทที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าควรเป็น ประชาชนมีความรู้สึกว่าไม่ต้องการ "ถูกจัดการ" มากขึ้น หรือไม่ต้องการถูกปฏิบัติเหมือนเป็นลูกค้า หรือได้แนวทางการแก้ปัญหาแบบสำเร็จรูปที่คนอื่นคิดให้
น่าขันเมื่อมองจากมุมของประชาชน ยิ่งเจ้าหน้าที่ทำตัวเป็นผู้ปกครองมากเท่าไร ประชาชนก็จะยิ่งต่อต้านมากเท่านั้น ผู้ปกครองอาจไม่ต้องการให้ประชาชนทำอะไรมากไปกว่าการมาออกเสียงเลือกตั้ง แต่ประชาชนกลับเห็นว่าไม่เพียงพอที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองเพียงเท่านั้น และในสถานการณ์หนึ่ง เมื่อหน้าที่ของผู้ปกครองไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องเผชิญอยู่จริง พวกเขามักเจอกับปัญหาที่ธรรมชาติของปัญหาไม่ชัดเจน ทั้งยังไม่มีการระบุเป้าหมายและคุณค่าของสาธารณะ รวมทั้งมีความขัดแย้งในประเด็นปัญหานั้นๆ ด้วย นี่คือเวลาที่พวกเขาต้องการสาธารณะ แต่เจ้าหน้าที่มักอยู่ในภาวะคับข้องใจเมื่อเกิดสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยน ในสถานการณ์ที่สาธารณะไม่มีข้อสรุปว่าพวกเขาจะเลือกทางเลือกใด และบางครั้งทำอะไรไม่ได้ ในภาวะที่มีการแช่แข็งทางการเมือง เพราะความไม่ลงตัวของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งทำให้กลไกการทำงานของรัฐบาลติดขัด
ในสถานการณ์เช่นนี้ เจ้าหน้าที่ต้องการประชาชน ไม่เพียงแค่การมาลงคะแนนเลือกตั้งให้ แต่ในฐานะประชาชนที่เข้าร่วมหารือในการระบุว่า อะไรคือผลประโยชน์ของสาธารณะส่วนใหญ่
ขณะที่ประชาชนหมดหวังที่จะโน้มน้าวเจ้าหน้าที่รัฐ จากประจักษ์พยานที่เห็นผลในระยะยาว กลับพบว่าการตัดสินของสาธารณะได้ทำหน้าที่ตรงนี้ ความจริงทำถึงกับการก่อร่างนโยบายหลักๆ ของรัฐบาลเลยทีเดียว. มีคนถามว่า การใช้วิจารณญาณสาธารณะมีอิทธิพลต่อการที่นักการเมืองและรัฐบาล จะรับเอาประเด็นเหล่านั้นหรือไม่ เพราะพวกนักการเมืองล้วนต้องการคำตอบที่ไม่มีคุณภาพว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" เท่านั้น คำตอบทำนองนี้ ทำให้เกิดการหลงทางที่ว่าการใช้วิจารณญาณมีอิทธิพลต่อนโยบาย แต่จะต้องค่อยเป็นค่อยไป และใช้เวลาสะสมมาพอสมควร
ความจริง คือ แม้ว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะจะสามารถมีผลต่อการกำหนดนโยบาย แต่จะไม่สามารถทำได้ชั่วข้ามคืน และด้วยเหตุผลที่ดี. ประเด็นทางการเมืองส่วนใหญ่ แม้เป็นเพียงปัญหาของ 1 หมู่บ้าน ต้องการเวลาในการทำความเข้าใจ ในการวางแผน และลงมือปฏิบัติ ส่วนในประเด็นใหญ่ๆ อาจใช้เวลาเป็น 10 ปีหรือมากกว่า ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ บทบาทการใช้วิจารณญาณสาธารณะ คือ รักษาการเดินทางที่ยาวนานนั้นไว้ โดยไม่มีการตำหนิที่ไม่สร้างสรรค์
ในที่สุด การใช้วิจารณญาณสาธารณะมีผลต่อการกำหนดนโยบายอย่างเป็นทางการหรือไม่ มีประจักษ์พยานว่ามันได้เกิดขึ้นจริง การศึกษาของ Page และ Shapiro พบว่ามีหลายประเด็นที่ ความคิดเห็นสาธารณะสามารถกำหนดนโยบายรัฐบาลอย่างเป็นอิสระ และกรุยทางให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนโยบายนั้น
6.4 เปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐมักจะมีความคับข้องใจเรื่องความสัมพันธ์กับประชาชน เช่นเดียวกันกับประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ พวกเขาอาจต้องการทำงานกับประชาชนจริงๆ แต่มักประสบกับอุปสรรคที่รุนแรงที่คนอื่นๆ ควรจะเข้าใจ เจ้าหน้าที่ที่ฟังการพูดคุยในเวทีหารือของประชาชน อาจถูกต่อว่าจากการที่ไม่ทำงานในหน้าที่ให้ดีพอ พวกเขาอาจมีปัญหาในการทำงานกับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ที่เห็นว่า พวกเขานั้นเปิดเผยกับสาธารณะมากเกินไป หรือกลุ่มผลประโยชน์อาจโจมตีเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมหารือกับประชาชน แทนที่จะไปต่อรองกับประชาชน กลุ่มต่อต้านเหล่านี้บางครั้งต่อต้านการวางกรอบประเด็นปัญหาให้เป็นไปตามที่พวกเขาต้องการ กลุ่มเหล่านี้อาจวิจารณ์เจ้าหน้าที่ที่เห็นด้วยกับกรอบประเด็นปัญหาที่กว้างขวาง (เพราะรวมเอาทางเลือกต่างๆ ไว้อย่างหลากหลาย)
ประชาชนมักไม่ค่อยรู้ถึงปัญหาเหล่านี้ จึงไม่ได้ทำอะไรเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ชอบวิธีการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์แบบดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนนี้ กำลังจะเปลี่ยนแปลง เพราะประชาชนมีเครื่องมือที่มีพลังในเวทีพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณ
ข้อมูลที่ได้จากเวทีพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนี้ ไม่เพียงเป็นประโยชน์ เวทีการพูดคุยเองก็ได้สร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนข้อมูล แทนการ "ฟัง" ตามปกติ แน่นอนว่าประชาชนจะให้เจ้าหน้าที่เข้าร่วม ซึ่งหมายความว่าไม่ได้เข้ามาเพื่อปาฐกถา หรือมาโดยตำแหน่ง เขาต้องมาเพื่อค้นคว้า และทดสอบความคิดของเขาเช่นเดียวกันกับคนอื่นๆ
ลองจินตนาการดูว่ามีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเข้าร่วมเวที เพื่อดูการหาทางเลือกของประชาชนในเรื่องยากๆ ก่อนที่จะอธิบายว่าเวทีของสภานิติบัญญัติ หรือสภาเมืองจัดการกับทางเลือกในประเด็นปัญหาเดียวกันอย่างไร. ลองคิดถึงการที่ประชาชนไม่ได้ถามเจ้าหน้าที่ด้วยคำถามปกติ "คุณกำลังจะทำอะไรให้พวกเรา?" แต่กลับดึงเจ้าหน้าที่ให้เข้าร่วมกับการใช้วิจารณญาณของพวกเขา ด้วยการพูดว่า "นี่คือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ของเรา นี่คือสิ่งที่เราเห็นว่าอาจเป็นความขัดแย้งได้ และนี่เป็นสิ่งที่เราพยายามแก้ความขัดแย้งเหล่านั้น (โดยตระหนักถึงข้อเสียของแนวทางการแก้ปัญหาที่เราชอบที่สุด) ตอนนี้ช่วยบอกเราว่าประสบการณ์ของคุณคืออะไร คุณเห็นอะไรบ้างที่เป็นข้อขัดแย้ง และคุณจะแก้ไขมันอย่างไร?" การหารือทำนองนี้ แน่นอนว่าต้องเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ
6.5 ความรับผิดชอบที่ไม่ต้องมอบหมาย
ในที่สุดควรกล่าวว่า การใช้วิจารณญาณและผลผลิตที่ได้จากมันเป็นสิ่งที่สำคัญมากและขาดไม่ได้ ในการช่วยให้ประชาชนพบกับข้อบังคับของตัวเองในระบอบประชาธิปไตย ความรับผิดชอบเหล่านี้ไม่สามารถมอบหมายให้กับรัฐบาล แต่เป็นสิ่งที่ประชากรของระบอบประชาธิปไตยจะต้องกระทำเอง เพื่อให้รัฐบาลที่เป็นตัวแทนทำงานต่อไป แม้แต่รัฐบาลที่ดีที่สุดก็ไม่สามารถสร้างความชอบธรรมได้ด้วยตนเอง รัฐบาลไม่สามารถระบุเป้าประสงค์ของตนเองหรือสร้างมาตรฐาน หรือทิศทางให้กับสิ่งที่ตนเองจะต้องทำ แม้เรามักจะคาดหวังให้รัฐบาลทำก็ตาม รัฐบาลไม่สามารถสร้าง และรักษาไว้ซึ่งการตัดสินใจเรื่องยากๆ ที่ประชาชนไม่เต็มใจสนับสนุน มีแต่สาธารณะเท่านั้นที่จะทำสิ่งเหล่านี้ได้
มากไปกว่านั้น รัฐบาลประชาธิปไตยหากต้องการอยู่ในตำแหน่งในระยะยาวอย่างมั่นคง จำเป็นต้องการการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง รากฐานของรัฐบาลอยู่ที่พื้นฐานร่วมสำหรับกระทำการร่วมกัน ซึ่งมีแต่ประชาชนเท่านั้นที่ทำได้ รัฐบาลสามารถสร้างทางด่วนให้เราได้ แต่ไม่ใช่สร้างพื้นฐานร่วมสำหรับกระทำการร่วมกันให้เราได้ แม้ว่ารัฐบาลคณะที่มีอำนาจที่สุด ก็ไม่สามารถสร้างความต้องการของสาธารณะ สำหรับการกระทำทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลสามารถสั่งให้มีการให้เกิดการเชื่อฟังได้ แต่ไม่สามารถสร้างความมุ่งมั่นได้
สุดท้าย ขึ้นกับพวกเราในฐานะสมาชิกที่จะเปลี่ยนผ่านจากความเป็นปัจเจกไปสู่ความเป็นพลเมือง พลเมืองสามารถสร้างรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่สามารถสร้างพลเมืองได้ เพราะปัจเจกจะเปลี่ยนมาเป็นพลเมืองได้นั้น ด้วยการเข้าร่วมงานกับสาธารณะเท่านั้น
7. การใช้วิจารณญาณจะเปลี่ยนความคิดเห็นของเราที่มีต่อความคิดเห็นของคนอื่น
การเอาคนจาก 2 ขั้วของเรื่องการทำแท้งมาพูดคุยกันในเวทีสาธารณะ ผลคือ คนที่ปกติพูดกันด้วความโกรธ ได้ฟังกันมากขึ้น
Jule Zimet ผู้มีประสบการณ์การจัดเวทีพูดคุยมานาน กล่าวว่าเวทีพูดคุยคือตัวอย่างที่ดีในการแสดงว่า การใช้วิจารณญาณสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นสาธารณะซึ่งมักจะแคบและตื้น มาเป็นการตัดสินใจของสาธารณะซึ่งรวมเอาเหตุผลสำคัญๆ ที่คนอื่นมี ในมุมมองที่ต่างออกไป สาเหตุที่การพูดคุยมีความยากลำบาก ก็เพราะด้วยวิธีการที่เราถูกอบรมมา วัฒนธรรมของเราฝึกเรามาให้โต้เถียงกับผู้อื่น ดังนั้น เราจึงมักได้ยินแต่ประเด็นที่เห็นต่างกัน
Zimet กล่าวว่าเธอประหลาดใจที่พบว่า เวทีที่ใช้วิจารณญาณช่วยให้คนเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยกัน แต่เธอประหลาดใจมากกว่ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเธอเอง "เท่าที่จำได้ ฉันอยู่ข้างหนึ่งของประเด็นนี้มานาน" ระหว่างการทำงานกับเวทีพูดคุยแบบนี้ เธอเคยคิดว่า ถ้าเธอยอมให้กับเรื่องนี้ 1 นิ้ว อีกด้านหนึ่งก็จะรุกเข้ามา 1 ไมล์ แต่จากประสบการณ์ เธอพบว่า "ฉันได้รับการยอมรับนับถือมากจากอีกฝ่ายหนึ่ง" แม้ว่าเธอจะไม่เปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มุมมองของเธอเปลี่ยนไปจากที่มองแบบขาว-ดำ มาเป็นการมองที่มีความละเอียดอ่อนขึ้น
เธอเห็นการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกันในคนที่เข้าร่วมเวทีที่ใช้วิจารณญาณ เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งที่ช่วยในการวางแผนการจัดเวทีพูดคุยซึ่งเข้าร่วมในเวทีพูดคุยต่อมา ในเรื่อง "เสรีภาพในการพูด" เมื่อ Zimet ถามเธอถึงความคิดเห็นที่จะเชิญคนๆ หนึ่งมานำเสนอความเห็นที่เป็นด้านตรงข้ามในเวทีพูดคุยนี้ หญิงคนนั้นเห็นด้วยกับความเห็นของ Zimet แต่เธอกล่าวว่าเธอไม่จำเป็นต้องนั่งติดกับเขา แต่หลังจากจบเวทีพูดคุย Zimet พบว่าทั้งสองนั่งอยู่ด้วยกัน และกำลังพูดคุยกันถึงเรื่องแนวโน้มในสังคมที่กวนใจเขาทั้งสอง
เราเรียนรู้ที่จะฟังได้อย่างแตกต่างจากเดิม ทำให้เราเกิดความไว้วางใจกันในระดับที่แตกต่างกัน นั่นคือพื้นฐานของการสร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นในชุมชน
8. กรณีที่จะใช้วิจารณญาณสาธารณะ
การใช้วิจารณญาณสาธารณะนั้น กล่าวง่ายๆ คือ เพื่อให้การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยได้ทำงานอย่างที่มันควรทำ นั่นคือ สาธารณะจะต้องเข้ามาร่วมกระทำการ เพราะการลงคะแนนเลือกตั้งอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ไม่เพียงพอทั้งการสนับสนุนนักการเมืองที่เราเลือกเข้ามา อีกทั้งยังไม่เพียงพอที่จะมีเพียงความคิดเห็น หรือติดตามสถานการณ์ปัจจุบันเท่านั้น แต่ก่อนที่เราจะสามารถกระทำการในฐานะสาธารณะได้ เราจะต้องตัดสินใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร ก่อน
การใช้วิจารณญาณสาธารณะ เป็นชื่อหนึ่งของวิธีการที่เราจะตัดสินใจว่า เราจะกระทำการเรื่องหนึ่งๆ อย่างไร ในการเลือกทางเลือกหนึ่งๆ นั้น เราต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนที่ต้องจ่าย และผลที่ตามมาของทางเลือกนั้นๆ เมื่อผู้คนเริ่มรับรู้ถึงความแตกต่างของทางเลือก ผ่านประเด็นต้นทุนที่ต้องจ่าย และผลที่จะตามมา จะช่วยทำให้พวกเขาให้หาทางเลือกหรือชุดของการกระทำ ที่เข้ากันกับสิ่งที่เป็นคุณค่าของชุมชนทั้งหมด และด้วยวิธีการนี้ สาธารณะจึงสามารถระบุผลประโยชน์ของสาธารณะได้อย่างเป็นเรื่องๆ ไป
การใช้วิจารณญาณสาธารณะ ไม่ใช่กระบวนการรักษาสำหรับทุกสิ่งที่ทำให้การเมืองบิดเบี้ยว และไม่ใช่ยาแก้สำหรับทุกโรค แต่มันเป็นส่วนสำคัญของการเมืองแบบประชาธิปไตย
9. การใช้วิจารณญาณเพิ่มความสามารถของชุมชนในการกระทำการร่วมกัน
ยุงเป็นปัญหาใหญ่ที่ Twin Lakes รัฐ Ohio เมื่อ "สมาคมเพื่อนบ้าน" ตัดสินใจที่จะหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ Bob Walker ประธานของสมาคมฯ ต้องการทำให้การหารือเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพราะเรื่องนี้เป็นประเด็นที่อ่อนไหวมาก เนื่องจาก Walker มีประสบการณ์อย่างเข้มข้นในการเป็นวิทยากรกระบวนการสำหรับเวทีพูดคุยระดับชาติมาก่อน เขาเลือกใช้วิธีใช้วิจารณญาณในการหารือเรื่องนี้ จากประสบการณ์นี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่าวิธีการใช้วิจารณญาณสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ชุมชนกล่าวถึงปัญหานี้ได้
เขารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมยุงจากทั่วประเทศ มาทำเป็นหนังสือ 4 หน้า แสดงถึงแนวทาง 3 ประการที่พบบ่อยในการแก้ปัญหานี้ เขาเช่าห้องประชุมในท้องถิ่นพร้อมเครื่องเสียง แล้วส่งจดหมายเชิญคนในชุมชนให้มาร่วมพิจารณาแนวทางทั้ง 3. มีคนเข้าร่วมประมาณ 50 คน ผลการใช้วิจารณญาณพิจารณาปัญหา ทำให้เกิดการก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อการกำจัดแมลงที่มีการทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดขึ้น
ที่ Wayne รัฐ Nebraska ได้มีเวทีหารือในสถานการณ์ที่ต่างกัน คือ มีโบสถ์ Lutheran อยู่ 2 แห่งในชุมชน ที่แยกกันเพราะเรื่องภาษา (โบสถ์หนึ่งใช้ภาษาเยอรมัน อีกแห่งใช้ภาษาอังกฤษ) โบสถ์ทั้ง 2 แห่งมีปัญหาเหมือนกันคือ มีคนเข้าโบสถ์น้อยลง องค์กรในชุมชนจึงเสนอให้รวมโบสถ์ทั้งสองเข้าด้วยกัน แต่ด้วยประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 โบสถ์นี้ ทำให้มีโอกาสน้อยมากที่โบสถ์ทั้ง 2 จะรวมกันได้ ปัญหานี้ถูกทิ้งไว้ระยะหนึ่ง ชาวบ้านต่างหลีกเลี่ยงที่จะการกล่าวถึงปัญหานี้ แต่คนบางคนที่เคยไปร่วมเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติมาก่อน ได้เสนอให้ตั้งเวทีพูดคุยร่วมขึ้นมา โดยยึดเอามุมมองทางวัฒนธรรม และการอยู่รอดของโบสถ์เป็นหลัก โดยให้คนที่เคยได้รับการอบรมจากเวทีประเด็นสาธารณะระดับชาติ ได้วางกรอบเรื่องการรวมกันของโบสถ์ แล้วจัดการประชุมขึ้น
Ropes-Gale สมาชิกในชุมชนคนหนึ่งกล่าวว่า "ฉันเคยอาศัยอยู่ตั้งแต่ชายแดนหนึ่งจนถึงอีกชายแดนหนึ่ง ฉันเป็นภรรยาของทหารมา 10 ปี ฉันได้ทำทุกอย่างมาแล้ว จนมาทำงานกับสภามนุษยธรรม และฉันไม่เคยเห็นกลุ่มคนใดเลยที่ไม่ได้ประโยชน์จากวิธีการใช้วิจารณญาณนี้"
10. การเป็น ผู้ดำเนินการประชุม สำหรับการใช้วิจารณญาณ
ต่อไปนี้ คือ แนวทางพื้นฐานสำหรับผู้ที่สนใจที่จะเป็น ผู้ดำเนินการประชุม ของการใช้วิจารณญาณ
10.1 การวางข้อตกลงร่วมในการพูดคุย
การใช้วิจารณญาณจะได้ผลดีเมื่อมีการพูดบนข้อตกลงร่วมกันบางอย่างตั้งแต่เริ่มต้น ข้อตกลงเหล่านี้จะช่วยป้องกันความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นระหว่างการพูดคุย
- ข้อตกลงพื้นฐานที่สุด คือเรื่องจุดประสงค์ของเวทีพูดคุย ที่จะนำไปสู่ การตัดสินใจเพื่อเลือกทางเลือก ผู้ดำเนินการประชุม ควรให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันออกข้อตกลงพื้นฐานในการพูดคุย มากกว่าที่จะประกาศข้อตกลงเหล่านั้นออกไปเอง
- กระตุ้นให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ไม่ให้มีคนใดคนหนึ่งเด่นหรือโน้มน้าวกลุ่ม (โดยให้เป็นข้อตกลงร่วมก่อนเริ่มการหารือ ซึ่งพบว่าเป็นเรื่องง่ายกว่าการที่จะหยุดคนที่พยายามจะนำเวที ในภายหลัง)
- การฟัง มีความสำคัญพอๆ กับการพูด
- ผู้เข้าร่วมควรจะพูดกับผู้เข้าร่วมอื่นๆ ไม่ใช่เพียงกับ ผู้ดำเนินการประชุม
- ผู้ดำเนินการประชุม หรือคนอื่นๆ ในกลุ่มอาจเข้าร่วมพูดคุยได้เป็นครั้งคราว เพื่อทำให้การหารือยังอยู่ในประเด็น
- ผู้เข้าร่วมต้องมีความเป็นธรรมในการพิจารณาทางเลือกทุกๆ ทางเลือก และตรวจสอบถึงสิ่งที่ต้องเสีย หรือแลกเปลี่ยนในแต่ละทางเลือก ความคิดเห็นที่หลากหลายนี้เป็นสิ่งสำคัญ และหากมีทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งที่ไม่มีใครในกลุ่มเลือกเลย ผู้ดำเนินการประชุม อาจตั้งคำถามว่า "ลองคิดดูว่า คนที่ชอบทางเลือกนี้ จะพูดว่าอะไรได้บ้าง"
10.2 คำถาม 4 ข้อ เพื่อกระตุ้นการใช้วิจารณญาณ
1. สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเรา คือ อะไร?
2. ค่าใช้จ่ายหรือผลที่จะตามมาจากทางเลือกต่างๆ เหล่านี้ คือ อะไร?
3. อะไรคือความขัดแย้งของประเด็นนี้ อะไร คือ สิ่งที่เราต้องจัดการ
4. เราสามารถตรวจจับความรู้สึกร่วมของทิศทาง หรือพื้นฐานร่วมสำหรับกระทำการณ์ร่วมกันได้หรือไม่
(1) สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับเรา คือ อะไร?
การต้องเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งสำหรับสาธารณะเป็นสิ่งที่ยาก เพราะทุกทางเลือกมีรากฐานมาจากสิ่งที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้ความสนใจอย่างลึกซึ้ง เราอาจตั้งคำถามได้หลายๆ รูปแบบ เช่น
- เรื่องนี้มีผลกระทบต่อคุณเป็นการส่วนตัวอย่างไรบ้าง (ปกติใช้คำถามนี้ตอนเริ่มต้นของการพูดคุย)
- ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับทางเลือกนี้ คือ อะไรบ้าง?
- อะไรทำให้ทางเลือกนี้ เป็นทางเลือกที่ดี หรือทางเลือกที่ไม่ดี
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเวทีแต่ละคน ได้เปิดเผยทุกๆ ความห่วงใยที่ลึกซึ้งของแต่ละคน ผู้เข้าร่วมหรือ ผู้ดำเนินการประชุม สามารถถามคนที่เข้าร่วมคนอื่นๆ ว่า ทำไม หรือ มีความเป็นมาอย่างไร เขาจึงมีความเห็นหรือคิดเช่นนั้น ให้เขาได้พูดเกี่ยวกับประสบการณ์ตรง ไม่เพียงการพูดถึงข้อเท็จจริง หรือการโต้แย้งโดยใช้เหตุผลเท่านั้น
(2) ต้นทุนที่ต้องจ่าย หรือผลที่จะตามมาจากทางเลือกต่างๆ เหล่านี้ คือ อะไร?
คำถามนี้ก็เช่นกัน สามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ ตราบเท่าที่เป็นการกระตุ้นให้คนที่เข้าร่วมเวทีพูดคุยได้คิด เกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดจากทางเลือกทั้งหลายเหล่านั้น ต่อสิ่งที่เป็นคุณค่าสำหรับพวกเขา เพราะการใช้วิจารณญาณ ต้องการการประเมินผลสิ่งที่สนับสนุน (ด้านบวก) และที่คัดง้าง (ด้านลบ) ของทางเลือกต่างๆ เหล่านั้น ทั้งนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมั่นใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายต่างเปิดเผยต่อกันและกัน และต้องมีคำถามที่ทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าทำให้เกิดความยุติธรรม และความสมดุลในการตรวจสอบความเป็นไปได้ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
- อะไรน่าจะเป็นผลที่ตามมาจากการกระทำตามที่คุณได้เสนอแนะมา
- อะไร คือ ข้อโต้แย้งต่อทางเลือกที่คุณชอบมากที่สุด หรือผลเสียจากทางเลือกนี้
- มีใครคิดอะไรที่สร้างสรรค์ ที่อาจได้มาจากทางเลือกที่กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักนี้
(3) อะไรคือความขัดแย้งของประเด็นที่กำลังหารือนี้ อะไรคือสิ่งที่เราต้องจัดการ
ขณะที่เวทีพูดคุยกำลังดำเนินไป ผู้เข้าร่วมหรือ ผู้ดำเนินการประชุม อาจตั้งคำถาม
- คุณเห็นอะไรที่เป็นความตึงเครียด หรือเป็นความขัดแย้งระหว่างทางเลือกเหล่านี้
- อะไรคือ "พื้นที่สีเทา" หรือ อะไรคือสิ่งที่ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจน
- ทำไมเรื่องนี้จึงตัดสินใจยากนัก
(4) เราสามารถตรวจจับความรู้สึกร่วมของทิศทาง หรือพื้นฐานร่วมสำหรับกระทำการณ์ร่วมกันได้หรือไม่
หลังจากแจ้งแก่ผู้เข้าร่วมเวทีการพูดคุยว่าวัตถุประสงค์ของของเวทีนี้คือ การทำงานเพื่อมุ่งไปสู่การตัดสินใจ ผู้ดำเนินการประชุมหรือคนอื่นๆ อาจแทรกแซงเป็นครั้งคราวด้วยคำถามที่ทำให้การใช้วิจารณญาณมุ่งไปสู่การสร้างทางเลือกต่างๆ และทำการหยุดการหารือเป็นระยะๆ เพื่อแสวงหาความเห็นร่วมกันหรือการโต้แย้งสำหรับทางออกที่เฉพาะเจาะจงทางใดทางหนึ่ง หลังจากนั้น เมื่อพบว่า ความตึงเครียดเริ่มชัดเจนขึ้น คนเริ่มเห็นว่าพวกเขาถูกดึงไปในทิศทางที่ต่างกัน โดยถือหลักของสิ่งที่พวกเขาเห็นเป็นคุณค่า ผู้ดำเนินการประชุม อาจใช้คำถามต่อไปนี้ เพื่อดูว่ากลุ่มกำลังไปทางไหน
- ทิศทางไหนที่ดูเหมือนจะดีที่สุด หรือที่เราต้องการไปทางใดสำหรับนโยบายนี้
- สิ่งที่ต้องแลกหากเราเลือกทางเลือกนี้ ทั้งที่เรายอมรับได้ และที่ยอมไม่ได้คืออะไร
- อะไรคือสิ่งที่เราเต็มใจ / ไม่เต็มใจจะทำทั้งในฐานะปัจเจก และฐานะชุมชน เพื่อแก้ปัญหานี้
หัวใจของการใช้วิจารณญาณ คือ คำถามที่ว่า เราเต็มใจที่จะยอมรับผลที่จะเกิดตามมาจากทางเลือกของเรา ซึ่งอาจนำไปสู่การอภิปรายสำหรับคำถามต่อไปนี้
- หากทางเลือกที่เราชอบมีผลกระทบต่อผู้อื่น เราจะยังคงชอบนโยบายหรือทางเลือกนี้อยู่หรือไม่
10.3 การจบเวทีพูดคุย
ก่อนที่จะจบการพูดคุย เป็นการดีที่จะสะท้อนให้เห็นทั้งในระดับปัจเจก และในฐานะกลุ่ม ถึงสิ่งที่ได้ทำสำเร็จจากเวทีนี้ คำถามต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์
- คุณคิดว่าประเด็นที่เรานำมาหารือกันนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
- คุณเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อความคิดเห็นของคนอื่นอย่างไรบ้าง
- ทำไมเราถึงผ่านมันไปไม่ได้ (หากมีประเด็นที่ยังค้างคา)
- เรายังต้องหารือเรื่องอะไรต่อไปอีก
- เราสามารถใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเวทีนี้อย่างไรบ้าง
คำถามข้างต้นนี้ ไม่ได้หมายความว่าให้ผู้ดำเนินการประชุม เข้าแทรกแซงอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ดำเนินการประชุมที่ดี ต้องกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมผูกพันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเกิดเมื่อผู้ดำเนินการประชุมให้ผู้เข้าร่วมได้พูดคุยกันโดยตรง และไม่เข้าแทรกแซงกับทุกๆ ข้อคิดเห็น หรืออาจทำได้โดยคำถามพื้นๆ ที่จะเชื่อมคนเข้าด้วยกัน เช่น "มีใครมีความเห็นกับสิ่งที่คุณซาร่าเสนอหรือไม่" ผู้ดำเนินการประชุมควรชี้ให้เห็นตั้งแต่ตอนเริ่มต้นเวที ว่า ความรับผิดชอบในการใช้วิจารณญาณ คือ ความรับผิดชอบของกลุ่ม นอกจากนี้ ผู้ดำเนินการประชุมต้องทำตัวให้เป็นกลาง เพื่อให้กลุ่มสามารถพิจารณาทางเลือกต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรม
11. การจัดเวทีพูดคุย
เวทีการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนี้ เป็นโอกาสให้สาธารณะได้ทำงาน และคุณอาจต้องการให้เกิดขึ้นบ้างในชุมชนของคุณ แม้ว่าการใช้วิจารณญาณสาธารณะจะเกิดขึ้นมาเองได้โดยไม่เป็นทางการ แต่จะเกิดประโยชน์กับชุมชนมากกว่าถ้ามีการจัดการให้เกิดการตอบสนอง หรือการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ในประเด็นที่หารือ. เวทีการพูดคุยนี้ อาจถูกจัดโดยห้องสมุดสาธารณะ, ศูนย์กลางชุมชน, หรือองค์กรทางศาสนา. บางคนอาจจัดเวทีการพูดคุยนี้ในห้องนั่งเล่นที่บ้านก็ได้. บางกรณี เวทีการพูดคุยนี้ถูกรวมเข้าไว้ในหลักสูตรการเรียนของโรงเรียนและวิทยาลัย เพื่อสอนทักษะในการตัดสินใจร่วมกัน รวมทั้งโครงการการเป็นผู้นำต่างๆ มักมีเวทีการพูดคุยแบบนี้ เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันนี้
บางกลุ่มอาจจัดให้มีเวทีการพูดคุย เป็นจำนวนที่แน่นอนในแต่ละปี บางกลุ่มอาจจัดให้มีเพียงครั้งเดียว เพื่อตอบสนองต่อปัญหาเฉพาะเจาะจงในท้องถิ่น เช่น พันธมิตรของตำรวจและองค์กรประชาสังคม ได้ร่วมกันจัดเวทีพูดคุยเรื่อง "ความรุนแรงในวัยเด็ก" ส่วนขนาดของกลุ่มนั้น อาจตั้งแต่ 7 คน ประชุมกันที่ชั้นใต้ดินของโบสถ์ ถึง 300 คน ประชุมกันที่ห้องประชุมของมหาวิทยาลัย
แม้ว่าการใช้วิจารณญาณจะมีประสิทธิผลในการแก้ปัญหาระยะสั้นสำหรับบางปัญหาได้ แต่ผลประโยชน์ที่สำคัญเกิดเมื่อผู้คนมีพันธะสัญญาระยะยาว ที่จะจัดให้มีเวทีการพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ การได้มีเวทีการใช้วิจารณญาณอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลง "พฤติกรรมต่อสาธารณะ" (civic habits) ดังนั้น เมื่อเกิดเรื่องหนักๆ ขึ้นในชุมชนหรือสังคม ผู้คนจะเคยชินกับการตัดสินใจร่วมกัน
11.1 การใช้หนังสือประเด็น (issue books) (1)
เวทีการพูดคุยจะประสบความสำเร็จ ถ้าคนที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ได้อ่านประเด็นต่างๆ ในหนังสือมาก่อนเข้าร่วมพูดคุย
11.2 เวลาที่ใช้สำหรับเวทีพูดคุย
คนส่วนใหญ่กำหนดเวลาไว้ที่ 2 ชั่วโมง แต่ไม่มีกำหนดเวลาตายตัว บางคนอาจชอบ 3 ชั่วโมง เพราะทำให้คนเข้าร่วมได้มีเวลาแสดงความคิดเห็นได้อย่างถี่ถ้วน และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมเวทีพูดคุยครั้งละ 2 ชั่วโมง เป็นจำนวน 3 - 4 ครั้ง เพื่อหารือในประเด็นปัญหาอย่างลึกซึ้ง
11.3 อย่าทำตามลำพัง
เพื่อให้ การใช้วิจารณญาณได้หยั่งรากและเติบโตต่อไป ต้องมีคนมากกว่า 1 คนมีพันธะสัญญาร่วมกัน เวทีที่ประสบความสำเร็จมักมี "คณะทำงาน" ในการวางแผนและจัดการเวทีพูดคุย ขนาดและโครงสร้างของคณะทำงานขึ้นกับสถานการณ์. สำหรับกฎทั่วๆ ไป ยิ่งเวทีพูดคุยมีขนาดใหญ่ หรือมีการจัดเวทีมากครั้ง ยิ่งต้องการคณะทำงานมาทำงานมากขึ้น
ในบางชุมชน พันธมิตรขององค์กรต่างๆ มาร่วมกันจัดเวทีพูดคุยขนาดใหญ่ หรือการพูดคุยหลายๆ ครั้งในประเด็นเดียวกัน โดยการลงขันร่วมกัน ทำให้มีคนมากขึ้นในการช่วยจัดงาน
11.4 การอบรม ผู้ดำเนินการประชุม
การใช้วิจารณญาณจะมีประสิทธิภาพเมื่อมีผู้ดำเนินการประชุมที่เข้าใจกระบวนการการใช้วิจารณญาณ และมีความคุ้นเคยกับประเด็นที่จะหารือกัน
คนที่เคยเป็นผู้ดำเนินการประชุม ในการพูดคุยแบบอื่นๆ แต่ไม่ชัดเจนว่าการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณนั้นแตกต่างจากการพูดคุยทั่วไปอย่างไร อาจใช้เทคนิคนำการพูดคุยที่ขัดขวางการพูดคุยแบบใช้วิจารณญาณ เช่น วิธีการที่เหมือนการสอนเกี่ยวกับประเด็นที่จะหารือ แล้วตอบคำถามของผู้เข้าร่วม หรือมี "ผู้เชี่ยวชาญ" วางกรอบของประเด็นที่หารือ หรือทำให้เวทีหลงทางไปจากการที่ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
11.5 ค่าใช้จ่าย
เวทีพูดคุยที่ประสบความสำเร็จหลายๆ แห่งเกือบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น คนทำงานส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร บางที่อาจมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ดำเนินการประชุม. ค่าใช้จ่ายที่สำคัญ คือ การซื้อหนังสือประเด็นและม้วนวีดีโอ การลงประกาศเชิญคนเข้าร่วมเวที และการแถลงข่าวผลของการพูดคุย รวมทั้งค่าอาหารว่าง แต่หลายๆ องค์กรจัดการกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ โดย
- ขอให้ห้องสมุดซื้อหนังสือประเด็นและม้วนวีดีโอ เพื่อให้คนได้ยืมมาใช้
- คิดค่าใช้จ่ายจากผู้เข้าร่วมพอเป็นพิธี สำหรับเป็นค่าหนังสือ หรือจัดการให้ร้านหนังสือในท้องถิ่นจัดหาหนังสือนั้นไว้
- ขอการสนับสนุนจากนักธุรกิจในท้องถิ่นให้ออกค่าใช้จ่ายให้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการประกาศชื่อให้ในเวทีสาธารณะ
- กระตุ้นให้นายจ้างของคณะทำงานออกค่าใช้จ่ายบางอย่างให้ เช่น ค่าถ่ายเอกสาร หรือการส่งจดหมายเชิญ
11.6 เชิญคนมาเข้าร่วม: ไปในที่ที่มีคนอย
โดยปกติแล้ว จำนวนผู้เข้าร่วมจะเปลี่ยนแปลงไปขึ้นกับความเข้มข้นของการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ของคณะทำงาน โดยที่บางครั้ง แม้จะมีการเตรียมการที่ดีที่สุด แต่คนเข้าร่วมก็อาจยังน้อยอยู่ ซึ่งขอยืนยันว่าเราต้องไม่ยอมแพ้ คนที่เข้าร่วมเพียงจำนวนไม่มากในเวทีหนึ่งๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้โครงการทั้งหมดของการใช้วิจารณญาณของชุมชนต้องล้มเลิก
ทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าร่วม คือ การไปจัดเวทีในที่ที่มีคนอยู่ ซึ่งพบว่า เวทีพูดคุยหลายๆ เวที ที่ต้องมีการพูดคุยหลายๆ ครั้ง ได้จัดโดยเชื่อมเข้ากับกิจกรรมของโบสถ์และห้องสมุด
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สำหรับผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
http://www.nifi.org/
http://www.theharwoodinstitute.org/
http://www.kettering.org/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
(1) ดูตัวอย่างหนังสือประเด็นที่ใช้ประกอบในเวทีการประชุม ใน http://www.nifi.org/discussion_guides/index.aspx
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)